10 วิธี เพิ่มยอดขายร้านอาหาร เล็กใหญ่ ใช้ได้จริง! ปี 2566

หนึ่งในธุรกิจยอดฮิตที่คนนึกถึงมากที่สุดคือ “ร้านอาหาร” ทุกวันนี้เราเห็นร้านอาหารตั้งแต่ริมทาง ไปจนถึงระดับร้านอาหารใหญ่ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่เชื่อหรือไม่ว่าแม้ขนาดของร้านอาหารจะต่างกันแต่ที่จริงแล้วพื้นฐานของร้านอาหารทุกแห่งนั้นแทบจะไม่ต่างกัน และก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเป็นการ เพิ่มยอดขายร้านอาหาร ได้อย่างดี ไม่นับเรื่องเงินทุนของร้านค้าแต่ละแห่งที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าร้านอาหารจะเล็ก หรือใหญ่ถ้าสามารถทำ

10 วิธีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพรับรองว่ายอดขายเพิ่มมากขึ้นแน่

1.เพิ่มช่องทางการขายเดลิเวอรี่

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้เราต้องมีบริการเดลิเวอรี่ ยิ่งเป็นร้านอาหารยิ่งเป็นการเพิ่มยอดขายที่ดีมาก ยิ่งมีช่องทางให้ลูกค้าสั่งสินค้าผ่านผ่านแอป ผ่านเพจ ผ่านไลน์ ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายได้มากขึ้นเท่านั้น และไม่ต้องกังวลในเรื่องค่า GP วิธีแก้ปัญหาที่ร้านส่วนใหญ่ใช้คือการทำเมนูพิเศษที่รวมต้นทุนค่า GP เข้าไปแล้ว และคำว่าเมนูที่พิเศษลูกค้าเองก็รู้สึกอยากลอง ซึ่งอาจไม่มีขายหน้าร้านแต่จะขายในช่องทางเดลิเวอรี่เท่านั้น

2.ใช้การตลาดออนไลน์ให้มากที่สุด

โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram และ LINE คือ อีกหนึ่งวิธีเพิ่มยอดขายร้านอาหารได้อย่าง เพราะทุกวันนี้ลูกค้ามักจะเสิร์ชหาร้านอาหารจากโซเชียลมีเดียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การมีเพจ มีไลน์ หรือทำเว็บไซต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้ารู้จักร้านของเราได้มากขึ้น ที่สำคัญการตลาดออนไลน์ถ้าเรามีความรู้ มีทักษะ ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง เพราะมีหลายวิธีในการทำตลาดที่อาจไม่ต้องเสียเงินแต่ได้ประโยชน์คุ้มค่ามาก เช่นร้านอาหารบางแห่งที่ถ่ายภาพเมนูสวยๆ อัพเดทลงโซเชี่ยล และมีการสร้างคอนเทนต์ให้คนสนใจติดตาม และยิ่งกลายเป็นไวรัลได้ก็ยิ่งดีคนจะยิ่งสนใจร้านเรามากขึ้น

3.ทำโปรโมชั่นกับลูกค้าเก่า

ลูกค้าประจำคือสิ่งที่ร้านอาหารไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต้องรักษาเอาไว้ให้ได้ เพราะการทำตลาดกับลูกค้าเก่าง่ายกว่าการหาลูกค้าใหม่ วิธีที่ดีที่สุดคือควรทำโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าเก่าให้รู้สึกว่าอยากใช้บริการร้านอาหารของเราต่อไป ยิ่งทำให้ลูกค้าเก่ารู้สึกถึงความพิเศษ รู้สึกเหมือนเป็นคนสำคัญ ไม่ใช่แค่ลูกค้าจะยังอยู่กับเรา แต่ลูกค้าเหล่านี้พร้อมจะพาลูกค้าใหม่มาใช้บริการ เป็นโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้

4.ปักหมุดร้านบน Google My Business

แฟรนไชส์ร้านอาหารเปิดใหม่

การปักหมุดร้านบน Google My Business จะทำให้ร้านค้าของเราถูกเสิร์ชพบได้ง่ายมากขึ้น เวลามีการค้นหาร้านอาหารในพื้นที่ ซึ่งใน Google My Business ยังใส่รายละเอียด รูปภาพร้าน เมนู รีวิว และช่องทางติดต่อได้อีกด้วย ทำให้เพิ่มโอกาสดึงดูดลูกค้าเดินทางมาใช้บริการได้ง่ายมากขึ้นด้วย

5.จับคู่พันธมิตรกับสินค้าอื่นเพื่อเพิ่มยอดขาย

การเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารไม่ได้จำกัดแค่การสร้างสรรค์เมนูใหม่ แต่การตลาดที่ร่วมมือกับธุรกิจอื่นคือการสร้างพันธมิตรที่ทำให้แบรนด์ร้านอาหารเราแข็งแกร่งได้มากขึ้นด้วย เช่น การจับมือกับร้านเสื้อผ้าและสร้างสรรค์เมนูพิเศษเป็นระยะเวลาหนึ่ง ให้ร้านเสื้อผ้ามอบบัตรของขวัญแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ หรือการทำร้านอาหารที่มีสิทธิพิเศษเมื่อซื้อครบราคาที่กำหนดสามารถใช้บริการในร้านค้าพันธมิตรอื่นแบบมีส่วนลดได้อีก สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นการกระตุ้นยอดขายที่น่าสนใจในยุคนี้

6.ใช้โปรแกรมการขายหน้าร้าน (POS)

โปรแกรมนี้สามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์กับร้านอาหาร สามารถบอกได้ตั้งแต่ช่วงเวลาที่ลูกค้าเข้าร้านมากที่สุด อาหารหรือเครื่องดื่มไหนขายดีที่สุด ใครคือกลุ่มลูกค้าที่ดีที่สุด หรือว่ารายการใดที่มีผู้สั่งน้อยที่สุด เราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการติดตามและปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ เพื่อบริหารสต็อคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือจัดทำโปรโมชันและพัฒนาเมนูให้ถูกใจลูกค้าได้อย่างตรงความต้องการ ถือเป็นช่องทางสำคัญของคนทำร้านอาหารที่ไม่ควรมองข้ามเพราะ ระบบช่วยเก็บข้อมูลการขาย หรือระบบ POS ที่ดีเป็นหัวใจของร้านอาหารที่ส่งผลต่อต้นทุนและกำไรในระยะยาวได้

7.สร้างสรรค์เมนูให้แปลกใหม่น่าสนใจ

การออกแบบเมนู ช่วย เพิ่มยอดขายร้านอาหาร ได้ ร้านอาหารต้องรู้จกสร้างสรรค์เมนูให้มีความโดนเด่น น่าดึงดูด และมีตัวเลือกที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง และควรอัพเดตอยู่ตลอดเวลา เช่น มีเมนู Plant based หรือ Vegen เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้ากลุ่ม vegetarain หรือ Vegan หรือ เพิ่มเมนู ตามกระแสเข้ามาเป็นช่วงๆ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน เป็นต้น

8.บริหารพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าคิดจะทำร้านอาหารให้เติบโตมีกำไร ลำพังแค่เจ้าของคนเดียวไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการบริหารพนักงานให้มีความรู้สึกอยากทำงาน รู้สึกว่าทำงานแล้วมีความสุข จะเป็นผลดีกับร้านอาหารมาก อย่าให้พนักงานรู้สึกว่าอยากมาทำงานแค่ให้จบไปวันๆ เพราะความรู้สึกที่ไม่ดีจะถ่ายทอดมาถึงพฤติกรรมที่อาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ดังนั้นเจ้าของร้านต้องรู้จักการดูแลพนักงานที่เรามีอยู่ทั้งเรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ การดูแลในด้านอื่นๆ หรือการอำนวยความสะดวกในการทำงาน รวมถึงต้องรู้จักเคารพสิทธิพนักงานมีการให้กำลังใจไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือสิ่งของเพื่อให้พนักงานรู้สึกภูมิใจทีได้เป็นส่วนหนึ่งของร้านอาหาร

9.เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า

เราสามารถสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าได้หลายอย่าง เช่น การสั่งอาหารผ่านการแสกน QR code เพื่อดูเมนูผ่านหน้าจอโทรศัพท์ (Mobile order) และสามารถกดสั่งได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเรียกพนักงานเพื่อมาจดรายการอาหาร ลดขั้นตอน สะดวกสะบาย และการผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นจากการรับออร์เดอร์ อีกด้วย ส่วนขั้นตอนการคิดเงิน ในสังคมเริ่มเข้า ยุคสมัย Cashless ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่พกเงินสดแล้ว เราควรเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย มากกว่าแค่จ่ายได้แค่เงินสด เช่น QRcode Payment , Debit card Credit card เป็นต้น

10.บรรยากาศร้านดีมีโอกาสเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

สำหรับร้านอาหารสิ่งที่เรียกว่า Touch Point ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ ที่นั่ง แก้ว จาน ช้อน ล้วนเป็นสิ่งที่ลูกค้าจับต้องได้และเป็นสิ่งที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพราะถ้าโต๊ะอาหารที่ลูกค้ามานั่งไม่สะอาดลูกค้าก็คงไม่อยากมาอีกหรือแม้กระทั่งบรรยากาศภายในร้านที่ไม่เอื้ออำนวยก็ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ประทับใจที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง และยุคนี้อะไรที่เป็นกระแสดีๆ ถ้ามีการบอกต่อมักมีการแชร์ต่อ แต่ในมุมกลับกันถ้าเป็นเรื่องไม่ดี ก็มีการแชร์ในวงกว้างอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

เหนือสิ่งอื่นใดการทำร้านอาหารสิ่งคัญก่อนจะไปถึงเรื่องการตลาด ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีการวางแผนที่ชัดเจน มีแผนสำรองในกรณีฉุกเฉิน ถ้าเรามีเงินทุนน้อยก็ควรบริหารจัดการร้านให้เหมาะสมกับเงินทุนที่มี แล้วค่อยต่อยอดให้ร้านเติบโต หรือใครมีทุนมาก การทำตลาดการใช้งบโฆษณาก็ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะได้ตามมาต้องให้คุ้มค่ามากที่สุดด้วย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด