สำรวจแฟรนไชส์คุณ! พัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์ หรือไม่

ปัจจุบันมาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละประเภทได้รับการยอมรับ และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซีหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น

เมื่อได้เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังสนใจผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แปะข้างฝาเอาไว้ แต่ธุรกิจที่จะผ่านเกณฑ์ฯ ได้ ต้องมีมุ่งมั่น ตั้งใจบริหารจัดการอย่างแท้จริง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้มีแนวทางการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ ตามเกณฑ์รางวัลมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มาฝากผู้ประการธุรกิจแฟรนไชส์ทุกท่าน เพื่อการบริหารที่เป็นเลิศ

1.การนำองค์กร (120 คะแนน)

คุณภาพแฟรนไชส์

ผู้นำระดับสูงขององค์กรหรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในการขับเคลื่อน และผลักดันองค์กรให้ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร รวมทั้งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เพื่อกำหนดและผลักดันเชิงนโยบาย กำหนดแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนงานเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเป้าหมายการเติบโตที่มั่นคงยั่งยืน

ซึ่งวิสัยทัศน์ แผนการดำเนินงาน และกลยุทธ์ดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการสื่อสารไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้องและนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างผลกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน

2.การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (100 คะแนน)

ll12

การวางแผนกลยุทธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ในระยะยาว โดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กรการวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนา ไปปฏิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถนา ไปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคต

โดยแผนกลยุทธ์ที่ดีต้องสามารถกำหนดให้พนักงานในองค์กรปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน มีแผนงานระยะยาวเพื่อดำเนินไปสู่ความเจริญก้าวหน้า และการตัดสินในนโยบายต่างๆ จะเชื่อมโยงและสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ พนักงานในแต่ละแผนกจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ถูกสร้างขึ้น

3.การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด (120 คะแนน)

ll13

องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้ เพราะจะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ อันจะนำไปสู่การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์

จึงต้องให้ความสำคัญด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเป็นเรื่องหลัก โดยจะต้องมีระบบและกระบวนการที่เหมาะสมที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นตรงตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างแท้จริง

ดังนั้น การฟังเสียงลูกค้า การประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การผลิตและสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่หลากหลาย รวมถึงการจัดการข้อเรียกร้องต่างๆ ในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล

4.การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (80 คะแนน)

ll14

การวัดผลการวิเคราะห์และจัดการความรู้ ควรมาจากความจำเป็นและกลยุทธ์ทางธุรกิจแฟรนไชส์ การวัดผลควรให้ข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับกระบวนการผลผลิต และผลลัพธ์ที่สำคัญ การจัดผลการดำเนินการขององค์กรต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศหลายประเภท โดยธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีระบบการสอน การถ่ายทอดระบบที่มีประสิทธิภาพ

การวัดผลการดำเนินการ ควรครอบคลุมถึงผลการดำเนินการด้านลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ รวมทั้งการเปรียบเทียบผลการดำเนินการด้านการปฏิบัติการ ผลการดำเนินการด้านการตลาด และผลการดำเนินการเชิงแข่งขัน

รวมถึงผลการดำเนินการผู้ส่งมอบบุคลากร ต้นทุนและการเงิน ตลอดจนการกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ องค์กรควรจำแนกข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการวิเคราะห์ด้วย

5.การมุ่งเน้นบุคลากร (100 คะแนน)

ll15

องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้บุคลากรมีการเรียนรู้ในทุกระดับและมีทัศนคติที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในตลาด การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรจะส่งผลดีต่อระบบธุรกิจแฟรนไชส์ขององค์กรหลายประการ

นอกจากนี้ เรื่องของมาตรฐานแฟรนไชส์สภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว พนักงานมีความสุขในการทำงาน บรรยากาศส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

6.การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (130 คะแนน)

ll16

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ บริการ โปรแกรมกระบวนการและการปฏิบัติการขององค์กร รวมทั้งการสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นวัตกรรม ควรนำองค์กรไปสู่มิติใหม่ในการดำเนินงาน และนวัตกรรมไม่อยู่ในขอบเขตงานของฝ่ายวิจัยและพัฒนาเท่านั้น นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินการในทุกแง่มุม

ทุกระบบงาน และทุกกระบวนการ ผู้นำองค์กรจึงควรชี้นำ และจัดการให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ องค์กรควรบูรณาการนวัตกรรมไว้ในการทำงานประจำวัน และใช้ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรด้วย

7.ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (350 คะแนน)

ll17

ถือว่ามีความสำคัญที่สุดของเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ สิ่งที่ธุรกิจแฟรนไชส์ทำมาทั้งหมดใน 6 ข้อ จะวัดกันได้ตรงที่มีผลลัพธ์ทางธุรกิจเกิดขึ้น เพราะการวัดผลการดำเนินการขององค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เห็นภาพชัดเจน ขยายตลาดได้หรือไม่ มีกลุ่มลูกค้ามากน้อยแค่ไหน รวมถึงรายได้ขององค์กรเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

ผลลัพธ์ดังกล่าว ควรนำใช้เพื่อสร้างคุณค่าและรักษาประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ลูกค้า บุคลากร ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ และคู่ค้า สาธารณะ และชุมชน ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องมีความพึงพอใจ ยืนหยัดอยู่กับคุณ ร่วมกันสร้างตลาดและพัฒนาสินค้าหรือบริการให้เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดไป

จากการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะทำให้องค์กรสามารถสร้างความภัคดีต่อองค์กรให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ จนสามารถนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยเหลือสังคมได้ กลยุทธ์ขององค์กรควรระบุความต้องการการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรธุรกิจ

โดยการประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะมีคะแนนรวม 1,000 คะแนน คะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนช์ คือ 650 คะแนน

ll18

สำหรับกระบวนการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์กับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การเมินด้วยตนเอง ให้ผู้ประกอบการใช้แบบประเมินในการประเมินตนเอง
  2. การเมินโดยนักวินิจฉัย โดยนักวินิจฉัยหรือผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้น
  3. การประเมินโดยคณะกรรมการคัดเลือกแฟรนไชส์ไทยมาตรฐานคุณภาพ เป็นคณะกรรมการที่ตั้งโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อพิจารณาวิธีการประเมิน และให้คะแนนประเมิน ตลอดจนจัดอันดับธุรกิจตามเกณฑ์ฯ

คุณจะเห็นได้ว่า เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำหนดแผนกลยุทธ์โดยมีผู้นำแสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การดำเนินงานรักษาฐานลูกค้า สร้างลูกค้าใหม่ และการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า คือการรักษาฐานให้แฟรนไชส์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์

สำหรับงานมอบรางวัลมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมประจำปี 2559 (Thailand Franchise Quality Award 2016) สามารถดูธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านเกณฑ์ได้ที่ http://goo.gl/huubCd

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2SZvbxb

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช