อวสาน! แฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ลงทุนสูง ถ้าไม่เปิดเอง ก็ไม่ได้ขายแฟรนไชส์

จับตา! แนวโน้มแฟรนไชส์ปี 67 “อาหาร-เครื่องดื่ม” ยังโตตามกระแส แฟรนไชส์มาแรงเป็น “ไอศกรีมและชา” คนไทยยังเห่อ! หลัง MIXUE จากจีนบุกตลาดในไทย แฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่โตตามฐานะการเงินแข็งแกร่ง

แต่ระวังแฟรนไชส์โมเดลใหญ่ ลงทุนหลัก 3 ล้าน 5 ล้าน 10 ล้าน ถ้าไม่เปิดเอง ก็ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ เพราะลงทุนสูง คนซื้อกลัวเป็นหนี้เยอะ ส่วนแฟรนไชส์ขนาดเล็กมีแนวโน้มขยายดาษดื่น เจ้าของแฟรนไชส์ไม่มีความรู้ พอธุรกิจโต ขายเยอะๆ ปัญหาจะตามมา

แฟรนไชส์ขนาดใหญ่

อ.สิทธิชัย ทรงอธิกมาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟรนไชส์และที่ปรึกษาทางธุรกิจองค์กรเอกชน เปิดเผยถึงสถานการณ์และแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2567 ยังเป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมลงทุนต่อเนื่องทุกปี

แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์ไอศกรีมและเครื่องดื่มชากำลังมาแรง หลังจาก MIXUE (มีเสวี่ย) เข้ามาเปิดตลาดในไทยตั้งแต่กลางปี 2565 จนสามารถขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 200 สาขา ถือเป็นแฟรนไชส์ขนาดกลาง ไม่ใหญ่มาก การลงทุนต่อสาขาไม่เล็กไม่ใหญ่มาก ขายสินค้าราคาไม่แพง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย ทั้งคนรากหญ้า นักเรียน นักศึกษา ซื้อกินได้

จุดแข็งของ MIXUE เป็นแฟรนไชส์ขายทั้งโปรดักส์และแบรนด์ในเวลาเดียวกัน บริษัทมีการสร้างโมเดลจนลงตัว ประสบความสำเร็จมาแล้วที่จีนมีสาขานับหมื่นสาขา วางระบบการลงทุนแฟรนไชส์ที่สามารถขยายสาขาได้ง่าย

ภาพจาก https://citly.me/5pJIQ

ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์สะดวกซัก ปี 2567 ก็มีการเปิดสาขากันเยอะ แบรนด์แฟรนไชส์ที่ลงทุนไม่สูงเกินไป คืนทุนเร็ว ยังไปไหว แต่อีกสักพักแนวโน้มการขยายตัวจะเริ่มชะลอตัวลง แม้ว่าตลาดแฟรนไชส์สะดวกซักจะคึกคักตั้งแต่ต้นปี 2567 จากกรณีผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องซักผ้ารายใหญ่อย่าง LG หันมาเล่นในตลาดแฟรนไชส์เพิ่มอีกราย

อ.สิทธิชัย มองว่า การทำแฟรนไชส์ของ LG อาจไม่เติบโตเท่าที่ควร อาจมาเพื่อโปรโมทเครื่องซักผ้ามากกว่า เพราะ LG เป็นผู้ผลิตเครื่องซักผ้าโดยตรง เหมือนกรณีร้านตัวแทนจำหน่าย เป็นการโชว์เครื่องให้ลูกค้าได้เห็นว่าเครื่องซักผ้าของเขาทำงานได้ดี แต่คิดว่าการที่ LG จะแข่งขันจริงจังกับแบรนด์แฟรนไชส์อื่นๆ ในตลาดเป็นไปได้ยาก เพราะจากผู้ผลิตเครื่อง จะมาสร้างทีมงานแฟรนไชส์ใหม่จะเป็นเรื่องยาก หากจะทำแบบขายเครื่องและจับมือเป็นพาร์ทเนอร์จะขยายได้เร็ว

“LG ต้องการสร้างแบรนด์ให้เกิดการรับรู้ของผู้บริโภค เพื่อที่จะแข่งขันในตลาดได้ง่ายขึ้น แต่จะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์เต็มตัวอาจเป็นไปได้ยาก เหมือนกรณีโซนี่ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการเปิดร้านเป็นแบรนด์เดียวของตัวเอง ถ้าเขาเปิดร้านเดียวขึ้นมา ก็ต้องแข่งขันกับร้านดีลเลอร์ของตัวเอง เป็นการสร้างศัตรูจากหมู่มิตร ดีลเลอร์ก็ไม่ชอบ สมัยก่อนแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าโซนี่ พานาโซนิค จะทำเพียงตกแต่งร้านให้ดีลเลอร์เท่านั้น เป็นรูปแบบของเขาโดยเฉพาะ”

โดยสรุปแล้วแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ ยังเติบโตต่อได้ เพราะมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ยกตัวอย่างกรณี 7-Eleven ยอดขายแต่ละสาขาเพิ่มมากขึ้น แบรนด์ยังแข็งแกร่ง เมื่อตลาดค้าปลีกเล็กๆ เริ่มหายไป ทำให้ 7-Eleven ขยายเข้าไปแทนทีทันที

อ.สิทธิชัย พูดเสริมด้วยว่า ที่จะเห็นได้ชัดเจนกรณี 7-Eleven กำลังขยายสาขาใหญ่ๆ เพิ่มมากขึ้น มีพื้นที่จอดรถด้านหน้า เป็นโมเดลร้านบริษัทลงทุนเอง ไม่ขายแฟรนไชส์ เพราะลงทุนเยอะ คืนทุนช้า วางสินค้าได้หลากหลาย บริษัทต้องการดึงดูดลูกค้าที่มีกำลังซื้อ มีรถขับ กลุ่มคนที่มีรายได้สูงขึ้น แต่ก่อนไม่มีที่จอดรถ คนกลุ่มนี้ก็จะไม่จอดรถซื้อ ดังนั้น ถ้าพูดถึงธุรกิจแฟรนไชส์ หากเป็นโมเดลขนาดใหญ่เปอร์เซ็นต์การขายแฟรนไชส์จะน้อยลง เพราะลงทุนสูง คนซื้อเป็นหนี้เยอะ

แฟรนไชส์ขนาดใหญ่

“ในปี 2567 แฟรนไชส์แบรนด์ไหนลงทุนหลัก 3 ล้าน 5 ล้าน 10 ล้านบาท ถ้าไม่เปิดเอง ก็ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ ส่วนแฟรนไชส์ขนาดกลางลงทุนหลัก 2 ล้านลงมา จะขายแฟรนไชส์ได้น้อยลง เพราะคนซื้อยังไม่ไหวเหมือนกัน สำหรับแฟรนไชส์จะขายดี คือ แฟรนไชส์ขนาดเล็กลงทุนต่ำกว่าล้านลงมา ยิ่งทำเล็ก หลักหมื่น หลักพัน จะขายได้เยอะ แต่ปัญหาคือ คนที่เข้ามาขายแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ไม่ได้เป็นแฟรนไชส์จริงๆ ไม่รู้เรื่องแฟรนไชส์ ยังไม่ได้เรียน ไม่ได้ปรับโมเดล พวกนี้คือตีหัวเข้าบ้านก่อน จะทำให้แฟรนไชส์ดาษดื่นไปด้วยขนาดเล็กๆ เพราะใช้เงินลงทุนน้อย แต่เราอาจได้เห็นปัญหาขัดแย้งแฟรนไชส์เยอะขึ้น ซื้อไปเปิดแล้วขายไม่ได้ ทะเลาะเบาะแว้ง แฟรนไชส์ที่โตก่อน พอขายเยอะๆ จะมีปัญหาตามมา”

อ.สิทธิชัย ยังฝากถึงคนที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2567 ต้องรู้การตลาด รู้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รู้กลยุทธ์การลงทุน มีโมเดลชัดเจน ทำเลต้องเป๊ะถึงจะเติบโตได้ ยิ่งเป็นแฟรนไชส์อาหาร ถ้าคุมสูตรไม่ได้ ก็อยู่ไม่รอด รสชาติต้องเป๊ะทุกครั้ง ไม่ว่าลูกค้าจะไปกินที่สาขาไหนก็ตม ยิ่งเจอการแข่งขันรุนแรง พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป ธุรกิจยิ่งไปเร็ว

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต