แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ปี 67 เจ้าไหนรุ่ง เจ้าไหนร่วง ต้องดู!

รู้หรือไม่ว่า แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มีอัตราเติบโตต่อเนื่องทุกปี 18% มีคนซื้อแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น 15% หรือราวๆ 327,928 คน ส่วนมากเป็นผู้หญิง 61% ผู้ชาย 39% มูลค่าธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยช่วงปี 66-67 อยู่ที่ราวๆ 300,000 ล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 614 กิจการ จำนวนร้านแฟรนไชส์ 93,332 สาขา

ธุรกิจแฟรนไชส์มีจำนวนกิจการมากสุด อันดับ 1-4 เป็นเครื่องดื่ม-ไอศกรีม, อาหาร, การศึกษา, บริการ ใครอยากรู้บ้างว่าปี 67 ธุรกิจแฟรนไชส์ไหนมาแรง แฟรนไชส์ไหนถดถอย มาดูกัน

เริ่มกันที่แฟรนไชส์ดาวรุ่ง มาแรง ยังเป็นกลุ่มอาหาร หนึ่งในปัจจัย 4 ที่มนุษย์ขาดไม่ได้ รับผลพลอยจากการเปิดประเทศ มาตรการส่งเสริมท่องเที่ยวภาครัฐ แฟรนไชส์ที่ได้รับความสนใจในปีนี้ เป็นแนวสตรีทฟู้ด ทำง่าย ขายง่าย กินง่าย ใช้พื้นที่น้อย เปิดร้านได้เร็ว ส่วนเชนร้านอาหารขนาดกลาง ลงทุนหลักแสนขึ้นไปยังโตได้เช่นกัน

แฟรนไชส์ดาวรุ่งตัวต่อไปกลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม ชานมไข่มุกแบรนด์ดังยังไปได้เรื่อยๆ แต่ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นในปีนี้เป็นเครื่องดื่มแนวสุขภาพ น้ำผลไม้ สมูทตี้ ส่วนกาแฟทรงๆ ตัว ไม่หวือหวา แบรนด์ใหญ่ยังขยายสาขาได้

ส่วนตัวที่น่าจับตามองมากๆ ก็คือ ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ โดยเฉพาะแฟรนไชส์จากจีน MIXUE เปิดตลาดในไทยกลางปี 65 ขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 200 สาขา ยังมี Ai-Cha อินโดนีเซีย 7 สาขา และ WEDRINK อีกหนึ่งเจ้าจากจีน เปิดพร้อมกัน 3 สาขาเมื่อช่วงต้นปี ทั้ง 3 แบรนด์นี้แทบจะก็อปโมเดลธุรกิจกันมาเลยทีเดียว ขายราคาเริ่มต้น 15 บาท ยังมีเจ้าตลาดเดิมในไทยอย่าง “แดรี่ควีน” ไม่สนแบรนด์จีน ประกาศเดินหน้าขยายอีก 1,000 สาขาใน 5 ปีข้างหน้า

ภาพจาก จี เพาเวอร์

แฟรนไชส์ดาวรุ่งถัดไปที่น่าจับตา คือ สถานีชาร์จรถยนต์ EV มีหลายๆ แบรนด์เปิดขายแฟรนไชส์ไปแล้ว เช่น จี เพาเวอร์ (G POWER) ให้เลือกลงทุนได้ 2 แบบ ทั้ง Normal Charge (AC) และ Quick Charge (DC) ราคาเริ่มต้น 65,000 – 1,200,000 บาท ค่าแฟรนไชส์ 21,240 – 180,000 บาท แบ่งชำระได้ถึง 3 ปี

ยังมี GINKA EV ในเครือเดียวกับ “เต่าบิน” ตั้งเป้าติดตั้งตู้ชาร์จ EV กว่า 5,000 จุดทั่วประเทศในปีนี้ เน้นโมเดลธุรกิจร่วมลงทุนกับเจ้าของกิจการร้านอาหาร ปั้มน้ำมัน ห้าง คอนโด สำนักงานออฟฟิศ ร้านสะดวกซื้อ

แฟรนไชส์เวนดิ้งแมชชีน ตู้หยอดเหรียญต่างๆ ร้านสะดวกซัก ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ยังโตได้เรื่อยๆ ในปีนี้ ยิ่งการมาทำแฟรนไชส์เองของ “LG” เจ้าตลาดเครื่องซักผ้าในไทยอยู่แล้ว ยิ่งทำให้ตลาดแฟรนไชส์สะดวกซักคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง เจ้าตลาดแฟรนไชส์อย่าง “Otteri” ที่ตอนนี้มีอยู่ 1,000 กว่าสาขา ยังต้องเร่งสปีดสาขา หลังร่วมทุนกับยักษ์ใหญ่ OR เปิดสาขาทั้งในปั้ม นอกปั้ม ประเทศเพื่อบ้าน ว่ากันว่าของหัวใจธุรกิจสะดวกซักอยู่ที่ทำเล ใครได้ก่อน ก็ได้เปรียบ

อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามากๆ ในกลุ่มตู้หยอดเหรียญปีนี้ คือ ร้านล้างรถหยอดเหรียญ เติบโตเร็วมากๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นมากแล้วตามข้างถนนหนทาง ซอกซอยต่างๆ รอบกรุงเทพฯ ปริมณฑล รวมถึงในตัวเมืองต่างจังหวัด

ภาพจาก บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม

ถัดไปเป็นแฟรนไชส์ดูแลผู้สูงอายุเริ่มได้รับความนิยมในไทยมากขึ้น ต่างประเทศอย่างอเมริกาเป็นแฟรนไชส์ที่โตเร็วมาก ตามจำนวนผู้สูงอายุในประเทศของเขา ในไทยตอนนี้มีคนหันมาทำแฟรนไชส์ขายแล้ว อย่างแบรนด์ “บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม” (Baan Thamachart by Chersery Home) ลงทุนเริ่มที่ 20 ล้านบาท

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่ไม่พูดถึงก็ไม่ได้ คือ ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ แฟรนไชส์กลุ่มนี้ยังโตได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่เจ้าตลาดอย่าง 7-Eleven ตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่ปีละ 700 สาขา จากปัจจุบันมีสาขามากกว่า 14,000 สาขา เน้นโมเดลใหม่ Stand Alone มีที่จอดรถ ติดตั้งตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย ยังไม่นับรวมแฟมิลี่มาร์ทเดิมที่มีอยู่ราวๆ 1,000 กว่าสาขา ได้ทยอยเปลี่ยนเป็น Tops Daily แล้ว น่าจะทำให้ตลาดร้านค้าปลีกในไทยคึกคักขึ้นมาได้อีก

มาดูแฟรนไชส์ดาวร่วงกันบ้าง อาจจะถดถอยลงไปในปี 67 คือ แฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ ไปรษณีย์เอกชน หากย้อนไปเมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน แฟรนไชส์สะดวกส่งบูมมากๆ คนแห่เปิดร้านแฟรนไชส์ลักษณะจุด Drop Off พัสดุจำนวนมาก กลายเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ตัดราคาแย่งลูกค้ากัน จัดโปรโมชั่นลดราคา จนแทบไม่มีกำไรเหลือเลย

ทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ลงพื้นที่สำรวจ พบว่า ร้านรับส่งพัสดุจากที่เคยเห็น ปิดบริการจำนวนมาก ตามตลาด ปั้มน้ำมัน ตึกพาณิชย์ เป็นห้องว่างเปล่าไปแล้ว แม้แต่แบรนด์ใหญ่อย่างเคอร์รี่ก็ปิดสาขาเช่นกัน วิกฤตกว่านี้คือบริษัทแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุออกโปรโมชั่นส่วนลด แย่งลูกค้าสาขาแฟรนไชส์ตัวเองจนอยู่ไม่ได้

ภาพจาก www.facebook.com/ramenozawa

ปี 67 เรารู้แล้วว่าแฟรนไชส์ไหนเติบโต ธุรกิจไหนปัง ยังมีเทรนด์ใหม่ล่าสุดที่เกิดขึ้นในตลาดแฟรนไชส์ไทย เราจะเริ่มเห็นมากขึ้น คือ ดูโอ้แบรนด์แฟรนไชส์ (DUO BRAND) เปิด 1 ร้านได้ 2 แบรนด์ ใช้ครัวเดียวกัน เจ้าของคนเดียวกัน อย่างตอนนี้มีคนทำแล้วอย่างแบรนด์ โอซาว่า ราเมน เอ็กซ์ คาราอะเกะ เคียวได (Ozawa Ramen x Karaage kyoudai) ร้านราเมงและไก่ทอดคาราอาเกะ

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ DAKASI x KARIKORI ผสมกันระหว่างชานมไข่มุกกับน้ำแข็งไสสไตล์ญี่ปุ่น เปิดให้บริการแล้วที่ชั้น 1 เมจอร์รัชโยธิน ต้องบอกว่าดูโอ้แบรนด์แฟรนไชส์ มาแรงแน่ๆ ในปีนี้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช