กระแสแรง ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue ไอศกรีมที่มีสาขามากสุดในโลก

ทำไม Mixue ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากจีน จึงถูกพูดถึงมากที่สุดในไทย ใช้เวลาไม่ถึง 17 ปี มีสาขามากเป็นอันดับ 4 ของโลก นั่นเป็นเพราะ Mixue ใช้กลยุทธ์เพียงอย่างเดียวคือ “ขายแฟรนไชส์”

MIXUE (มี่เสวี่ย) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ชื่อดังจากจีน เข้ามาทำตลาดในไทยเมื่อกลางปี 65 (ก.ย. 65) เป็นร้านที่ขยายตัวได้เร็วมาก ไม่ถึง 2 ปี มีสาขามากกว่า 200 แห่ง สาขาแรกอยู่ที่รามคำแหง 53 ทำเลหลักๆ จะเป็นย่านมหาลัย ศูนย์การค้า แหล่งคนพลุกพล่าน มองเห็นได้ง่าย

MIXUE ทำอย่างไรถึงเติบโตได้เร็ว มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ใช้กลยุทธ์อะไร?

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

รายการ ThaiFranchise Today จะเล่าให้เข้าใจง่ายๆ

จุดเริ่มต้นของ MIXUE เกิดขึ้นในปี 1997 (2540) โดยคุณจาง หงเซา (Zhang Hongchao) สมัยเป็นนักศึกษามหาลัยปี 4 เขาได้ยืมเงินทางบ้าน 4,000 หยวน หรือราวๆ 20,000 บาท เปิดร้านขายน้ำแข็งไส ในเมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน

ต่อมาตั้งชื่อ MIXUE BINGCHENG หรือ มี่เสวี่ยปิงเฉิง แปลเป็นไทยได้ว่า “ปราสาทน้ำแข็งสร้างด้วยหิมะสูง” ขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ตามกระแสฮิตของคนจีน แต่รู้มั้ยว่าราคาในตลาดแพงมาก เกือบ 50 บาท

คุณจาง จึงใช้กลยุทธ์ “ราคา” ขายถูกกว่าเจ้าอื่น

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

สาเหตุที่ขายถูกได้ เพราะพัฒนาสูตรไอศกรีมเอง ควบคุมต้นทุนผลิต พัฒนาระบบ Supply Chain มีครัวกลาง คลังสินค้า มีระบบขนส่งเอง จนสามารถขายราคา 2 หยวน หรือ 10 บาท ต่ำกว่าคู่แข่งหลายเท่า ทำให้ลูกค้ามาต่อแถวซื้อแบบถล่มทลาย

พอกลยุทธ์ขายถูกได้ผล คุณจางได้เพิ่มยอดขาย พัฒนาเมนูใหม่ๆ มาขาย [Cross Sell] เช่น สมูทตี้ ชานมไข่มุก ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียงโด่งดัง ธุรกิจเติบโตได้เร็ว

จุดเปลี่ยนทางธุรกิจเกิดขึ้นใน ปี 2007 คุณจาง ตัดสินใจขยายธุรกิจด้วย “ระบบแฟรนไชส์” เปิดสาขาให้มากๆ ครอบคลุมพื้นที่ มีระบบการจัดการที่ดี ซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ได้ถูก เพราะซื้อในปริมาณมาก [Economy of Scale] ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งถึง 20% สามารถตั้งราคาเมนูในร้าน 15-50 บาทได้

กลยุทธ์การตลาดของ MIXUE คือสร้างภาพลักษณ์ให้จดจำง่าย ใช้โลโก้ Snow King ตุ๊กตาหิมะ เป็น Mascot ในร้าน แถมยังเปิดเพลงโฆษณาเบาๆ จนกลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

เชื่อมั้ยครับว่า MIXUE มีรายได้หลักมาจากการขาย “แฟรนไชส์”

  • ขายแพคเกจแฟรนไชส์ กำไร 16%
  • ขายวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ซี สร้างกำไรสูงถึง 72%

ด้วยระบบแฟรนไชส์ ทำให้ MIXUE แทบไม่ต้องใช้เงินตัวเองขยายธุรกิจ เพียงแค่ทำธุรกิจหรือสินค้าให้ดี เท่านี้ก็รอให้คนมาซื้อแฟรนไชส์ไปทำต่อ ส่งผลให้ MIXUE ขยายสาขาได้เร็วติดจรวดในจีน รวมถึงง่ายในการขายธุรกิจแฟรนไชส์ยังต่างประเทศ

ปี 2018 ขยายตลาดต่างประเทศ เริ่มที่กลุ่มประเทศอาเซียน เปิดสาขาแรกที่เวียดนามได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ส่วนในไทยเข้ามาจดทะเบียนภายใต้บริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด วันที่ 9 ก.ย. 65 ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท มี “นางสาวฮุ่ย เจี่ย” เป็นกรรมการบริษัท

เริ่มแรกใช้กลยุทธ์ “แฟรนไชส์” ขยายธุรกิจ

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

งบลงทุนเปิดร้าน 1 สาขา

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ 25,000บาท/ปี
  • ค่าฝึกอบรม 10,000 บาท/ปี
  • ค่าเงินประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าการติดตั้งและตกแต่ง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบและตกแต่งร้าน)
  • ค่าเช่าและอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับเจ้าของที่ที่ให้เช่า)
  • ค่าธรรมเนียมการตรวจสอบ (ในกรุงเทพ 2,500 บาท/ครั้ง ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ครั้ง)
  • งบลงทุนเริ่มต้น 8.90 แสนบาท (ไม่รวมการออกแบบ ก่อสร้าง ค่าเช่าอื่นๆ)

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

ความสำเร็จของ MIXUE ในไทย ต้องบอกว่าเราแทบไม่เห็นโฆษณาของ MIXUE ตามสื่อต่างๆ เลย เชื่อมั๊ยว่าเขาทำตลาดเพียงแค่ออกแบบตกแต่งร้านให้สวยงาม ใช้โทนสีแดงให้คนเดินผ่านสะดุดตา จดจำได้ง่าย ใช้โลโก้ตุ๊กตามนุษย์หิมะ เมื่อลูกค้าไปใช้บริการก็มีการบอกปากต่อปาก รีวิวร้าน ถ่ายรูปแชร์ลงโซเชียลให้แบบฟรีๆ

ถึงว่ามีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ไม่กี่ปีมีมากกว่า 200 สาขา เริ่มแรกใช้กลยุทธ์ขยายสาขานอกห้าง ต่อมาค่อยๆ ขยายเข้าไปในห้าง กล้าต่อกรกับแบรนด์ดังเจ้าถิ่น “แดรี่ควีน” ในเครือไมเนอร์มากขึ้น

ด้วยความที่ MIXUE เป็นร้านไอศกรีมและชาผลไม้ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม ทำให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด และได้โทรเข้ามาสอบถามทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ทุกวัน วันละ 8-10 คน เพราะโทรติดต่อทาง MIXUE ไม่ได้ ทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ จึงติดต่อ Inbox ทางเพจ Mixue Thailand HR

ทราบว่า ตอนนี้ทางแฟรนไชส์ปิดรับอยู่ ยังไม่มีกำหนดเรื่องการเปิดรับแฟรนไชส์ แต่ผู้สนใจสามารถแอดไลน์ @mixuethailand ทำการจองวัน เวลา เพื่อเข้าไปฟังรายละเอียดการเปิดแฟรนไชส์ได้

มาถึงตรงนี้เราต้องยอมรับว่า MIXUE น่าจะเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากสำเร็จในไทย ยังมีสาขาในลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฮาวาย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

ปัจจุบันในจีน MIXUE มีสาขากว่า 25,000 แห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3,000 แห่ง ทั่วโลกประมาณ 36,000 แห่ง เป็นร้านไอศกรีมและเครื่องดื่ม ที่มีสาขามากที่สุดในโลก

เมื่อเทียบกับเชนแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก MIXUE ใช้เวลาไม่ถึง 17 ปี มีสาขามากอันดับ 4 ของโลก รองจาก

  • Mcdonald 40,801 สาขา
  • Subway 36,514 สาขา
  • Starbucks 36,170 สาขา

ปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว! Mixue

รายได้ MIXUE ทั่วโลก

  • ปี 2020 รายได้ 22,870 ล้านบาท กำไร 3,090 ล้านบาท
  • ปี 2021 รายได้ 48,580 ล้านบาท กำไร 9,300 ล้านบาท

ที่สำคัญ MIXUE เตรียมจดทะเบียน IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงภายในปี 67 มีการประเมินเอาไว้ว่า MIXUE อาจมีมูลค่าบริษัทกว่า 330,000 ล้านบาท

วันนี้แม้ว่า MIXUE จะประสบความสำเร็จ ธุรกิจมีการเติบโตอย่างเร็วในไทย แต่หากมองอนาคตคงไม่ง่าย เพราะไม่ถึงปีที่ MIXUE บุกตลาดเมืองไทย ไม่ทันไรก็มี Ai-Cha ร้านสไตล์เดียวกันจากจีน ขายราคาสินค้าเท่ากัน ค่าแฟรนไชส์พอๆกัน แทบเป็นฝาแฝดทางธุรกิจ ขยายไปแล้ว 7 สาขา

นอกจากนั้น ต้นปี 67 ยังมี WEDRINK ร้านไอศกรีมและชาน้องใหม่จากจีน เปิดสาขาพร้อมกันถึง 3 สาขาในไทย ถือเป็นคู่แข่งใหม่ของ MIXUE ยังไม่นับรวมแบรนด์เจ้าถิ่น เก๋าในตลาดเมืองไทยมานานอย่าง “แดรี่ควีน” ที่ประกาศกร้าวไม่กลัวแบรนด์จีน เดินหน้าตลาดพรีเมียมของตัวเองต่อไป

ส่วน Hawell´s แบรนด์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในตำนาน สัญชาติไทย กลับมาอีกครั้ง เปิดสาขา Stand Alone ย่านบางบัวทอง ตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์ไปทั่วโลก

ต้องดูกันยาวๆว่า MIXUE จะเดินกลยุทธ์อย่างไรต่อไป ในมหากาพย์สงครามไอศกรีม Soft Serve ที่มีผู้เล่นทั้งหน้าใหม่ หน้าเก่า เพราะตลาดไทยขึ้นชื่อว่าปราบเซียน ยิ่งสินค้ามีกระแสเร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสจางหายไปจากตลาดในเวลาไม่นาน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช