“Cash Conversion Cycle” ยิ่งติดลบก็ยิ่งดี! ธุรกิจจะยิ่งโต

ธุรกิจจะใหญ่โตแค่ไหนไม่ได้ดูแค่ตัวเลขที่เป็น “ยอดบวก” อย่างเดียว บางอย่างยิ่ง “ติดลบ” ก็ยิ่งดี เรื่องที่หลายคนอาจมองข้าม คือ วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle) ยิ่งติดลบก็ยิ่งดี! แสดงว่าธุรกิจของคุณนั้นใหญ่โต และมีอำนาจต่อรองเยอะมาก

วงจรเงินสด หรือ Cash conversion cycle (CCC) คือตัวเลขที่บอกถึงจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน หรือก็คือสิ่งที่ลงทุนไปจนได้เงินกลับมาต้องใช้เวลากี่วัน ตัวเลขยิ่งน้อยถึงขั้นติดลบได้ยิ่งดีเพราะแสดงถึงความสามารถในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน และสภาพคล่องของบริษัท

มีสูตรสำเร็จที่ใช้คิดคือ

วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาจ่ายหนี้

  • ระยะเวลาขายสินค้า คือ ระยะเวลาที่สินค้าอยู่ในคลังจนสร้างยอดขายได้ ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน เวลายิ่งน้อยก็ยิ่งดี
  • ระยะเวลาเก็บหนี้ คือ ระยะเวลาที่บริษัทใช้จนกว่าจะเก็บเงินสดจากลูกหนี้การค้าได้ เวลายิ่งน้อยก็ยิ่งดีเช่นกัน
  • ระยะเวลาจ่ายหนี้ คือ ระยะเวลาที่บริษัทใช้ในการจ่ายหนี้การค้าให้เจ้าหนี้ ระยะเวลาจ่ายหนี้ยิ่งมากก็ยิ่งดี

ที่บอกว่า “วงจรเงินสด” ยิ่งติดลบก็ยิ่งดี เพราะส่วนใหญ่แบรนด์ดังเจ้าใหญ่ระดับประเทศตัวเลขนี้เขาก็ติดลบกันทั้งนั้น

ยกตัวอย่าง 7-Eleven เราทราบดีว่าบรรดาคู่ค้าที่นำของมาวางขายใน 7-Eleven จะยังไม่ได้เงินในทันที โดยเฉลี่ยต้องรอถึง 53 วัน จึงจะได้เงินจาก CPALL ที่เป็นเจ้าของ 7-Eleven

  • ซึ่งระยะเวลาขายสินค้าของ 7-Eleven = 29 วัน
  • ระยะเวลาเก็บหนี้จากลูกค้า = 1 วัน
  • ระยะเวลาชำระหนี้กับคู่ค้า = 53 วัน
  • วงจรเงินสดของ CPALL ก็คือ 29 + 1 – 53 = 23 วัน

ตัวเลขที่ได้มานี้บอกให้รู้ว่า CPALL สามารถนำเงินที่ได้จากการขายสินค้าไปใช้จ่ายหมุนเวียนได้มากถึง 23 วัน ก่อนที่จะนำไปจ่ายให้กับคู่ค้าที่เป็นแบรนด์สินค้าต่าง ๆ

คำถามคือ! ทำไมบรรดาคู่ค้าต่างๆ ถึงต้องยอมให้เอาสินค้าไปก่อน และต้องรออีกนานกว่าจะได้เงิน ? นั่นเพราะศักยภาพของแบรนด์ทำให้ “มีอำนาจต่อรอง” ได้เยอะมาก

ด้วยความที่ 7-Eleven มีสาขามากกว่า 14,000 แห่ง มีพลังในการจัดจำหน่ายสูงมาก ถ้าเราเป็นเจ้าของสินค้าก็คงอยากให้สินค้าตัวเองไปวางขายอยู่บนเชลล์ของ 7-Eleven ทั้ง 14,000 แห่ง เพราะโอกาสที่เราจะขายของได้มาก สินค้าเราจะเป็นที่รู้จักก็มาก แต่ก็ต้องแลกมากับ “Credit Term” ที่นานขึ้น

ไม่ใช่แค่ 7-Eleven เท่านั้นนะที่ “วงจรเงินสด” อยู่ในระดับที่น้อยถึงน้อยมาก ห้างค้าปลีกอย่าง Lotus’s , Makro ก็มีระยะเวลาชำระหนี้กับคู่ค้านานถึง 55 วัน ขณะที่ธุรกิจในเครือของบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC มีระยะเวลาชำระหนี้ กับลูกค้านานถึง 79 วัน หรืออย่างอิชิตันกรุ๊ป ก็มีระยะเวลาชำระหนี้กับคู่ค้านานถึง 65 วัน เป็นต้น

วงจรเงินสดดูอีกทีก็ไม่ต่างจากงูกินหางเพราะในขณะที่แบรนด์ใหญ่รับสินค้าไปขายก่อน เจ้าของสินค้ายังไม่ได้เงิน ในทันทีวิธีแก้ปัญหาก็คือการขอ Credit Term ที่นานขึ้นจากบรรดาซัพพลายเออร์ต่างๆ ซึ่งเหตุผลของบรรดาซัพพลายเออร์ก็ไม่ต่างกันคือต้องยอมให้ไปก่อนเพราะเจ้าของสินค้ามีศักยภาพในการผลิตสูงและถือเป็นลูกค้ารายใหญ่นั่นเอง

จากข้อมูลภาพรวมทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่ายิ่ง “วงจรเงินสด” มีตัวเลขยิ่งน้อยก็เท่ากับว่าจะเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตตามไปด้วย แต่ทั้งนี้การนำตัวเลข “วงจรเงินสด” มาชี้วัดว่าใครจะเป็นยักษ์ใหญ่ต้องนำไปเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น

เพราะตามปกติแล้วอุตสาหกรรมต่างๆจะมีระยะเวลาในการขายสินค้า เก็บเงิน และจ่ายหนี้ไม่เท่ากัน จะด้วยลักษณะของสินค้า หรืออาจไม่มีสินค้าเลยก็ตามแต่ ซึ่ง “วงจรเงินสด” จะใช้ไม่ได้ในกรณีที่บริษัทไม่มีสินค้าคงคลัง หรือไม่มีการสต็อกสินค้า เช่น ธุรกิจบริการต่างๆ เป็นต้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด