ปี 2567 ชานมไข่มุกยุคนี้ แข่งกันที่อะไร? ทำไมจมทุนนานกว่าที่คิด

ชานมไข่มุกผูกผันอยู่กับชีวิตคนไทยมาช้านาน! ทุกวันนี้แทบจะกลายเป็นเครื่องดื่มประจำชาติ ทั้งที่ความจริงต้นกำเนิดของชานมไข่มุกมาจากไต้หวันในปี 1988 และแพร่ขยายมายังประเทศไทยและในอีกหลายประเทศทั่วโลกซึ่งคนไทยก็รู้จักชานมไข่มุกมาตั้งแต่ปี 1990

ชานมไข่มุกยุคนี้

ถ้ามองในเรื่องมูลค่าการตลาดก็ยิ่งตอกย้ำว่าเติบโตมาก

  • ปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 26,000 ล้านบาท
  • ปี 2566 มีมูลค่าตลาดประมาณ 100,000 ล้านบาท

และคาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่ารวมราว 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.43 แสนล้านบาท

ชานมไข่มุกยุคนี้

ยังไม่ใช่แค่นี้! จากข้อมูลยังระบุว่าตลาดชานมไข่มุกในเมืองไทยนี่คือใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2565 มีร้านชานมไข่มุกทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 31,000 แห่ง ส่วนในปี 2566 ที่ผ่านมาก็มีบรรดายักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาเปิดตลาดชานมไข่มุกในเมืองไทยกันเยอะมาก

แต่ก็ต้องยอมรับความจริงอีกด้านเช่นกันว่า “ตลาดชานมไข่มุก” ที่โตเร็ว ย่อมหมายถึง “คู่แข่ง” ที่มากเป็นพิเศษ ทุกวันนี้มองไปทางไหนก็เห็นร้านชานมไข่มุกอยู่ทุกตรอกซอกซอย ในเมื่อตัวเลือกมีมากขนาดนี้ คำถามคือ “เขาแข่งกันที่อะไร” และทั้งที่น่าจะขายดีแต่ทำไม “บางคนเปิดแล้วไม่รอด”

ชานมไข่มุกยุคนี้

ลองมาดูที่การคำนวณต้นทุนของชานมไข่มุกกันก่อน ต่อแก้วโดยเฉลี่ยแล้วตกประมาณ 12-13 บาท (ต้นทุนเฉลี่ยของแต่ละร้านไม่เท่ากัน เป็นการยกต้นทุนโดยประมาณ) และเมื่อนำมาขายปลีกแก้วละ 30-35 บาท

นั่นหมายความว่ามีกำไรต่อแก้วประมาณ 50% จากราคาขาย ในส่วนของวิธีคิด รายได้ขึ้นอยู่กับกำไรต่อหน่วยคูณด้วยปริมาณที่จำหน่ายได้ค่า เช่น ชาไข่มุกขายแก้วละ 30 บาท เฉลี่ยแล้วกำไรจะอยู่ที่ 12 บาทต่อแก้ว

ส่วนว่ากำไรเฉลี่ยต่อวันจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละวันเราขายได้กี่แก้ว และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น

ชานมไข่มุกยุคนี้

เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เปิดแล้วไปไม่รอดอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องการ “ควบคุมต้นทุน” อย่างเดียว แต่การแข่งขันในตลาดชานมทุกวันนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยได้แก่

  • เทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ยิ่งมีกระแสโซเชี่ยลเป็นตัวกระตุ้น อะไรที่มาใหม่คนมักชอบมากเป็นพิเศษ ดังจะเห็นว่าร้านชานมไข่มุกเปิดใหม่มีเมนูไอเดียเจ๋งๆ มักขายดีมากในช่วงแรก
  • เป็นสินค้า Emotiona คือการบริโภคเพื่อกระตุ้นอารมณ์เช่นดื่มคลายเครียด ดื่มเพื่อให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย
  • ถ้าแบรนด์ไหนมีจุดเด่นทั้งในเรื่องรสชาติ ราคา และบริการ ก็มีโอกาสสร้างกำไรในระยะยาวได้
  • ตลาดออนไลน์มีผลต่อยอดขายมาก เพราะคู่แข่งเยอะ ลูกค้ามีตัวเลือกมาก จึงต้องเฟ้นหารูปแบบการตลาดที่เจาะกลุ่มลูกค้าได้มาก อย่ารอให้ลูกค้ามาหาเอง ซึ่ง Application Food Delivery เป็นอีกรูปแบบที่ควรนำมาใช้
  • ต้องพัฒนาสินค้าต่อเนื่อง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบความจำเจ ร้านชานมไข่มุกเองก็ควรมีเมนูที่แปลกใหม่ ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกอยากลอง เป็นการสร้างกระแสให้ร้านเป็นที่รู้จักได้อีกทางด้วย

ส่วนสาเหตุที่หลายคนเปิดร้านแล้ว “ทุนจม” ขายเท่าไหร่ก็ไม่รวยสักทีนอกเหนือจากปัจจัยการแข่งขันที่สูง อีกส่วนก็คือการบริหารจัดการร้านที่ต้องมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งถ้าเป็นการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์จะมีทีมงานที่คอยวิเคราะห์ในเรื่องเหล่านี้และหาวิธีแก้ปัญหาให้คนลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่หากเราไม่ได้ลงทุนแบบแฟรนไชส์ ก็อาจต้องมาวิเคราะห์ด้วยตัวเองว่า ทำไมยอดขายเราถึงตก เพราะมีคู่แข่งมากขึ้น หรือเพราะบริการ / สินค้าของเราไม่ดี

ชานมไข่มุกยุคนี้

ยิ่งรู้ปัญหาได้เร็วและแก้ไขได้อย่างตรงจุด ก็จะอุดรอยรั่วในการเปิดร้านชานมไข่มุก ที่จะทำให้เรามีกำไรได้ง่ายขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด หากใครคิดเข้ามาในตลาดชานมไข่มุกต้องยอมรับก่อนว่า “การแข่งขันสูงมาก” ถ้าเปิดร้านแล้วไม่มีการพัฒนาตัวเองให้ก้าวตามกระแสหรือเทรนด์ในโลกยุคใหม่ โอกาสเจ๊งจากธุรกิจนี้ก็มีสูงเช่นกัน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด