ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เก็บจากอะไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) คือ ค่าตอบแทน ที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน จะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิต่างๆ เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เงินที่จ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เพื่อตอบแทนการให้สิทธิแฟรนไชส์แก่แฟรนไชส์ซีตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาแฟรนไชส์นั่นเอง

มองอีกมุม ถือเป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายล่วงหน้าให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เพื่อตอบแทนที่แฟรนไชส์ซอร์ยอมให้แฟรนไชส์ซีมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ความรู้ ประสบการณ์ เทคนิค วิธีการในการบริหารจัดการธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ บางคนจึงมองเงินค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ว่า เหมือนกับเงินกินเปล่า เหมือนเงินแปะเจี๊ยะตอนเซ้งบ้านอะไรทำนองนั้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำคุณไปทำความรู้จักว่า ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) หรือ เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้า ที่เก็บจากแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ มาจากอะไร ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ

1.ความรู้ (Know – How)

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

เป็นการพัฒนาความรู้ที่สามารถทำได้ โดยที่คนอื่นไม่รู้ หรือทำได้ไม่ดีเท่า ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์ก็จะถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ต่อให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างแฟรนไชส์ซีด้วย

การพัฒนาวิธีการทำงานต่างๆ อาจจะเห็นจากรูปธรรม คือ คู่มือการประกอบการ ที่รวบรวมสารพัดวิธีในการดำเนินธุรกิจทุกๆ ด้าน ซึ่งก็คือความรู้ที่จะต้องสะสม จัดเก็บ และรวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่อย่างดี

2.เครื่องหมายการค้า (Trademarks)

jk2

ภาพจาก goo.gl/Fn5TVr

คือเงินลงทุนชนิดหนึ่งของธุรกิจ เพราะตราสินค้ากว่าจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า มีชื่อติดใจ ติดปากคน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น ต้องลงทุนโฆษณา ทั้งเวลาและเงินทุนทั้งทางตรง ทางอ้อม และตราที่ดีจำนำลูกค้ามาสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้น จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการสร้างตราสินค้า ที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องมาคิดจากแฟรนไชส์ซี

3.การสร้างองค์กร (Organization Cost)

jk3

การจัดทีมงาน การบริหารงาน ที่มีระบบต้องมีทีมงานที่เข้ามารับผิดชอบงานแต่ละส่วน การสร้างระบบงานแฟรนไชส์ จะมีทีมงานที่หน่วยงานกลางรับผิดชอบคอยช่วยเหลือร้านค้าในระบบทั้งหมด จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย

4.การอบรม (Training)

kj3

การสร้างหน่วยงานที่ให้ความรู้ ทั้งพนักงานสายปฏิบัติงาน และแฟรนไชส์ซี การจัดอบรมที่มีระบบ และมีมาตรฐาน ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดการทุกครั้งเสมอ

5.การเลือกทำเล (Location Selection)

ss5

แฟรนไชส์ซอร์ที่ต้องคัดเลือกผู้ลงทุนอย่างรอบคอบ จำเป็นต้องมีการเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ทำเลที่ตั้งร้าน มีค่าเดินทาง และตรวจสอบความเป็นไปได้ในการลงทุน ทำการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก ตรงนี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และผู้ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ด้วย ทำให้เห็นภาพการลงทุนล่วงหน้าที่คาดการณ์ไว้ชัดเจน ดังนั้น การสำรวจที่ดีจะต้องมีการใช้งบประมาณ และเวลาในการจัดทำอย่างรอบคอบเช่นกัน

6.ความช่วยเหลือจนกระทั่งเปิดดำเนินงาน (On-going Support)

hj1

ถือเป็นส่วนสำคัญของระบบงานแบบแฟรนไชส์ ที่จะต้องมีทีมงานที่พร้อมในการเปิดร้านในพื้นที่ โดยคอยให้ความช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีในระยะแรก และสร้างระบบงานให้ดำเนินไปได้ดี ก่อนที่จะให้แฟรนไชส์ซีรับผิดชอบต่อไป

เรียกได้ว่า แฟรนไชส์ซอร์จึงมีค่าใช้จ่ายในการจัดการทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทาง เพื่อให้ร้านของแฟรนไชส์ซีเปิดได้ตามกำหนดเวลา ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ส่วนหนึ่ง จึงนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย

คุณได้เห็นแล้วว่า การที่จะทำการเปิดร้านแฟรนไชส์สักสาขา แม้แฟรนไชส์ซีเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด แต่อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ซอร์ก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้ร้านเกิดขึ้นให้ได้ การเตรียมพร้อมของแฟรนไชส์ซอร์ทั้งแผนงาน และบุคลากร จึงเป็นหัวใจของความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์ แน่นอนต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมที่จะต้องเก็บจากแฟรนไชส์ซี

ดูตัวอย่างการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ของแบรนด์แฟรนไชส์แต่ละประเภท ที่ถูกจัดรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ดูง่าย เข้าใจง่าย ได้ที่ https://goo.gl/T5Ocil


ท่านใดสนใจอยากจดเครื่องหมายการค้าโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่ 
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิง https://bit.ly/35ffHMJ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช