แฉ จริงมั้ย? เปิดร้านตัวเองขายดี พอทำแฟรนไชส์ไม่รอด

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดโดยเฉลี่ย 300,000 ล้านบาท มีแบรนด์แฟรนไชส์ทั่วประเทศรวมกว่า 622 แบรนด์ มีสาขารวมประมาณ 95,438 แห่ง โดยแฟรนไชส์ที่มีงบลงทุนระหว่าง 10,000 ถึง 50,000 บาท มีสัดส่วนร้อยละ 23.2 และกลุ่มใหญ่สุดคือแฟรนไชส์ที่มีเงินลงทุนไม่เกิน 100,000 บาท มีสัดส่วนร้อยละ 51.98 รวมถึงกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ใช้งบในการลงทุนตั้งมากกว่า 500,000 – 1 ล้าน ซึ่งก็มีให้เลือกได้ตามต้องการ

มองในภาพรวมว่าการทำธุรกิจให้เป็น “แฟรนไชส์” คือการขยายธุรกิจเติบโตได้เร็วมาก เนื่องจากเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ต้องลงทุนเอง แต่มีคนมาช่วยลงทุนให้ ในฐานะเจ้าของแฟรนไชส์ก็ให้ Knowhow และคอยดูแลแฟรนไชส์ซีในการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานให้เป็นไปตามที่กำหนด

แต่ในความเป็นจริงไม่ง่ายเหมือนในทฤษฏี การเปิดร้านตัวเองอาจจะขายดี แต่พอไปทำเป็นแฟรนไชส์บางทีก็ “ไม่รอด” มีหลายเหตุผลที่น่าสนใจ เช่น

1.เน้นจะขายแต่แฟรนไชส์อย่างเดียว

เปิดร้านตัวเองขายดี

แฟรนไชส์ที่ดีควรมีระบบการช่วยเหลือที่ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ปรึกษาด้านทำเล อบรมพนักงาน ช่วยวางแผนการบริหาร มีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และสามารถติดต่อได้เมื่อผู้ร่วมลงทุนเกิดปัญหาขึ้น แต่มีแฟรนไชส์จำนวนมากที่เอาแต่เน้นขายสิทธิ์ ขายแบรนด์ ขายอุปกรณ์และสูตร ทั้งขายขาดหรือขายไม่ขาดต้องจ่ายรอยัลตี้ฟีต่อเดือน แต่ไม่ได้มีระบบช่วยเหลือผู้ร่วมลงทุนที่ดีพอ ไม่มีการช่วยสำรวจทำเล ไม่มีการให้คำปรึกษาการขาย หรือร้ายที่สุดไม่มีคู่มืออะไรให้เลย อาจจะมีเทรนให้ 1-2 ครั้ง เท่านั้น แล้วจบกัน ที่เหลือให้ผู้ร่วมลงทุนไปบริหารจัดการเอาเองทั้งหมด แบบนี้ไม่น่าจะไปรอด

2.ยังไม่เคยมีประสบการณ์ “ขยายสาขา”

เปิดร้านตัวเองขายดี

เปิดร้านเองคือขายดีมาก เพราะเรารู้ต้นทุน รู้ปัญหา รู้ว่าต้องแก้ไขปัญหาแบบไหน แต่ตัวเองก็ยังไม่เคยขยายสาขาให้มากกว่า 1 แห่ง ทางที่ดีก่อนจะขายแฟรนไชส์ให้ใคร ก็ต้องลองขยายสาขาของตัวเองแล้วบริหารให้รอดก่อน เมื่อมีสาขามากขึ้น ย่อมต้องมีปัญหามากขึ้นเช่นกัน จะได้เป็นการฝึกวิธีแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเป็นคู่มือที่ใช้เพื่อขายแฟรนไชส์ในอนาคตได้

3.ความเข้าใจแบบผิดๆของคนที่ซื้อแฟรนไชส์

เปิดร้านตัวเองขายดี

การซื้อแฟรนไชส์คือการซื้อรูปแบบธุรกิจ พร้อมมีทีมงานมีระบบบริหารจัดการที่จะดูแลคนลงทุนได้ แต่คนซื้อที่ไม่เข้าใจอาจมองว่าฉันซื้อไปแล้วต้องขายดี มีกำไรได้เลย คำแรกที่คนซื้อแฟรนไชส์ควรรู้คือ “ระยะเวลาคืนทุน” (Payback Period) ซึ่งคือ ระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เราลงทุนเปิดร้านหรือทำธุรกิจ จนถึงวันที่เราได้ผลตอบแทน หรือได้กำไรคืนเท่ากับเงินที่ลงทุนไปตอนแรก ดังนั้นจึงต้องมีระยะเวลารอคอย ที่แฟรนไชส์ซอต้องอธิบายให้คนลงทุนได้เข้าใจภาพรวมตรงกันด้วย

4.มาตรฐานของร้านที่ไม่เหมือนเดิม

เปิดร้านตัวเองขายดี

ตอนเปิดร้านตัวเอง ทำเมนูไหนก็อร่อย ลูกค้าก็ชอบ แต่พอขายแฟรนไชส์ปัญหาที่เจอส่วนมากคือ “สาขานี้ไม่อร่อย” “รสชาติไม่เหมือนกันเลย” หรือแม้แต่ในเรื่องบริการที่ยิ่งมีหลายสาขาก็ยิ่งควบคุมได้ยาก ซึ่งการวางระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพนี้สำคัญมาก บางแฟรนไชส์มีการจ้างผู้จัดการเขตเข้ามาดูแลควบคุมมาตรฐานในแต่ละพื้นที่เพื่อลดปัญหาที่อาจกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้าได้

5.ไม่พัฒนาธุรกิจให้แข่งขันกับคู่แข่งได้

เปิดร้านตัวเองขายดี

สมัยนี้กระแสธุรกิจเปลี่ยนไปไวมาก อะไรที่เคยฮิตอะไรที่เคยเป็นกระแส อะไรที่เคยขายดี ผู้คนอาจลืมได้อย่างรวดเร็วเมื่อเจออะไรที่ใหม่กว่า ดีกว่า บางแฟรนไชส์ขายแล้วขายเลย ไม่ได้พัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น คนที่ซื้อไปลงทุนก็เหมือนว่าซื้อธุรกิจนี้มาแล้วโดนทอดทิ้ง ไม่มีการส่งเสริมด้านการตลาดใหม่ๆ นานวันเข้าก็ยิ่งโดนคู่แข่งแซงหน้าสุดท้ายก็เป็นแฟรนไชส์ที่ทำแล้วไม่รอด

ถ้าถามว่าธุรกิจที่ขายดีแล้วพอไปทำเป็นแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ไม่รอดจริงมั้ย! ก็คงตอบตรงนี้ก่อนว่า “ไม่จริง” เพราะก็มีหลายแบรนด์ที่เขาขายดีและพอไปทำแฟรนไชส์ก็ขายดีเช่นกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการบริหารจัดการ การวางระบบแฟรนไชส์ แนวคิด วิสัยทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนทำธุรกิจใดให้เป็นแฟรนไชส์มีสิ่งสำคัญที่ควรทำคือ

  • สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • จดทะเบียนแฟรนไชส์
  • การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
  • จัดทำสัญญาแฟรนไชส์

สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนไกด์ไลน์ที่ทำให้แฟรนไชส์ซีได้รู้สึกว่ามีแนวทางที่จะไปต่อได้อย่างถูกต้อง เหนือสิ่งอื่นใด บรรดาแฟรนไชส์ซอร์ต้องมีการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวตามกระแสยุคใหม่ได้เสมอ อะไรก็ตามที่ลงทุนแล้วดี ลงทุนแล้วมีกำไร ก็จะยิ่งทำให้คนอยากลงทุนเพิ่มทั้งขยายสาขาตัวเอง หรือบอกต่อให้คนอื่นมาร่วมลงทุน สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มต้นจากโครงสร้างที่ดีในการวางระบบแฟรนไชส์ทั้งสิ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด