คนไทย หนี้ท่วม 90 % ต่อ GDP ขาดวินัย ใช้จ่ายเกินตัว เศรษฐกิจฟื้นช้า

ชีวิตหนี้! คือความจริงที่สุดในยุคนี้ คำนวณว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยเมื่อถึงสิ้นปี 2567 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 91.4% ต่อ GDP หรือราว 16.9 ล้านล้านบาท

ถ้ามองย้อนไป “สถานการณ์หนี้คนไทย” ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในภาวะทรงและทรุด

  • ปี 2564 มูลค่าหนี้โดยรวมประมาณ14.90 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อ GDP
  • ปี 2565 มูลค่าหนี้โดยรวมลดลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 86.8 ต่อ GDP
  • ปี 2566 มูลค่าหนี้โดยรวมอยู่ที่ประมาณ 16.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.9% ต่อ GDP

และดูเหมือนว่า “ตัวเลขหนี้” จะไม่หยุดแค่นี้ ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเกิน 80% ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และเกือบ 1 ใน 3 เป็นการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต หรือเรียกว่าเป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (NPL) ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียและจีนที่ 14% และ 13% ตามลำดับ

คนไทยสร้างหนี้

คนไทยมีรายได้แค่ไหน? ต้องใช้หนี้เท่าไหร่?

  • ในปี 2565 รายได้คนไทยเฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 248,677.2 บาท
  • ในปี 2566 รายได้คนไทยเฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 263,332.9 บาท
  • แต่ในปี 2565 พบว่า หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 501,711 บาท
  • และในปี 2566 หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 559,408.70 บาท

แยกเป็นหนี้ในระบบ 80.2% และหนี้นอกระบบ 19.8% โดยมีภาระการผ่อนชำระ 16,742 บาทต่อเดือน เป็นหนี้ในระบบ 12,012.70 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 80.2% หนี้นอกระบบ 4,715.50 บาทต่อเดือน หรือ 19.8%

** เป็นตัวเลขจากค่าเฉลี่ย ตัวเลขที่แท้จริงมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละครัวเรือน **

สาเหตุของการเป็นหนี้อาจมาจากหลายปัจจัยแต่ก็มีการวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะ 3 เหตุผลหลักๆได้แก่

1.สภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้า

เงินเฟ้อที่สูง ต้นทุนสินค้าก็สูงตาม ในขณะที่รายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง เท่ากับเป็นตัวเร่งให้คนไทยมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเยอะมาก แม้ภาพรวมในปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะพอฟื้นตัวได้บ้าง โดยเฉพาะภาคการส่งออก แต่กระเป็นการฟื้นตัวแบบกระจุกอยู่กับที่ มีตัวเลขระบุอีกว่ากว่า 71% คือแรงงานในประเทศ บางส่วนจำเป็นต้องกู้ยืมเพื่อหาเงินมาเสริมสภาพคล่องให้กับตัวเองและครอบครัว

2.ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น

เริ่มตั้งแต่ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น ก็ส่งให้คนที่กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือสินเชื่อเพื่อการลงทุนจำเป็นต้องรับภาระในการจ่ายหนี้ที่เพิ่มสูงมาก สวนทางกับรายได้ที่ไม่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่นทั้งในและนอกระบบเพื่อนำมาชำระหนี้ ไม่นับรวมเรื่องความสามารถในการจ่ายหนี้ ที่หลายคนต้องขอพักชำระหนี้ หรือผ่อนผันซึ่งยิ่งทำให้ตัวเลขหนี้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก

3.วินัยในการใช้จ่าย

คนไทยสร้างหนี้

คนไทยส่วนใหญ่ขาดวินัยในการใช้จ่าย ไม่มีการวางแผนด้านการเงินที่ดีพอ บางคนมีรายได้น้อยแต่ใช้จ่ายเกินตัว ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายตามกระแสวัตถุนิยมเช่นการซื้อบ้าน ซื้อรถ ซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น สังคมเป็นประเภท “วัตถุนิยม” อย่างชัดเจน ส่งผลให้ยอดหนี้ในบัตรเครดิตคนไทยพุ่งสูงมาก เงินเดือนที่ได้ก็ต้องนำมาหักจ่ายหนี้ วนเวียกันไปแบบนี้ไม่รู้จบ

คนไทยเป็นหนี้อะไรมากที่สุด?

หนี้ของคนไทยส่วนใหญ่เป็นเรื่องอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก บางส่วนก็เป็นหนี้ที่กู้ยืมมาเพื่อลงทุน แต่หากดูเชิงลึกพบว่าคนไทยเป็นหนี้ในการผ่อนรถ ผ่อนบ้าน และหนี้บัตรเครดิตมากที่สุด

ผ่อนรถ

ข้อมูลที่น่าตกใจระบุว่ากำลังมีรถที่จะเข้าสู่ตลาดประมูลมากถึง 200,000 คัน หรือถ้าดูจากสถิติของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ระบุว่าการยึดรถยนต์ ในปี 2566 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 25,000 – 30,000 คันต่อเดือน จากปี 2565 ที่อยู่ที่ประมาณ 20,000 คันต่อเดือน

ผ่อนบ้าน

ข้อมูลระบุว่า “สินเชื่อบ้าน” มีหนี้เสียถึง 1.8 แสนล้านบาท แปลว่า มีบ้านที่กำลังจะถูกยึดถึง 1.8 แสนหลัง ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า31% และในจำนวนนี้เป็น หนี้ 1.2 แสนล้านบาท ที่มาจากการซื้อบ้านที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท

บัตรเครดิต

ในปีที่ผ่านมาพบว่า คนไทยมีหนี้บัตรเครดิตสูงถึง 546,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้ถือบัตรเครดิต 23.8 ล้านใบ และคาดว่าในปี 2567 คนไทยที่เป็นหนี้จากบัตรเครดิตจะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย

หากเจาะลึกไปอีกจะพบว่า กลุ่มคนอายุ 26 – 40 ปีเป็นกลุ่มที่ผ่อนบ้านและมี “หนี้เสีย” ในกลุ่มนี้เยอะมาก ส่วนในกลุ่มอายุ 44 – 53 เป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียจากการผ่อนรถมากที่สุด
เรื่องของ “หนี้” ที่คนไทยเผชิญตอนนี้ไม่ได้มีผลกระทบแค่ตัวเอง แต่ยังกระเทือนไปถึงระดับประเทศ ยิ่งคนไทยเป็นหนี้มากก็จะยิ่งฉุดรั้งการพัฒนาประเทศมากขึ้นด้วยอันเนื่องจาก

  1. เมื่อจำนวนคนเป็นหนี้มีเยอะมากทำให้การลงทุนในด้านต่างๆ สะดุด เพราะลูกหนี้ต้องนำเงินไปชำระหนี้แทนที่จะนำไปซื้อบริการหรือลงทุน
  2. มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหนี้เสียเพราะปัจจุบันสัดส่วนหนี้เสียในธนาคารพาณิชย์มีสูงถึง 1.52 แสนล้านบาท
  3. การเป็นหนี้ทำให้คนมีความเครียดสะสมส่งผลลุกลามก่อปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้และปัญหาอาชญากรรม ที่มีผลกระทบโดยตรงในสังคม

ภาระหนี้ของคนไทยตอนนี้มันคือวาระแห่งชาติที่ต้องหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ลุกลามมากขึ้น ซึ่งตามหลักแล้วภาระหนี้ของแต่ละครัวเรือนรวมแล้วไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ ยกตัวอย่าง ถ้ามีเงินได้ต่อเดือน 20,000 บาท ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 6,600 บาท

แต่ในความเป็นจริงน้อยคนนักที่จะบริหารจัดการรายได้อย่างมีคุณภาพ ก็คงต้องมาดูกันต่อไปว่าสถานการณ์หนี้ของคนไทยจะไปสุดที่ตรงไหน และภาครัฐเองจะมีมาตรการอะไรมาสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่อง “หนี้” ได้บ้าง

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด