เทรนด์การตลาดดิจิทัล ปี 2023 “เจ้าของแบรนด์-นักการตลาด” ต้องทำคอนเทนต์ที่ตัวเองเชี่ยวชาญ-สั้น-เรียล-ตรงใจลูกค้า-รักษ์โลก

เทรนด์การตลาดดิจิทัล ในปี 2022 เราจะเห็นได้ว่ามีเครื่องมือการตลาดใหม่ๆ มาช่วยให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าในช่วงที่ผ่านมา เจ้าของแบรนด์ เจ้าของธุรกิจ นักการตลาด หรือผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ

ทั้งการระบาดโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้สินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ของตัวเองเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงการวางกลยุทธ์การตลาดให้ตอบโจทย์มากที่สุด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอเทรนด์การตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2023 จากการสัมภาษณ์ “คุณเก่ง-สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม” CEO & Founder บริษัท rgb72 และผู้จัดงาน Creative Talk Conference ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลและธุรกิจที่มีประสบการณ์ยาวนาน มาดูกันว่าจะปรับใช้กับธุรกิจของเราได้อย่างไรบ้าง

เทรนด์การตลาดดิจิทัล

คุณเก่ง-สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO & Founder บริษัท rgb72 และผู้จัดงาน Creative Talk Conference เปิดเผยถึงเทรนด์การตลาดและเทคโนโลยีดิจิทัลในปี 2023 ว่า เรื่องของการทำการตลาดจะมีความเข้มข้นมากขึ้น

เพราะการทำการตลาดในยุคนี้สามารถวัดผลได้อย่างเรียลไทม์ เวลาเราโปรโมทสินค้าออกไปจะได้รับผลอย่างชัดเจน ดังนั้น นักการตลาดจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ให้มากๆ ซึ่งการทำตลาดในยุคนี้จะต้องสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน เพราะจะสามารถช่วยให้เราได้เปรียบคู่แข่งขันในตลาดได้ โดยเทรนด์การตลาดดิจิทัลที่จะมาแรงในปี 2023 ได้แก่

1.การทำวิดีโอสั้น หรือ Short Clip

เราสามารถที่จะขายของผ่านคลิปวิดีโอสั้นๆ 1 นาทีได้เลย โดยแพลตฟอร์มที่กำลังร้อนแรงมากๆ ก็คือ TikTok ถ้าแบรนด์ไหนหรือใครที่กำลังขายของอยู่ หากยังไม่ได้ลง TikTok ถือว่าช้า ส่วนอีกแพลตฟอร์มที่มาแรงไม่แพ้กัน ก็คือ Youtube Short เป็นคลิปวิดีโอสั้น 1 นาทีเช่นเดียวกัน ปัจจุบันหลายๆ แบรนด์หันมาขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวมากขึ้น เพราะผู้บริโภคหันมาสนใจซื้อสินค้าผ่านคลิปวิดีโอสั้น หรือ Live สดมากขึ้น

2.Customization

ปัจจุบันเรามีแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในการทำการตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok, Reels, Youtube หรือ Shorts แต่ละแพลตฟอร์มจะมีรูปแบบการทำตลาดแตกต่างกัน และมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละแพลตฟอร์ม เจ้าของแบรนด์ควรทำคอนเทนต์ตามรูปแบบของแพลตฟอร์มนั้นๆ อย่าทำคอนเทนต์เดียวแล้วนำไปแปะหรือใส่ในทุกแพลตฟอร์มจะไม่ประสบความสำเร็จ บางครั้งอาจทำให้เจ้าของแบรนด์เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

3.Personal Life หรือ การคัดเลือกสินค้าให้ตรงความต้องการของลูกค้า

เทรนด์ของการคัดสรรสินค้าที่ดีที่สุดและเหมาะที่สุดสำหรับลูกค้าเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจ เราอาจจะเป็นคนรับซื้อสินค้ามาขาย หรือเป็นคนรีวิวสินค้า แต่การคัดเลือกสินค้าที่ดีสำหรับลูกค้าถือเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพราะว่าในปัจจุบันมีสินค้าในท้องตลาดมากมายทำให้ลูกค้าไม่มีเวลามานั่งเลือกสินค้าเอง หากเราเป็นแบรนด์ที่คัดสรรสินค้าที่ดีเหมาะกับลูกค้า ก็จะทำให้ลูกค้าไว้ใจใช้บริการของเราไปเรื่อยๆ

4.Real

พอเราคัดเลือกสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า สินค้าต้องดีจริง ไม่ย้อมแมวขาย ไม่หลอกลวงลูกค้า สินค้าดีต้องบอกดี ต้องจริงใจกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายคลิป หรือ Live ต้อง Real แสดงออกถึงความจริงใจกับลูกค้า

5.Second Party Data

เป็นข้อมูลที่เราได้มาจากคู่ค้า พาร์ทเนอร์ ซัพพลายเออร์ หรือเอเจนซี่ต่างๆ ถือเป็นการต่อยอดจากกระแสการเก็บและใช้ first-party data เพราะ first-party data ของคนอื่น เมื่อได้มา มันคือ second-party data ของเรา การนำ second-party data มาใช้นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในยุคที่นักการตลาดดิจิทัลต้องการความแม่นยำของการเข้าหากลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ซึ่งการเก็บ first-party data ของตัวเองอาจมีไม่มากพอ จึงทำให้นักการตลาดเริ่มหันไปใช้ second-party data มากขึ้น เพราะมีจุดเด่นคือช่วยให้เราได้รู้ถึง insight ใหม่ ๆ ของผู้บริโภคแบรนด์อื่นๆ นอกจากนั้นข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมา ยังเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Personalized Marketing ให้ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

6.Sustainability หรือความยั่งยืน

คนรุ่นใหม่จะมองไปที่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม คนรุ่นใหม่มองว่าถ้าสิ่งแวดล้อมหรือโลกโดนทำลายไป แม้มีเงินก็ไม่สามารถซื้อกลับคืนมาได้ ดังนั้น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าถึงใจคนรุ่นใหม่จะต้องรักษ์โลก อีกทั้งยังส่งผลให้ธุรกิจของเราดูดีมีภาพลักษณ์ที่ดีด้วย

สำหรับ Content ในการทำการตลาดดิจิทัลที่จะทำให้ผู้บริโภคและผู้คนสนใจติดตามในช่วงปี 2023 คุณเก่ง-สิทธิพงศ์ เปิดเผยว่า ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่าสนใจหรือถนัดเรื่องอะไร กลุ่มลูกค้าของเราเป็นใคร

ซึ่งโดยทั่วไป Content ที่คนสนใจอยู่แล้ว ก็คือ ขายของ และข้อมูลสาระ แต่เราจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและถนัดในเรื่องนั้นๆ แต่ที่อยากแนะนำ ก็คือ หากทำ Content ด้านไหนอยู่แล้ว ก็ควรที่จะทำ Content นั้นโดยเฉพาะ อย่าทำ Content สะเปะสะปะ สมมติว่าคุณทำ Content เกี่ยวกับเทรนด์การตลาด ก็ควรที่จะพูดเรื่องการตลาดอย่างเดียว อย่าไปสะเปะสะปะจะทำให้ลูกค้าสับสน

นั่นคือ เทรนด์การตลาดดิจิทัล และเทคโนโลยีในปี 2023 ที่เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดจะต้องเตรียมตัวรับมือ และนำเสนอคอนเทนต์ด้านการตลาดดิจิทัลให้ถูกต้องและตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากที่สุด

ติดตามความเคลื่อนไหวด้านการตลาดและกลยุทธ์ธุรกิจ https://www.facebook.com/GengSittipong

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iYooEQ


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช