หมดยุคเสือนอนกิน! ธุรกิจโรงแรม

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก คนต่างชาติต่างภาษานิยมที่จะเดินทางเข้ามาในเมืองไทย ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวก็คือ “ธุรกิจที่พักและโรงแรม” จึงได้อานิสงส์ที่เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

แต่ถ้าสังเกตให้ดีธุรกิจโรงแรมเองก็ใช่ว่าจะอยู่ง่ายๆ สบายๆ รอให้มีลูกค้าเข้ามาพัก หากคิดว่าธุรกิจโรงแรมเป็น “เสือนอนกิน” ที่แค่มีเงิน สร้างโรงแรมสวยๆ หรู ๆ ทำเลดีๆ แล้วจะมีคนเข้าพัก ใครคิดแบบนี้ ผิดแน่นอน

การพัฒนาของโลกที่ก้าวไกล ลูกค้ามีสิทธิที่จะคิดที่จะตัดสินใจ รวมถึงการมีตัวเลือกสำหรับการเข้าพักมากขึ้น www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคือปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจโรงแรมเองต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่จะสามารถต่อสู้กับคู่แข่งที่ไม่ใช่แค่ระดับไฮเอนด้วยกันแต่คู่แข่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือที่พักระดับกลางและระดับล่าง ราคาถูกกว่าแต่สะดวกสบายกว่า เข้าถึงง่ายกว่า กลายเป็นอุปสรรคสำคัญของการทำธุรกิจโรงแรมยุคนี้

ทิศทางธุรกิจโรงแรมเมืองไทยมองดูก็ยังสดใส แต่วางใจไม่ได้?

ธุรกิจโรงแรม

ภาพจาก bit.ly/2lZVZAh

ของธุรกิจโรงแรมไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 จากสมาคมโรงแรมไทย พบว่า มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย ที่ประมาณ 80% ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายพื้นที่พบว่า กรุงเทพฯ มีอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80-85% ความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในช่วงต้นปี 2562 นี้ คือ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป มักเลือกเดินทางด้วยตนเองมากขึ้น

กลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางด้วยตนเอง ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมจำนวนมากได้รับอานิสงส์ที่ดีตามไปด้วย มีรายได้มากขึ้น ไม่โดนจำกัดด้วยกลุ่มทัวร์ที่มักจะใช้บริการราคาต่ำกว่า โดยพบว่าโรงแรมขนาด 70-80 ห้องจำนวนมากในกรุงเทพฯ สามารถรับนักท่องเที่ยวด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพากรุ๊ปทัวร์ และหลายรายสามารถหาลูกค้าได้เองถึง 100%

5

ภาพจาก bit.ly/2kxCTkz

ผลสำรวจดัชนีราคาห้องพักจาก Hotels.com เผยให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยนักท่องเที่ยวทั่วโลกจ่ายเงินค่าห้องพักเพิ่มขึ้น 3% ในปี 2561 สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยจ่ายค่าห้องพักภายในประเทศปี 2561 เฉลี่ยต่อคืน 1,720 บาท

ขณะที่จ่ายค่าห้องพักต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 4,437 บาทต่อคืน โดยดัชนีราคาห้องพักเป็นเครื่องบ่งชี้ทิศทางสำหรับอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีปัจจัยที่ท้าทายหลายประการ ทั้งภาวะเศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ แต่การเติบโตนับเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมนี้ยังเดินหน้าต่อไปได้ในอนาคต

คู่แข่งสำคัญของธุรกิจโรงแรมคือ “Airbnb” และเกสต์เฮ้าส์ขนาดเล็ก

4

ภาพจาก bit.ly/2m2Pz3u

ตอนนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก Airbnb เว็บไซต์สำหรับจองห้องพักได้ทั่วโลก ที่เปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวในแบบที่ไม่เหมือนใคร สะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป จากต้องนอนโรงแรมที่มีความสะดวกครบครัน ก็เปลี่ยนมาเป็นจองห้องพักแบบแชร์รูม หรือเกสต์เฮ้าส์แทน

การเกิดขึ้นของที่พักสไตล์ Airbnb เป็นตัวการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งภาพลักษณ์ของโรงแรมในสายตาคนกลุ่มมิลเลนเนียลซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ของตลาดปัจจุบันมองว่า มีหลายอย่างที่ไม่จำเป็น และไม่ตอบโจทย์การใช้งานห้องพักของพวกเขา เช่น มินิบาร์ ที่บรรจุเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวราคาแพงกว่าร้านสะดวกซื้อด้านล่างโรงแรม

หรือกรณีของการนำโต๊ะทำงานออกไปจากห้องพักนั้น เป็นเพราะว่าลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลนั้นหลายคนต้องการแชร์พื้นที่การทำงานร่วมกับคนอื่น ซึ่งอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดกันและเกิดเป็นไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมา ผลก็คือ หลาย ๆ โรงแรมเริ่มปรับเปลี่ยนพื้นที่ในส่วนล็อบบี้เป็นพื้นที่ทำงานของลูกค้าแทนมีรายงานว่า

โรงแรมหลายแห่งได้เริ่มปรับลุคใหม่ โดยนำเคาท์เตอร์บาร์ออกจากห้องพัก รวมถึงโต๊ะทำงาน แถมโรงแรมบางแห่งอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะใส่ตู้เสื้อผ้าไว้ในห้องพักต่อดีหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะว่าต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เป็นเพราะมัน “ไม่ตอบโจทย์” ลูกค้ายุคใหม่อีกแล้วนั่นเอง

4 เหตุผลทำให้คนตัดสินใจเลือกที่พัก

3

ภาพจาก bit.ly/2kl9oTg

จากรายงานล่าสุดของ Sullivan ที่ทำการเก็บข้อมูลของนักท่องเที่ยวในหัวข้อ “Where They Go. Why They Stay,” ได้เผย 4 กระบวนการตัดสินใจจองห้องพักของนักท่องเที่ยว ซึ่งแบรนด์สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้

1. ที่ตั้งมีผลต่อการตัดสินใจ

นอกจากความสะดวกสบายและราคาแล้ว ทำเลที่ตั้งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจอย่างมาก ยิ่งถ้าตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน ศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม หรือย่านที่ได้รับความนิยม ยิ่งถูกจองเร็วกว่าที่อื่นๆ

2

ภาพจาก bit.ly/2lBEWEF

2. รีวิว หรือ Influencer มีผลต่อการจอง

พื้นฐานของานบริการคือ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ธุรกิจโรงแรมเองก็เช่นกัน โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องหาข้อมูล และอ่านรีวิวก่อนตัดสินใจ ผู้ประกอบการจึงต้องจูงใจให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็น ให้คะแนน หรือรีวิวในเชิงบวก โดยใช้งานบริการที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวชักจูง

3. เว็บไซต์ใช้งานง่าย

46% ของนักท่องเที่ยวจะจองห้องพักผ่าน booking engine หรือระบบการจองห้องพัก เว็บไซต์ที่มีต้องรองรับการใช้งานทุกอุปกรณ์ ลูกค้าที่เข้ามาต้องค้นหาห้องว่าง และจองห้องพักได้ง่าย รวมถึงยืนยันการจองโดยอัตโนมัติในทันที นอกจากนี้ โรงแรมควรโฟกัสเรื่องการทำ SEO/SEM ด้วย เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะค้นหาโรงแรมผ่าน Google

1

ภาพจาก bit.ly/2kxEJSv

4. นักท่องเที่ยวไม่สนใจชื่อเสียงของโรงแรม

นักท่องเที่ยวในปัจจุบันต้องการประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ทำให้พวกเขาเลือกพักในโรงแรมเล็กๆ การแชร์ที่พัก หรือเกสต์เฮ้าส์ที่มีสไตล์การตกแต่งไม่ซ้ำใคร ซึ่งถ้าเป็นแบรนด์ใหญ่ก็ควรพิจารณาสไตล์การตกแต่งแบบใหม่ๆ บ้าง เช่น ตกแต่งตามเทศกาล หรือวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเข้าพักได้

รูปแบบที่พักปัจจุบันมีทางเลือกหลากหลาย โรงแรมอาจไม่ใช่ตัวเลือกสุดท้ายของการเข้าพักอีกต่อไป โดยเฉพาะคนต่างชาติที่มักจะเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเอง คนกลุ่มนี้ชอบอะไรที่อิสระ และมีความเป็นท้องถิ่น

แตกต่างจากการมาเป็นกรุ๊ปทัวร์ที่จะเน้นความสะดวกสบาย สัดส่วนของคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ถือว่ามีผลต่อธุรกิจโรงแรมมาก และเพื่อให้ธุรกิจสอดคล้องและรองรับคนทั้ง 2 กลุ่มได้จึงควรพัฒนารูปแบบห้องพักให้มีอย่างหลากหลาย เพื่อรองรับลูกค้าได้ทุกประเภท ไม่ใช่แค่รายได้ที่ดี แต่หมายถึงความประทับใจที่มากขึ้นด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด