ย้อนรอย “เจ้าสัวธนินท์” ซื้อ 7-Eleven ตอนแรกถูกปฏิเสธ พอซื้อมาเกือบเจ๊งมาแล้ว

เส้นทางการเติบโตของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 34 ปีที่แล้ว มีจุดเริ่มต้นเมื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีก (License) จากบริษัท เซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น เซเว่นอีเลฟเว่น อิงค์ เจ้าของคือญี่ปุ่น) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 เปิดสาขาแรกที่หัวมุมถนนพัฒน์พงศ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2532 ให้บริการ 24 ชั่วโมง

เจ้าสัวธนินท์

“เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์”
ภาพจาก https://citly.me/JAGZ6

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี 2562 เจ้าสัวธนินท์ ได้เล่าเรื่องที่มาที่ไปของ 7-Eleven ในหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” ไว้ได้อย่างน่าสนใจ เจ้าสัวธนินท์ บอกว่า เขาได้เห็นอเมริกาประสบความสำเร็จกับ 7-Eleven มาแล้ว และเจ้าสัวธนินท์ได้ศึกษามาแล้วว่า หากนำร้าน 7-Eleven เข้ามาเปิดในไทย น่าจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน

แต่การนำร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven เข้ามาเมืองไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในตอนแรกบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกามองข้ามความคิดของเจ้าสัวธนินท์ ด้วยการปฏิเสธไม่ขายสิทธิแฟรนไชส์ให้ เพราะมองว่า GDP ต่อหัวของคนไทยน้อยเกินไป คนไทยมีกำลังซื้อน้อย เพราะหากเทียบลูกค้าในอเมริกา 1 คนจะมียอดซื้อ 1 บิลเท่ากับคนไทย 15 คนรวมกัน

เจ้าสัวธนินท์

ภาพจาก https://citly.me/cQH5p

แต่เจ้าสัวธนินท์ให้เหตุผลว่า แม้ประชากรในเมืองไทยจะน้อย แต่ต้นทุนในไทยถูกกว่าอเมริกาถึง 10 เท่า ทั้งต้นทุนการสร้างสาขา พนักงาน และต้นทุนสินค้า แม้ว่าคนไทยจะมีรายได้น้อยกว่าก็จริง แต่เมื่อรวมหลายๆ คนแล้ว ยอดขายก็ไม่แพ้อเมริกา แถมลงทุนต่ำกว่าสหรัฐอีก เพราะที่ดินเมืองไทยถูกกว่า ค่าจ้างแรงงานก็ถูกกว่า

ในช่วงที่เจ้าสัวธนินท์คิดจะเปิดร้าน 7-Eleven ยังมีเสียงคัดค้านว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ฉลาด เพราะคนฉลาดจะลงทุนในสิ่งที่ทำสำเร็จง่ายๆ แต่เจ้าสัวธนินท์กลับมองว่าแม้ 7-Eleven จะสำเร็จได้ยาก แต่ถ้าทำสำเร็จจะเป็นธุรกิจที่มีอนาคตยั่งยืน ในที่สุดร้าน 7-Eleven สาขาแรกในประเทศเปิดให้บริการที่หัวมุมถนนพัฒน์พงศ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2532

“การศึกษา” วิธีแก้วิกฤติของหายใน 7-Eleven

เจ้าสัวธนินท์

“คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์”
ภาพจาก https://citly.me/TM2yr

หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี ค.ศ.1990 “คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์” เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้เขียนคำนิยมในหนังสือการ์ตูน “Challenge เซเว่นอีเลฟเว่น” ได้รับภารกิจอันหนักหน่วงจาก เจ้าสัวธนินท์ ให้มาช่วยกอบกู้ 7-Eleven ในประเทศไทย ซึ่งในเวลานั้นมี 27 สาขาเท่านั้น แต่มียอดขาดทุนสะสม และยังขาดทุนต่อเนื่องทุกเดือน จนดูเหมือนเป็นธุรกิจที่ไร้อนาคต

ปัญหาการขาดทุนของร้าน 7-Eleven ในช่วงแรกๆ คือ มีอัตราการสูญหายของสินค้า 2.5% ต่อเดือน คือ หมายความว่า ถ้า 7-Eleven มีมูลค่าสินค้าสต็อกอยู่ 100 บาท จะมีมูลค่าของที่หายไป 2.5 บาท ในแต่ละเดือน

โดยทั่วไปแล้วอัตราการหายของสินค้าในธุรกิจค้าปลีกไม่ควรเกิน 1% ต่อเดือน พอของหายจำนวนมากส่งผลกระทบต่ออัตราการทำกำไร ยิ่งไปกว่านั้น กว่า 8 ใน 10 ของสินค้าที่หายไป ถูกตรวจสอบได้ว่าเป็นฝีมือของพนักงานในร้านเอง อีกทั้งในแต่ละเดือนบริษัทยังมีอัตราการลาออกของพนักงานสูง ทำให้ 7-Eleven ต้องหาพนักงานใหม่ราวๆ เดือนละ 1,500 คน

เจ้าสัวธนินท์

ภาพจาก https://citly.me/K6NTH

วิธีแก้ปัญหาของคุณก่อศักดิ์ ก็คือ “ให้การศึกษา” เพราะเขามองว่าพนักงานจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาประจำสาขา หลายคนขาดโอกาสทางการศึกษา หากพนักงานได้รับโอกาสน่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ไม่มากก็น้อย หลังจากนั้นได้ส่งพนักงานไปเรียนหลักสูตรที่ทาง CP ออกแบบให้กรมอาชีวศึกษา โดยเริ่มจากทาง 7-Eleven เข้าไปคุยกับกรมอาชีวศึกษา

วิธีให้การศึกษาแก่พนักงานเป็นการสร้างโอกาสที่ดีในชีวิต พนักงานจะรู้สึกว่าหาก 7-Eleven ไปไม่รอด เขาจะอดเรียนหนังสือ หากใครเรียนดีมีโอกาสได้เป็นผู้จัดการร้าน ทำให้พนักงานรู้สึกมีความเป็นเจ้าของ คอยช่วยกันดูแลกิจการให้ดำเนินต่อไปได้

คุณก่อศักดิ์บริหารกิจการแบบนี้ควบคู่ไปกับการลงทุนในเรื่องระบบควบคุม และตรวจเช็คสต็อกสินค้าในแต่ละสาขา ภายใน 1 ปี 7-Eleven มีอัตราการลาออกลดลง 3 เท่า มีอัตราการสูญหายสินค้าลดลงจาก 2.5% เหลือไม่เกิน 1% หลังจากคุณก่อศักดิ์มาบริหารได้ 2 ปี ก็ทำให้ 7-Eleven สามารถขยายสาขาได้กว่า 100 สาขา

เจ้าสัวธนินท์

ผ่านไปถึงช่วงปี 2005 ร้าน 7-Eleven ในไทยมีจำนวนกว่า 3,000 สาขา ยังขยายตัวต่อเนื่องเกินเป้าหมายของบริษัท คุณก่อศักดิ์ได้เขียนคำนิยมในตอนท้ายด้วยว่า การบุกเบิกร้าน 7-Eleven ในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่า “ไม่มีสูตรสำเร็จของความสำเร็จ”

แม้ว่าธุรกิจนั้นๆ จะประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา แต่ทีมงานของญี่ปุ่นก็ยังต้องประยุกต์ ดัดแปลง และริเริ่มในสิ่งที่ 7-Eleven ของอเมริกาไม่เคยทำ เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่น

เช่นเดียวกับ 7-Eleven ในประเทศไทยก็ไม่เหมือนกับ 7-Eleven ในญี่ปุ่นและอเมริกา แม้ว่าไทยจะเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากเขา แต่ก็ต้องลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นองค์ความรู้ของตนเอง และประสบความสำเร็จในทุกวันนี้

ปัจจุบัน 7-Eleven มีจำนวนสาขามากกว่า 14,000 สาขาทั่วประเทศ มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 916 คน มียอดซื้อต่อบิล 84 บาท คิดเป็นยอดขายเฉลี่ย 76,582 บาทต่อสาขาต่อวัน รวมยอดขายรายเดือนเฉลี่ย 2,297,460 บาท

ทำไม 7-Eleven ต้องเติมเครื่องดื่มจากด้านหลัง

เจ้าสัวธนินท์

ภาพจาก https://citly.me/JHxkT

แนวความคิดการเติมเครื่องดื่มในตู้แช่เย็นจากด้านหลังของตู้เย็นใน 7-Eleven เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก สาเหตุเพราะขณะที่กำลังตกแต่งร้านสาขาแรกที่ญี่ปุ่น ที่มีพื้นที่เล็กมาก แต่ตู้เย็นของ 7-Eleven ที่ส่งมาจากอเมริกามีขนาดใหญ่เกินไป

จึงไม่สามารถย้ายเข้าไปในร้านได้ ด้วยความที่ญี่ปุ่นมีพื้นที่ที่เล็ก จึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนใช้ตู้เย็นขนาดเล็ก ซึ่งจะแช่สินค้าได้น้อยลง เมื่อสินค้าหมดก็จะต้องเติมบ่อย อาจทำให้ตู้เย็นมีความเย็นไม่พอ หรือไม่ก็เย็นช้า

“โมริโอะ คางาวะ” เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องดัดแปลงตู้แช่ของร้าน 7-Eleven ในประเทศญี่ปุ่น จึงได้คิดหาวิธีเติมเครื่องดื่มจากทางด้านหลังของตู้เย็น เพื่อให้สามารถเติมเครื่องดื่มให้ได้ตลอดเวลาและมีความเย็นทันเวลา ทำให้ขวดหรือสินค้าที่เย็นแล้วไหลมาอยู่ด้านหน้า ส่วนขวดที่เพิ่งเติมที่มีความเย็นน้อยจะอยู่ทางด้านหลัง

ขณะเดียว การเติมเครื่องดื่มจากด้านหลังของตู่แช่ตลอดเวลา ก็ไม่เป็นการรบกวนการเลือกซื้อของลูกค้าอีกด้วย ซึ่งด้านหลังของตู้แช่ จึงเป็นห้องที่เย็นมากเพื่อให้การเติมเครื่องดื่มไม่ลดความเย็นของสินค้าในตู้แช่

Store Business Partner กลยุทธ์ขยาย 7-Eleven ในไทย

เจ้าสัวธนินท์

ปัจจุบันร้าน 7-Eleven ในประเทศไทยเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเป็น Store Business Partner มีให้เลือกลงทุน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบราคา 1,480,000 บาท อายุสัญญา 6 ปี ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท

ต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายนะครับไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายมีค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์หลัก ถ้าบริหารแล้วได้ตามเป้างบค่าใช้จ่าย จะมีปันผลจากยอดกำไรแบบขั้นบันไดให้ 20-30%

รูปแบบราคา 2,630,000 บาท อายุสัญญา 10 ปี ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีรายได้จากส่วนแบ่งกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน) ซีพีออลล์ 46% ในส่วนเงินค้ำประกันของทั้ง 2 รูปแบบ จะได้รับคืนเมื่อสิ้นสุดการบริหาร โดยจะได้รับดอกเบี้ยคืนทุกปี ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี

เจ้าสัวธนินท์

ปัจจัยสำเร็จของการเป็น Store Partner ร้าน 7-Eleven นอกจากทำเลที่ตั้ง จำนวนลูกค้า การบริหารจัดการบุคลากรแล้ว คนที่เป็น Store Partner ควรดูแลร้านด้วยตนเองและมีคนที่ไว้ใจ 1 คนมาช่วยทำงานด้วย ช่วยเป็นหูเป็นตา บางครั้งพนักงานในร้านอาจจะโกงเงิน ขโมยสินค้า หรือทำให้ร้านเสียหาย ไม่มีความเป็นมาตรฐาน จนถูกยกเลิกสัญญาได้

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช