MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์) สองคู่ปรับใหม่ตลาดไอศกรีมและชาเมืองไทย

ตลอดช่วงปี 2566 แบรนด์ร้านไอศกรีมและชานมที่มีการพูดถึงจนเป็นกระแสโด่งดังในโลกออนไลน์มากที่สุดในประเทศไทย คงหนีไม่พ้น MIXUE (มี่เสวี่ย) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากประเทศจีน ติดคำค้นแฟรนไชส์มาแรงอันดับต้นๆ ของ Google เทรนด์อีกด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าปี 2567 ตลาดไอศกรีมและชานมในเมืองไทยเริ่มเดือดทะละเพิ่มขึ้นมาอีก

เมื่อล่าสุด WEDRINK แฟรนไชส์ไอศกรีมและชานมน้องใหม่จากจีน ชูจุดขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟราคาเริ่มต้น 15 บาทเหมือนกัน เปิดสาขาแรกไปเมื่อต้นปี 2567 เรียบร้อยแล้ว นับได้ว่าตลอดช่วง 1 ปีกว่าๆ มีแบรนด์ไอศกรีมและชานมจากจีนบุกตลาดเมืองไทยถึง 3 แบรนด์ ทั้ง MIXUE, Ai-Cha และ WEDRINK แต่ที่น่าสนใจคือ MIXUE กับ WEDRINK เพราะทั้ง 2 แบรนด์มีความคล้ายคลึงกัน มีจุดเริ่มต้นมณฑลเหอหนานเหมือนกัน เปิดสาขาแรกในไทยแถวๆ เดียวกัน

MIXUE (มี่เสวี่ย)

MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์)

ภาพจาก https://citly.me/1GXpt

เริ่มต้นกันที่ MIXUE (มี่เสวี่ย) ร้านไอศกรีมและชาจากจีน มีจุดเริ่มต้นจากร้านขายน้ำแข็งไสในปี 1997 (2540) โดยคุณจาง หงเซา มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเขายังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ตัดสินใจลงทุนเปิดร้านด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นราวๆ 4,000 หยวน ขายสินค้าหลักๆ เช่น น้ำแข็งใส ไอศกรีม และสมูทตี้ ก่อนจะเพิ่มเมนูขายขานมไข่มุก

ต่อเปลี่ยนชื่อร้านเป็น MIXUE BINGCHENG หรือ มี่เสวี่ยปิงเฉิง แปลเป็นไทย “ปราสาทน้ำแข็งสร้างด้วยหิมะสูง” เริ่มขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ราคา 2 หยวน หรือ 10 บาท ถูกกว่าเจ้าอื่นในตลาดที่ขายกัน 10 หยวน หรือราวๆ 50 บาท จนธุรกิจของเขามีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่การขายแฟรนไชส์ในปี 2007 ก่อนขยายสาขาออกไปต่างประเทศในปี 2018

อาทิ เวียดนาม ลาว ไทย กัมพูชา มาเลเซีย ฮาวาย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ปัจจุบัน MIXUE มีจำนวนสาขากว่า 25,000 แห่งในจีน ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสาขามากกว่า 3,000 แห่ง

MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์)

 

ภาพจาก https://citly.me/W3Ef5

ทำให้ปัจจุบันได้กลายเป็นร้านไอศกรีมและชาผลไม้ที่มีการเติบโตรวดเร็วมีจำนวนสาขามากกว่า 36,000 สาขาทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจาก Mcdonald, Subway, Starbucks และ KFC

ต่อมา MIXUE เข้ามาเปิดตลาดในไทยเดือน ก.ย. 2565 ภายใต้การบริหารบริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565 ด้วยทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท มี “นางสาวฮุ่ย เจี่ย” มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท เปิดสาขาแรกที่ซอยรามคำแหง 53 ขยายสาขาตามทำเลย่านมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า

MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์)

ภาพจาก www.facebook.com/mixuethailand

ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 200 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ถือเป็นร้านไอศกรีมและชาผลไม้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเสนอเมนูหลากหลาย ราคาถูกเริ่มต้น 15-50 บาท ทำให้มีคนสนใจลงทุนแฟรนไชส์จำนวนมาก เพราะเป็นร้านที่ครองใจกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ วัยรุ่น นักศึกษา

บริษัทฯ ตั้งเป้าใน 3 ปี ขยายสาขาแฟรนไชส์ 2,000 สาขาทั่วประเทศไทย เป็นร้านไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟวาฟเฟิลโคนใหญ่ๆ รสชาติอร่อยเหมือนกับนมอัดเม็ด มีเครื่องดื่มชานมไข่มุกและชาผลไม้อีกมากมาย ราคาเริ่มต้น 15-50 บาทเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำเลม่อนแก้วใหญ่ๆ ราคาแค่ 20 บาท, ชาพีชใส่เนื้อผลไม้เต็มๆ แก้วละ 45 บาท, ชานมไข่มุกแก้วละ 40 บาท

อยากเปิดร้าน MIXUE ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่?

MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์)

ภาพจาก www.facebook.com/mixuethailand

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ 25,000บาท/ปี
  • ค่าฝึกอบรม 10,000 บาท/ปี
  • ค่าเงินประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าการติดตั้งและตกแต่ง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบและตกแต่งร้าน)
  • ค่าเช่าและอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับเจ้าของที่ที่ให้เช่า)
  • ค่าธรรมเนียมการตรวจสอบ (ในกรุงเทพ 2,500 บาท/ครั้ง ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ครั้ง)
  • งบลงทุนเริ่มต้น 8.90 แสนบาท (ไม่รวมการออกแบบ ก่อสร้าง ค่าเช่าอื่นๆ)

WEDRINK (วีดริ๊งก์)

MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์)

ภาพจาก www.facebook.com/wedrinkth

WEDRINK ก่อตั้งในปี 2555 ในช่วงแรกเป็นลักษณะร้านชานม “เครื่องดื่มไป่ตู้” เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน จากนั้นขยายสาขาอย่างรวดเร็วในซีอาน ไท่หยวน เซียนหยาง เปียวเหอ ก่อนขยายสาขาทั่วจีนครอบคลุม 30 จังหวัดถือเป็นเครื่องดื่มรายแรก มีสาขามากกว่า 3,000 สาขาทั่วจีน จนกระทั่งปี 2565 WEDRINK บุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งแรก เปิดสาขาในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วขยายสาขามากกว่า 200 สาขา

WEDRINK เป็นแบรนด์ในเครือ Runxiang Catering Company มีความเชี่ยวชาญด้านไอศกรีม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงานใหญ่ในเมืองเจิ้งโจว เหอหนาน ประเทศจีน และมีสาขาในเมืองอุรุมซี ซินเจียง, แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว และไทย ร้านค้าส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทำเลมหาวิทยาลัย ถนนคนเดิน ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ มีจุดเด่นขายราคาที่เอื้อมถึงได้ ช่วยให้สามารถดึงดูดกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ และกลุ่มนักศึกษาได้สำเร็จในเวลารวดเร็ว

MIXUE (มี่เสวี่ย) vs WEDRINK (วีดริ๊งก์)

ภาพจาก www.facebook.com/wedrinkth

สำหรับในประเทศไทย WEDRINK น่าจะเป็นคู่แข่งสำคัญของ MIXUE ในอนาคต อยู่ภายใต้การบริหารบริษัท ซินเจิ้ง เมนเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งวันที่ 20 พ.ย. 2566 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยมีนายเจิ้ง หมินเจี๋ย มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท

เปิดสาขาแรกที่รามคำแหง 53 วันที่ 16 ม.ค. 67 ใช้กลยุทธ์ซื้อ 1 แถม 1 ชูเมนูหลากหลาย โดยเฉพาะไอศกรีมโคนมัทฉะ ไอศกรีมดั้งเดิม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชานม สมูทตี้ และน้ำผลไม้ถังนานาชนิด ราคาเริ่มต้น 15-60 บาท

อยากเปิดร้าน WEDRINK ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่?

ภาพจาก www.wedrink.top

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี
  • ค่าการจัดการ 25,000บาท/ปี
  • ค่าการฝึกอบรม 5,000 บาท/คน
  • ค่าเงินประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าการติดตั้งและตกแต่ง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบและตกแต่งร้าน)
  • ค่าเช่าและอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับเจ้าของที่ที่ให้เช่า)
  • ค่าสำรวจพื้นที่ (ในกรุงเทพ 2,500 บาท/ต่อครั้ง ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ต่อครั้ง)
  • งบลงทุนเริ่มต้น 8.85 แสนบาท (ไม่รวมการออกแบบ ก่อสร้าง ค่าเช่าอื่นๆ)

ภาพจาก www.facebook.com/wedrinkth

มาถึงตรงนี้ดูเหมือนว่า MIXUE จะมีความได้เปรียบ WEDRINK และ Ai-Cha ตรงที่เข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยก่อน สามารถสร้างกระแสจนได้รับความนิยมขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่ Ai-Cha ขยายสาขาได้ 7 สาขา ส่วน WEDRINK แบรนด์น้องใหม่จากจีนเพิ่งเปิดสาขาแรก แต่วางเป้าหมายขยายแฟรนไชส์ทั่วประเทศ

แต่อย่าลืมว่าทั้ง 3 แบรนด์ ชูไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟขายราคาเริ่มต้นเท่ากัน 15 บาท กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มเดียวกัน เปิดสาขาในทำเลที่ตั้งเหมือนๆ กัน คือ สถาบันการศึกษา ห้างสรรพสินค้า ถนนคนเดิน ฯลฯ ด้วยกลยุทธ์แบบเดียวกันเดินเกมราคาถูก น่าจะทำให้ลูกค้าในเมืองไทยมีตัวเลือกมากขึ้น เดินไปเจอร้านไหนใกล้ๆ ก็ใช้บริการได้เลย เพราะรสชาติไม่ต่างกันมากนัก

นั่นจึงเป็นปัญหาที่ MIXUE จะต้องเตรียมรับมือในอนาคต ยิ่งขยายสาขาแฟรนไชส์จำนวนมาก อาจกระทบต่อยอดขายของสาขาแฟรนไชส์ซี เพราะผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ยิ่งไม่นับรวมเจ้าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในไทยเจ้าเก่าอย่าง Dairy Queenที่ขายไอศกรีมโคนราคาเริ่มต้น 12 บาท รวมถึงแบรนด์ไอศกรีมในตำนานของไทย Hawell’s ที่เพิ่งกลับมาภาคใหม่ขายราคา 25 บาท เปิดสาขาแรกแถวบางบัวทองรูปแบบสแตนอโลนเพื่อเตรียมขายแฟรนไชส์ไปทั่วโลก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช