7 วิธีเพิ่มรายได้! สวนกระแส “ต้นทุนแพง”

ต้นปี 2566 สิ่งที่เราต้องรับมือกันอย่างแรกคือปัญหาค่าครองชีพที่แพง ยิ่งดูตัวเลขยิ่งน่าตกใจพบว่าครัวเรือนไทยเกือบครึ่งมีรายได้น้อยกว่าค่าครองชีพเฉลี่ย เพราะกว่า 40% มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 16,852 บาท น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนพฤศจิกายนที่ 18,146 บาท และยังพบว่ากลุ่มที่เรียกว่ารายได้น้อยสุดคือมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 11,135 บาท สำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 22,106 บาท

ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับรายจ่ายเฉลี่ยทำให้มองเห็นภาพว่าแทบไม่มีเหลือเก็บ แค่ใช้ประทังชีวิตไปแต่ละเดือนก็ยังแทบไม่พอ ปัญหานี้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ เพราะเมื่อประชาชนไม่มีกำลังซื้อ คนทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวมากขึ้นด้วย

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายคนคงกลุ้มใจไม่น้อยทั้งกำลังซื้อที่หดหาย ต้นทุนแพง ต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ไม่อาจรอคอยให้ใครมาช่วยได้นอกจากต้องพยายามช่วยตัวเองจนสุดความสามารถเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ลองรวบรวมแนวทางที่พอจะเป็นไปได้ให้คนทำธุรกิจลองนำไปปรับใช้ในการเพิ่มรายได้สวนกระแส ต้นทุนแพง ขึ้น

1.อัพเกรดสินค้าให้ดูเด่นกว่าคู่แข่ง

ต้นทุนแพง

เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านที่น่าสนใจมากที่สุดเท่านั้น วิธีเพิ่มรายได้ในยุค ต้นทุนแพง ที่น่าสนใจคือทำสินค้าเราให้ดูโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราต้องเพิ่มต้นทุนเข้าไปเพราะหากเป็นเช่นนั้นราคาสินค้าเราอาจแพงจนไม่น่าสนใจ แต่การทำสินค้าให้เด่นมีหลายอย่างทั้งการโฆษณา , การจัดโปรโมชั่น ต่างๆ เป็นต้น

2.พัฒนาให้สินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของลูกค้า

ต้นทุนแพง

การที่สินค้าราคาแพง คนอาจหลีกเลี่ยงไม่ซื้อ นั่นเพราะเขามองว่าสินค้านั้นยังไม่จำเป็น แต่หากเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องซื้อ ต้องให้ ต้องมี ต่อให้มีราคาแพง ยังไงก็ต้องซื้อ ในหมวดหมู่ของอาหารอาจจะให้วิธีนี้ได้ยาก แต่ก็สามารถทำได้ เช่นการทำเมนูเน้นสุขภาพที่ทำให้คนรักสุขภาพมองว่าแม้จะราคาแพงแต่ถ้าแลกมากับสุขภาพที่ดี ก็คุ้มค่าที่จะจ่ายเงิน เป็นต้น

3.ใช้วิธีคำนวณต้นทุนให้สอดคล้องกับราคาตลาด

เมื่อต้นทุนทุกอย่างแพง อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นบ้าง แต่การขึ้นราคานี้ต้องสมเหตุสมผลในระดับที่เราอยู่ได้ คนซื้อยังซื้อไหว จึงต้องคำนวณราคาต้นทุนต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ เช่นค่าวัตถุดิบ , ค่าจ้างพนักงาน , ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น การขยับราคาต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง ไม่ใช่การฉกฉวยขึ้นราคาแบบไม่มีเหตุผล จะทำให้ลูกค้าลดน้อยลงได้

4.เพิ่มการขายในช่องทางออนไลน์

ต้นทุนแพง

ข้อดีของการขายในช่องทางออนไลน์คือต้นทุนการบริหารจัดการที่ลดลง ดูจากตอนที่เกิดวิกฤติโควิด หลายคนตัดสินใจเลิกเปิดหน้าร้านและหันมาทำ Home Kitchen แทน และสามารถประหยัดต้นทุนได้มาก เพราะไม่ต้องมีค่าเช่าสถานที่ , ค่าจ้างพนักงานทำให้นำต้นทุนที่ลดลงนี้มาถัวเฉลี่ยกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นได้ ราคาสินค้าที่ขายก็อาจจะไม่ต้องปรับตัวสูงมากเกินไปด้วย

5.เพิ่มยอดขายในทุกช่องทางโซเชี่ยล

ต้นทุนแพง

เมื่อต้นทุนสินค้ามีราคาแพง สิ่งที่ตามมาคือยอดขายที่ลดลงเพราะคนต้องประหยัดในการจับจ่าย ดังนั้นวิธีการเพิ่มรายได้ของผู้ประกอบการคือการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดในทุกช่องทางโซเชี่ยล เพราะนี่คือข้อดีของยุคนี้ที่การตลาดออนไลน์เหล่านี้แทบจะไม่มีต้นทุน (ถ้าไม่ซื้อโฆษณา) และหากเป็นคนที่มีไอเดียในการขายที่ดีจะยิ่งทำให้การเข้าถึงสินค้าของลูกค้ามีมากขึ้น สร้างรายได้ชดเชยกับลูกค้าบางคนที่อาจหายไปเนื่องจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น

6.ลดแลก แจกแถมบ้างในบางโอกาส

ต้นทุนที่แพงขึ้น ราคาสินค้าที่ต้องปรับขึ้น ในมุมของคนซื้อย่อมต้องการสินค้าที่คุ้มค่า ดังนั้นผู้ประกอบการอาจมีเทคนิคง่ายๆ ในการรักษาฐานลูกค้าให้คงอยู่ต่อไปด้วยการลดแลก แจกแถมในบางโอกาส เช่นข้าวราดแกงที่ราคาแพงขึ้น อาจแถมไข่ดาวให้ในบางครั้ง หรือร้านข้าวเหนียวหมูทอด ไก่ทอด ราคาที่ปรับตัวขึ้นเจ้าของร้านอาจเพิ่มหมูให้ลูกค้าประจำสักชิ้นสองชิ้น เป็นต้น แน่นอนว่าลูกค้าจะประทับใจและรู้สึกว่าไม่ถูกเอาเปรียบจนเกินไป

7.ปรับราคาสินค้าลดลง เมื่อต้นทุนสินค้าถูกลง

ต้นทุนแพง

ปัญหาที่เคยได้ยินส่วนใหญ่คือเมื่อต้นทุนแพงก็ปรับราคาสินค้าแพง แต่พอต้นทุนถูกราคาสินค้าไม่ปรับลง เรื่องแบบนี้จะทำให้เรามีโอกาสเสียลูกค้าได้มาก ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้นทุนเมื่อปรับลดลงก็ควรปรับราคาสินค้าให้ลดลงตาม เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพอใจ เป็นการรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับเราไปนานๆ ได้ด้วย

ทั้งนี้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่แพง กำลังซื้อที่หดหาย อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ต้องเผชิญกันอีกนาน ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงยิ่งกว่าตอนนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการวางแผนรับมือ การเตรียมความพร้อม การหาแผนสำรองในกรณีฉุกเฉินต่างๆ และต้องไม่ลืมเรื่องของเทคโนโลยีที่นับแต่นี้จะเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจมากยิ่งขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qSlWzu , https://bit.ly/3sZjxWA , https://bit.ly/3mY1En8 , https://bit.ly/3mWMCOF

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3H1Gc9T


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187 ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด