2024 ปีอาถรรพ์ คนดัง แห่เลิกทำช่อง YouTube

อาชีพในฝันของใครหลายคนคือการเป็น “YouTuber” เพราะเห็นว่า “รายได้ดี” “เป็นงานอิสระ” วิธีหาเงินจาก YouTube มีอยู่ 6 วิธี ได้แก่ รายได้จากโฆษณา, การเป็นสมาชิกของช่อง, Super Chat และ Super Stickers, Super Thanks, รายได้จาก YouTube Premium และ Shopping

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น รายได้จากโฆษณาจะเป็นวิธีการหาเงินที่สะดวกที่สุดบน YouTube โฆษณาพวกนี้จะมาในรูปแบบวิดีโอที่ขึ้นมาในช่วงก่อนวิดีโอ กลางวิดีโอ หรือหลังวิดีโอ รวมไปถึงโฆษณาที่ขึ้นใน Shorts ด้วย รายได้ในการแสดงผลโฆษณาในหน้าวิดีโอปกติจะถูกแบ่งให้เรา 55% ที่เหลือ 45% จะเป็นของ YouTube ส่วนรายได้โฆษณาในหน้าวิดีโอ Shorts จะถูกแบ่งให้เรา 45% ที่เหลือ 55% จะเป็นของ YouTube เป็นต้น

YouTube

ภาพจาก https://elements.envato.com/

แต่การสร้างรายได้เหล่านี้ก็มีเงื่อนไขเช่นกัน เช่น รายได้จากโฆษณา / รายได้จาก YouTube Premium ต้องมีผู้ติดตามอย่างน้อย 1,000 คน และต้องบรรลุเป้าหมายอีกหนึ่งอย่าง ระหว่าง

  1. มียอดชมวิดีโอสูงถึง 4,000 ชั่วโมง ใน 365 วัน
  2. ยอดดู Shorts 10 ล้านครั้ง ในช่วง 90 วัน เป็นต้น

เหตุผลที่คนอยากเป็น YouTuber สำคัญสุดก็คือ “รายได้” ซึ่งหากวิเคราะห์ลึกลงไปจะพบว่า

  • YouTuber ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คนสามารถสร้างรายได้ระหว่าง 600-1,000 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ โดยมีรายได้ระหว่าง 2,400-4,000 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 85,000 – 142,000 บาท)
  • YouTuber ที่มีผู้ติดตาม 1 ล้านคน สามารถสร้างรายได้ระหว่าง 14,600-54,600 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือราว 518,000 – 1.9 ล้านบาท

ซึ่งถ้าดูตัวเลขแบบเพียวๆ แค่นี้คือ “ว้าวมาก” แต่คนที่ประสบความสำเร็จในการเป็น YouTuber ก็จำเป็นต้องแลกด้วย

การใช้แรงกายและแรงใจมากเป็นพิเศษถึงกับมีกระแสแรงในช่วงนี้ที่มี YouTuber หลายคนประกาศ “เลิกทำช่อง” มีใครบ้างลองไปดู

YouTube

ภาพจาก YT @TomScottGo/videos

  1. DSLR Video Shooter ยอดคนติดตาม 727,000 คน
  2. Tom Scott ยอดคนติดตาม 6,420,000
  3. Cinecom.net ยอดคนติดตาม 2,670,000
  4. The Game Theorists ยอดคนติดตาม 19,000,000
  5. Vanessa Lau ยอดคนติดตาม 710,000
  6. Matti Haapoja ยอดคนติดตาม 1,260,000
  7. MOJIKO ยอดติดตาม 3,410,000

YouTube

ภาพจาก YT @mojiko.official

อะไรคือเหตุผล? ที่ทำให้ YouTuber เหล่านี้ “ไม่อยากไปต่อ” ซึ่งก็มีการวิเคราะห์เหตุผลไว้หลายแง่มุมได้แก่

1.หมดไฟ (Burnout)

YouTube

ภาพจาก freepik.com

“รักมันในชั่วเวลาหนึ่งและเปลี่ยนผ่านไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง” คือคำอธิบายที่บอกว่า YouTuber ที่เลิกทำช่องเพราะรู้สึก“หมดไฟ” (Burnout) มันก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าในตอนแรกที่เข้ามาทำคือมาด้วยใจ พร้อมใส่ไอเดียเต็มที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุตัวเองที่มากขึ้น สภาพสังคม วิถีชีวิต และเทรนด์อะไรใหม่ๆ ที่เข้ามา ทำให้ YouTuber เหล่านี้รู้สึกว่าเหนื่อยแล้ว พอแล้ว ไม่อยากสู้ต่อแล้ว

2.สภาวะเศรษฐกิจ

ภาพจาก freepik.com

จากช่องเล็กๆที่เคยทำด้วยตัวคนเดียว ต่อมาเมื่อมันเริ่มใหญ่ ก็ต้องมีการขยายกิจการ รับงานเพิ่มขึ้น ต้องมีลูกน้อง มีทีมงาน จากที่เคยเป็นแค่ครีเอเตอร์ก็ต้องกลายมาเป็นผู้บริหาร นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายในทุกด้านที่ต้องมากขึ้น ถ้ายังไม่ชัดเจนลองดูเหตุผลของช่อง MOJIKO ที่ให้เหตุผลในการเลิกทำช่อง YouTube ว่า “ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้าบริษัท เราอยากให้ทีมงานได้พัฒนาศักยภาพ และมีรายได้มากขึ้น แต่เมื่อรายได้ของการเป็นอินฟลูฯ มันเท่าเดิมและลดลง ถ้าเรายังฝืนทำต่อ เราจะหาเงินที่ไหนมาขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน เรารักทีมมาก ไม่อยากให้ทีมนี้มาล้มเหลวเพราะเรา”

3.อยากมีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น

ภาพจาก freepik.com

ต้องยอมรับว่าการเป็นครีเอเตอร์ต้องคิดไอเดียในการนำเสนอให้ตอบสนองคนดูได้มากที่สุด และต้องรักษามาตรฐานให้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งมันเหนื่อยมาก บางคนทำช่องมาหลายสิบปี ทุกวันคือทำแต่งาน แม้หน้ากล้องจะดูสนุกสนานแต่เบื้องหลังกว่าจะมาเป็นคลิปลงช่องได้ต้องใช้พลังเยอะมาก จนถึงจุดหนึ่งคือไม่อยากไปต่อ อยากมีเวลาให้ตัวเอง ไม่อยากตื่นมาแล้วต้องคิดถึงแต่เรื่องงาน อยากใช้ชีวิตอิสระได้อย่างแท้จริง

มุมมองตรงนี้เราพูดถึงในส่วนของ YouTuber ที่ประสบความสำเร็จแล้ว “เลิกทำช่อง” ซึ่งก็มีอีกเยอะมากที่ตั้งใจเข้ามาเป็น YouTuber ได้ไม่นานก็ต้องเลิกราไปอาจจะด้วยอัลกอรึทึมที่ยากขึ้น การสร้างรายได้จึงไม่ง่าย บางคนก็ท้อแท้และเลิกไป

แต่ในอีกมุมหนึ่ง YouTube ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่า ในปี 2024 จำนวนผู้ใช้บน YouTube คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.5% เป็น 933.4 ล้านคน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีก 6.8% เป็น 996.4 ล้านคนในปี 2025 ในปี 2026 จำนวนผู้ใช้ YouTube จะแตะตัวเลข 1.05 พันล้านคน และการเติบโตจะดำเนินต่อไปในปี 2027-2028 โดยเพิ่มขึ้น 4.4% และ 3.5% เป็น 1.09 พันล้านคน และ 1.13 พันล้านคน ตามลำดับ

และแน่นอนว่า YouTuber ที่แท้จริงต้องทำใจยอมรับด้วยว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ช่องเติบโต เราอาจต้องสูญเสียความเป็นตัวเองไปบ้าง เพื่อทำตามKeyword ของเหล่าสปอนเซอร์ที่จะเริ่มเข้ามา นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการบริหารคน บริหารทีมงาน ซึ่งถ้าหากยอมรับในสิ่งเหล่านี้ได้การเป็น YouTuber ก็พร้อมเดินหน้าต่อได้เช่นกัน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด