รวม 10 วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง! เจ้าของร้าน! ต้องรู้

คนเรารู้หน้าไม่รู้ใจ! แม้แต่ญาติพี่น้องกันยังโกงกันได้ นับประสาอะไรกับคนที่เราจ้างมา หวังจะให้มาช่วยทำงาน แต่บางทีก็เป็นหอกข้างแคร่ ทำงานเหมือนจะดีแต่แอบโกงเราแบบไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนที่เปิดร้านค้า ร้านอาหาร บางคนลงทุนแบบแฟรนไชส์แต่ไม่ได้ลงมาดูแลเอง จ้างคนมาช่วยขาย วางระบบทุกอย่างไว้พร้อม แต่ก็ยังถูกโกง เป็นเพราะอะไร? และจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงได้บ้าง?

ทำไม “ลูกน้อง” ต้องโกง?

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

สาเหตุหลักที่ต้องโกงคือ “เงินไม่พอใช้” บางทีค่าจ้างรายวัน 300 – 500 ใช่ว่าจะพอใช้กันทุกคน หรือจ้างรายเดือนใช้เวลาตั้ง 30 วันกว่าจะได้เงิน เมื่อหน้ามืดตามัว เห็นเงินจากการขาย ก็เกิดความโลภ ทีแรกก็คิดว่าเอาไปก่อนเดี๋ยวค่อยมาโป๊ะคืนเจ้าของไม่รู้หรอก

เมื่อมีครั้งที่ 1 ก็ต้องมีครั้งที่ 2 ครั้งแรกๆ อาจไม่อยากโกงแต่อ้างความจำเป็น แต่พอนานๆ เข้ากลายเป็นนิสัย ยิ่งเจ้าของร้านจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ก็ยิ่งได้ใจ กว่าจะเจ้าของร้านจะรู้ตัวบางทีก็เสียเงินไปไม่ใช่น้อย แน่นอนว่า

ไม่มีทางไหนที่จะสามารถป้องกันการทุจริตได้ 100% แต่มีวิธีป้องกันก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย อย่างน้อยก็ผ่อนหนักให้เป็นเบา เมื่อมีวิธีปราบโกงที่รัดกุมอาจทำให้ถูกโกงได้ยากขึ้น คนอยากโกงบางทีก็ถอนใจไม่อยากโกงแล้วก็เป็นได้

สารพัดกลโกงจากลูกจ้างในร้านค้า ร้านอาหาร ร้านแฟรนไชส์ที่เห็นส่วนใหญ่ก็เช่น

  • บันทึกยอดขายไม่ตรงกับความเป็นจริง
  • นำสินค้าในร้านออกไปขาย
  • ยักยอกเงินสดภายในร้าน
  • แอบเอาวัตถุดิบกลับไปใช้ที่บ้าน
  •  แอบเอาเงินในร้านไปหมุนใช้ก่อน

เมื่อเจ้าของร้านต้องเจอสารพัดรูปแบบการโกง แบบนี้จะมีวิธีอะไรที่ใช้ในการ “ปราบโกง” ได้บ้าง

รวม 10 วิธีป้องกันกลโกงของลูกจ้าง

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

1. ติดตั้งกล้องวงจรปิด

วิธีเบื้องต้นที่เชื่อว่าแทบทุกร้านก็ทำ แต่บางทีก็แก้ปัญหาได้ไม่เต็มร้อย บางครั้งกล้องที่ติดอยู่ในมุมอับ ซึ่งลูกจ้างรู้ที่ทำงานมานานจะรู้มุมกล้องพวกนี้อย่างดี ทางที่ดีเจ้าของร้านต้องหาวิธีติดกล้องแบบที่คนอื่นไม่รู้นอกจากตัวเราเอง อาจจะจับคนโกงได้ง่ายขึ้น

2.ใช้ระบบ POS ในร้าน

อีกวิธียอดฮิตที่แทบทุกร้านก็ใช้กันคือระบบ POS ถือเป็นระบบบริหารจัดการเงินเข้าเงินออกที่ดีที่สุด และ POS บางระบบมีการเก็บข้อมูลบน Cloud ที่ให้เจ้าของร้านเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลาทั้งข้อมูลการขาย (Sales) ยอดเฉลี่ยต่อหัว (Check average) ทำให้เวลาเกิดเหตุการณ์ผิดปกติอะไร ร้านจะสามารถย้อนกลับไปดูข้อมูลได้

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

3.ลดการรับเงินลูกค้าด้วยเงินสด

สิ่งที่คนโกงต้องการคือ “เงิน” ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีคือ “ลดการรับเงินลูกค้าด้วยเงินสด” แต่วิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากกับลูกค้าทำให้อาจไม่เป็นที่แพร่หลายและอาจไม่เหมาะกับทุกร้านค้าที่จะนำมาใช้ ถึงแม้ปัจจุบันจะมีวิธีการจ่ายเงินออนไลน์หลายแบบทั้ง QR Payment, LINEPay , หรือการโอนเงินเข้าบัญชีเจ้าของร้าน เป็นต้น

4.สลับตำแหน่งการทำงานหรือสาขา

วิธีนี้ใช้ได้กับร้านที่มีขนาดใหญ่ มีหลายตำแหน่ง หรือมีหลายสาขา การสลับตำแหน่งการทำงานนอกจากจะช่วยให้ลดโอกาสการทุจริตแล้ว ยังช่วยให้พนักงานเจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆไม่จำเจ และยังช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้งานในตำแหน่งอื่นๆได้ด้วย

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

5.สร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ดี

สาเหตุที่ต้องโกงเพราะลูกจ้างรู้สึกว่าไม่รู้จะทำงานไปทำไม ทำไปเงินก็ไม่พอใช้ ดังนั้นวิธีการสร้างแรงจูงใจที่ดีจะช่วยลดความคิดด้านลบของลูกจ้าง ยิ่งการสร้างแรงจูงใจดีลูกจ้างยิ่งอยากทำงาน เช่นการให้รางวัล , การให้ค่าคอมมิชชั่น , การดูแลและสวัสดิการที่ดี เป็นต้น

6.มีช่องทางรับแจ้งโกง

เจ้าของร้านมีคนเดียว แต่ลูกน้องมีหลายคน วิธีสอดส่องที่ดีสุดคือให้ลูกจ้างสอดส่องกันเอง อาจเปิดช่องทางรับแจ้งการโกงเมื่อเห็นคนทุจริต แต่วิธีนี้เจ้าของร้านก็ต้องมีเหตุผลต้องมีหลักฐานก่อนตัดสินใจว่าใครผิดใครถูก เพราะบางทีอาจมีการกลั่นแกล้งกันได้

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

7.สร้างระบบไอทีช่วยป้องกันการโกง

ข้อดีของยุคนี้คืออยู่ในยุคดิจิทัล มีเทคโนโลยีหลากหลายที่สามารถเลือกใช้ป้องกันคนโกง เช่น การสร้างระบบลิงค์ข้อมูลทุกอย่างเข้าสู่คอมพิวเตอร์ส่วนตัวเจ้าของร้าน , ระบบการป้องกันการโอนเงินไปยังบัญชีต่างๆ แม้จะไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อยแต่ก็ทำให้โกงได้ยากขึ้น

8.แจ้งลูกจ้างทุกคนก่อนปฏิบัติงานว่า “การโกง” มีโทษอย่างไร

เป็นการตัดไม้ข่มนามให้ลูกจ้างรับทราบว่า “การโกง” มีโทษทางกฏหมายอย่างไร โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ระบุว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และมีโทษจำคุกตามคำพิพากษา เป็นต้น

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

9.เช็คยอดขายและสต็อกสินค้าอยู่เสมอ

อย่าไว้ใจลูกจ้างมากเกินไปแม้จะสนิทหรือรู้จักกันมากแค่ไหนก็ตาม และถึงแม้เราจะไม่มีเวลาเข้าร้าน แต่ก็ควรเช็คยอดขายและสต็อดสินค้าเสมอ เพราะนี่คือธุรกิจของเรา ควรทำทุกสัปดาห์ เพื่อดูข้อมูลทุกอย่างให้ตรงกัน และการที่เราใสใจตรวจสอบบ่อยๆ ทำให้ลูกจ้างรู้ว่าเรานั้นเอาใจใส่ธุรกิจมากแค่ไหน

10.ให้สิทธิ์ในการคุมเครื่องเก็บเงินชัดเจน

เป็นวิธีที่ 7-Eleven ใช้แล้วได้ผลมาก เหมาะกับร้านขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหลายคน แต่ถ้าใครเข้าประจำเครื่องเก็บเงินก็ต้องให้สิทธิ์คนนั้นใช้เครื่องในระยะเวลาที่กำหนด หมายความว่าระหว่างที่พนักงานคนนี้ควบคุมเครื่องเก็บเงินพนักงานคนอื่นไม่มีสิทธิ์มาใช้เครื่องนี้ และเมื่อหมดเวลาคุมเครื่อง ต้องมีผู้จัดการมาเช็คยอดเงินในระบบก่อนที่จะส่งต่อสิทธิ์ในการใช้เครื่องคิดเงินให้พนักงานที่เปลี่ยนเวรเข้ามา

วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง

วิธีทั้งหลายเหล่านี้น่าจะเป็น วิธีปราบกลโกงลูกจ้าง ได้ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ป้องกันไม่ได้ 100% แต่อย่างน้อยก็โกงได้ยากขึ้น แต่ถ้าร้านไหน หรือใครมีเทคนิคในการป้องกันที่ดีกว่าอยากให้ลองมาแชร์ความคิดกัน เพื่อประโยชน์ในการเปิดร้านที่ไม่ต้องมาห่วงเรื่องการโกงอีกต่อไป

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด