4 เคล็ดลับหาหุ้นส่วน ธุรกิจ SME ไม่ให้ทะเลาะกัน!

ปัญหาภายนอกก็ว่ามากพอแล้ว บางทีคนทำธุรกิจยังต้องเจอปัญหาภายใน เรื่องไม่เป็นเรื่องอย่างการทะเลาะกับ “หุ้นส่วน” ที่บางทีผิดใจถึงขึ้น “ถอนหุ้น” กระทบกับธุรกิจที่ทำถึงขั้นเจ๊งเลยก็มี ดังนั้นเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม www.ThaiSMEsCenter.com มี 4 เคล็ดลับหาหุ้นส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิดใจ ไม่ให้ทะเลาะกัน มีวิธีอะไรน่าสนใจลองไปดูกัน

1.ตกผลึกตัวเองว่าต้องการ “หุ้นส่วนแบบไหน”

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

ก่อนจะไปหาว่าหุ้นส่วนเราเป็นใคร ก็ต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการหุ้นส่วนแบบไหน คนแบบไหนที่เราต้องการ คนแบบไหนที่เราคิดว่าไม่อยากได้มาเป็นหุ้นส่วนด้วย หลายคนเลือกหุ้นส่วนเป็นคนในครอบครัว คนรู้จัก หรือเพื่อนสนิท ข้อดีของคนเหล่านี้คือใกล้ชิดเรา เรารู้จักเขา เขารู้จักเรา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นหุ้นส่วนหรือเหมาะกับธุรกิจที่เราทำอยู่ได้ สิ่งที่เราควรรู้คือควรเลือกคนที่มีลักษณะหรือประสบการณ์แบบไหนมาเสริมจุดอ่อนและพัฒนาจุดแข็งให้ธุรกิจ

2.มองตารู้ใจ มีวิสัยทัศน์แบบเดียวกัน

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

การที่หุ้นส่วนจะไม่ทะเลาะกัน สำคัญคือต้องคุยกันแล้วเข้าใจ มีความคิดมีวิสัยทัศน์ไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงต้องพร้อมที่จะบอกเล่าปัญหา พร้อมที่จะรับฟังซึ่งกันและกัน และร่วมกันหาทางออกไปด้วยกัน ยิ่งธุรกิจไหนที่มีหุ้นส่วนหลายคนการมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกันยิ่งจำเป็นมาก ถ้าต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ คนนั้นอยากได้แบบนี้ คนนี้อยากได้แบบนั้น การบริหารงานจะทำได้ยากมาก สุดท้ายเมื่อหุ้นส่วนไม่พอใจก็นำไปสู่ปัญหาบานปลายได้

3.จัดทำร่างบันทึก สัญญา ให้หุ้นส่วนได้รู้ข้อมูลชัดเจน

ปัญหาที่หุ้นส่วนทะเลาะกันอีกส่วนคือความไม่ชัดเจนของสัญญา ตอนที่ตกลงกันว่าจะมาทำธุรกิจร่วมกัน บางทีเป็นสัญญาปากเปล่า อาศัยความเชื่อใจ ความคุ้นเคย แต่พอทำธุรกิจไปจะมีเรื่องรายได้ มีเรื่องกำไร ผลประกอบการมาเกี่ยวข้อง วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ทะเลาะกันคือการทำร่างบันทึกสัญญาระหว่างกันให้ชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดสิทธิบทบาทหน้าที่และหุ้นส่วนจะได้สบายใจว่าเงินที่ลงทุนไปตัวเองจะได้คืนกลับมาเมื่อไหร่ ตอนไหน อย่างไร ดังนั้นเรื่องของสัญญาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

4.ระวังหุ้นส่วนที่มีภาระทางการเงินมาก

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

เงินทองไม่เข้าใครออกใคร ทุกคนที่ลงทุนก็หวังจะได้กำไรตอบแทนกลับมา แต่การทำธุรกิจไม่ใช่จะได้กำไรในทันที บางครั้งต้องมีระยะเวลารอคอย หรือถ้าธุรกิจมีปัญหาก็ต้องมีการระดมทุนเพิ่ม บรรดาหุ้นส่วนก็ต้องมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นต้น หากเรามีหุ้นส่วนที่คิดถึงแต่เรื่องกำไรอย่างเดียว หรือมีภาระทางการเงินมาก ทำให้จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ หุ้นส่วนในลักษณะนี้อาจไม่ให้ความร่วมมือในการบริหารธุรกิจที่ดีซึ่งจะส่งผลเสียต่อช่วงเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องทุ่มเทพลังกายและพลังใจเป็นอย่างมาก

ข้อดีของการมีหุ้นส่วนคือช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้น เราสามารถแบ่งงานและความรับผิดชอบให้หุ้นส่วนช่วยบริหารจัดการได้ และการมีหุ้นส่วนก็จะช่วยในเรื่องการระดมสมองพัฒนาธุรกิจได้ดีกว่าทำคนเดียว แต่มีหลายเคสที่เห็นชัดเจนว่าหุ้นส่วนเกิดทะเลาะกันเอง

บางทีถึงขั้นแยกออกมาทำเอง กลายเป็นคู่แข่งเราเพิ่มไปอีก ดังนั้นการหาหุ้นส่วนที่เข้ากับเราได้ ที่เข้าใจเรา ที่พร้อมฝ่าฝันปัญหาไปกับเรา คือสิ่งที่ควรทำ เราไม่ควรเร่งรีบมากเกินไปในการหาหุ้นส่วน เพื่อให้ได้ผู้ร่วมหุ้นที่ดีที่เหมาะกับเรามากที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://golink.icu/SLLVprV , https://golink.icu/csXNFjb , https://citly.me/cFx5w

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด