“โกกิ” แป้งทอดกรอบใส่ถุง สู่ธุรกิจรายได้เกือบ 400 ล้านบาท

แป้งทอดกรอบที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก คงหนีไม่พ้น “โกกิ” จากแป้งทอดในครัวเรือน แบ่งปันให้เพื่อนบ้านชิม ปรับปรุงสูตรมาเรื่อยๆ จนถูกปากคนส่วนใหญ่ ก่อนบรรจุถุงพลาสติกขาย จนครองส่วนแบ่งตลาดในไทยมากกว่า 80%

ภาพจาก facebook.com/gogithailand

“โกกิ” มีจุดเริ่มต้นปี 2521 คุณมาลินี ประกอบอาชีพครู ได้เรียนคหกรรมจากโรงเรียนการเรือนพระนคร ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ตอนนั้นครอบครัวเธอมีลูกค้า 5 คน มีค่าใช้จ่ายสูง ลูกอยู่ในวัยกำลังกิน จึงอยากหารายได้เสริม

เริ่มจากทำน้ำพริกขาย ชื่อว่า “น้ำพริกเสวยรสเด็ด” ฝากขายตามร้านสหกรณ์ รวมถึงทำขนมเค้ก ซาลาเปา จนมาถึงอาหารทอดกรอบ แต่ในตอนนั้นไม่มีใครทำแป้งสำเร็จรูปขาย พวกร้านอาหารต้องผสมแป้งกับน้ำทอดกันเอง

คุณฉมาดล ชมเชิงแพทย์
(กรรมการบริหาร บริษัท เอ็มแอนด์อาร์ แลบเบอราทอรี่ จำกัด)

คุณมาลินีจึงมีความคิดอยากทดลองผสมแป้งเอง พอทำเสร็จแล้วเอาไปให้เพื่อนชิม ปรับปรุงสูตรมาเรื่อยๆ จนถูกปากคนส่วนใหญ่ จึงทำขายให้ลูกๆ บรรจุถุงพลาสติกใส ขายตามสหกรณ์กรุงเทพฯ รวมถึงร้านค้าที่รู้จักกัน

พอขายดีขึ้นเรื่อยๆ คุณมาลินีจึงขยายกิจการเป็นโรงงาน ก่อตั้งบริษัท มาลินี ฟูดโปรดักส์ จำกัด เปลี่ยนจากใส่ถุงพลาสติกใสมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ใช้ชื่อแบรนด์ “โกกิ” ตามความชอบส่วนตัวของคุณมาลินี

ภาพจาก facebook.com/gogithailand

เริ่มแรกแป้งโกกิที่วางขายในตลาดมีสินค้าตัวเดียว คือ แป้งประกอบอาหาร 150 กรัม สำหรับใช้ในครัวเรือน ต่อมาขยายไลน์ผลิตแป้งประกอบอาหาร 500 กรัม สำหรับร้านอาหารและภัตตาคาร ได้ปริมาณมากขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายถูกลง จนได้รับความนิยมจากร้านอาหารและภัตตาคารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีการส่งออกไปต่างประเทศที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดของแป้งโกกิมากกว่า 80% อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท เอ็มแอนด์อาร์ แลบเบอราทอรี่ จำกัด บริษัทมุ่งเน้นทำการตลาดด้วยการรักษามาตรฐานสินค้า จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมขาย ศึกษาและวิเคราะห์ตลาดด้วยการนำสินค้าคู่แข่งหรือสินค้าลักษณะเดียวกันทั้งในและต่างประเทศ มาทำการเปรียบเทียบเพื่อพัฒนาสินค้าให้ดีกว่า

ภาพจาก facebook.com/gogithailand

จนมีสินค้าวางขายในตลาดมากกว่า 50 รายการ เช่น แป้งสำเร็จรูปสำหรับทอด แป้งสำเร็จสำหรับทำเค้ก ทำขนมต่างๆ รวมถึงแตกไลน์สินค้าใหม่ๆ เครื่องปรุงรสชนิดผง ผงผัดไทย ผงน้ำยำ ผงน้ำลาบน้ำตก ซุปไก่ผง ซุปเนื้อผง ฯลฯ รวมทั้งเพิ่มสินค้ากลุ่มแป้ง คือ แป้งทอดสไตล์อเมริกัน คาราเกะ แป้งทอดเทมปุระญี่ปุ่น และแตกแบรนด์แป้งทอดกรอบ “กุ้งทอง”

รายได้ “โกกิ”

ภาพจาก www.gogi-food.com

จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน บริษัท เอ็มแอนด์อาร์ แลบเบอราทอรี่ จำกัด ผู้ผลิตแป้งทอดกรอบ “โกกิ” จากกรมพัฒนาธุรกิจค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า

  • ปี 63 รายได้ 354.9 ล้านบาท กำไร 44.2 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 397.4 ล้านบาท กำไร 75.4 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 380 ล้านบาท กำไร 60.5 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่า รายได้และกำไรของบริษัทฯ มีเพิ่มขึ้นในปี 2564 และลดลงในปี 2565 แต่ยังมีรายได้และกำไรมากกว่าปี 2564 นั่นแสดงให้เห็นว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “โกกิ” ยังได้รับความนิยมในครัวเรือน และร้านอาหารทั่วๆ ไป

แต่ที่รายได้และกำไรไม่หวือหวามากนัก เพราะโกกิเป็นสินค้าที่เติบโตตามความต้องการของประชากร อีกทั้งตลาดแป้งชุบทอดกรอบในไทยอิ่มตัว คนรุ่นใหม่อาศัยในเมือง มีการประกอบอาหารน้อยลง แต่ยังขายได้ในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า

ภาพจาก www.gogi-food.com

อย่างไรก็ตาม รายได้และกำไรที่มีการเติบโตขึ้นมาทุกๆ ปีของแป้งทอดกรอบโกกิ ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรต่างๆ มากมายโดยเฉพาะกลยุทธ์การทำธุรกิจของผู้บริหารแป้งโกกิ ก็คือ ก่อนจะขายอะไร ควรศึกษาตลาด พัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับก่อนวางขาย โดยอาจเริ่มจากคนใกล้ตัว ให้ชิม ให้ทดลองใช้ ปรับปรุงพัฒนาสูตรจนได้รสชาติดี ก่อนออกสู่ตลาด

ขณะเดียวกัน พยายามพัฒนาสินค้าหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือสินค้าที่ขายดีอยู่แล้ว พัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น เหมือนกรณี “กะทิชาวเกาะ” พัฒนากะทิใส่ถุงแบบพาสเจอร์ไรส์มาเป็นบรรจุกล่อง UHT ทำให้เก็บไว้ได้ยาวนานมากขึ้น รวมถึงการต่อยอดสินค้าจากแป้งทอดกรอบไปสู่สินค้าอื่นๆ ให้มีความหลากหลาย เช่น แป้งทำขนม แป้งแพนเค้ก เกล็ดขนมปัง เป็นต้น

ภาพจาก facebook.com/gogithailand

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช