Paris Baguette แฟรนไชส์ขนมปังเกาหลี ทุ่มงบขยายสาขาตลาดอเมริกา

ตลาดเบเกอรี่เมืองไทยในรอบ 7 ปีที่ผ่านมาถือว่ามีการเติบโตได้ดีพอสมควรเฉลี่ยแล้วอัตราการเติบโตต่อปีประมาณ 7.6% ยิ่งผนวกกับการที่คนเราเริ่มใช้ชีวิตแบบเร่งรีบกันมากขึ้นก็ทำให้สินค้าอย่างขนมปัง เบเกอรี่ กลายเป็นมื้อเช้าที่กินง่ายทานง่ายแม้คนไทยจะได้ชื่อว่านิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักก็ตาม

อย่างไรก็ดีจากข้อมูลในภาพรวมแล้วการบริโภคขนมปังของคนไทยก็ยังถือว่าเป็นรองต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยเรารับประทานขนมปังกันเพียงปีละ 2-3 กก.เท่านั้น หากเทียบกับญี่ปุ่นที่ทานเฉลี่ย 10-15 กก./ปี หรือที่รัสเซียบริโภคมากถึง 80-90 กก./ปี มูลค่าของตลาดเบเกอรี่ในบ้านเราแม้จะเติบโตได้มากขึ้นกว่าในอดีตเมื่อปีที่ผ่านมาก็มีมูลค่า 22,3000 ร้าน แต่ตามเนื้อผ้าจริงๆถือว่ายังเติบโตไม่เต็มกำลังและยังมีส่วนแบ่งการตลาดที่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกมากหากคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคขนมปังมากขึ้น

ด้วยข้อมูลที่ www.ThaiSMEsCenter.com ได้นำเสนอให้เห็นนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในช่วงที่ผ่านมาเบเกอรี่จากต่างประเทศบางแบรนด์ถึงเข้ามาลงทุนเมืองไทย ในขณะที่บางแบรนด์เลือกเบนเข็มไปประเทศอื่นที่เขาให้เหตุผลว่า มีความน่าสนใจกว่าการขยายตลาดในเมืองไทย

มีแบรนด์อะไรบ้างที่เข้ามาเปิดตลาดเมืองไทย

แฟรนไชส์ขนมปังเกาหลี
ภาพจาก goo.gl/Gmu7D3 , https://web.facebook.com/MaisonLaduree/

เริ่มจาก Ladurée แบรนด์มาการองสุดหรูจากฝรั่งเศสที่มาเปิดสาขาที่สยามพารากอน แบรนด์นี้คงเอกลักษณ์ของมาการองที่ทำให้คนติดใจในสีสันและรสชาติเกรดพรีเมี่ยมแน่นอนว่าเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนได้ดีทีเดียว หรือจะแบรนด์ฝรั่งเศสอีกสักอันกับ PAUL เบเกอรี่ที่ว่ากันว่าอายุเก่าแก่กว่า 120 ปี

เบเกอรี่สไตล์ฝรั่งเศสของแบรนด์นี้เช่น Millefeuille Fraises, Canelé แต่ถ้าหากเรายังไม่คุ้นหูกันนักกับเบเกอรี่จากฝรั่งเศสมาที่ร้านเบเกอรี่จากอเมริกาก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันอย่าง Chikalicious ร้านขนมชื่อดังที่มาจากนิวยอร์ค เมนูเด่นอย่างขนมลูกผสมระหว่างครัวซองต์กับโดนัทถือว่าเป็นทีเด็ดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง พร้อมกันนี้ก็ยังมีเบเกอรี่จากอีกหลากหลายชาติที่เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดไม่ว่าจะเป็นสัญชาติสวิสเซอร์แลน ญี่ปุ่น รวมถึงจากสิงคโปร์เองด้วย

0656232322300

ภาพจาก https://web.facebook.com/MaisonLaduree/

อย่างไรก็ตามแม้การแข่งขันในธุรกิจเบเกอรี่ของประเทศไทยจะดูดีมีทิศทางที่สวยงามและมีการคาดการณ์ว่ายังเติบโตได้อีกมาก แต่ปัญหาก็คือการคำนวณที่ว่านั้น อาจเป็นระยะยาวที่ไม่ใช่ในเวลาอันสั้นของการทำกำไรแบบเห็นผล ยิ่งเป็นการลงทุนกับแฟรนไชส์จากต่างประเทศที่ว่ากันว่าใช้เม็ดเงินเกินกว่า หลักล้านก็ย่อมทำให้มีแต่ผู้นำเข้ารายใหญ่เท่านั้นที่จะเล่นเรื่องนี้ได้

มองในอีกทิศทางหนึ่งก็เป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์เบเกอรี่เมืองไทยเองที่อาจจะสอดแทรกตัวเองขึ้นมาได้มากขึ้นโดยอาศัยความเข้าใจในวิถีชีวิต ของคนไทยเป็นจุดแข็งในการคิดทำสินค้าให้ถูกปากรวมถึงการพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ให้สอดคล้องกับการลงทุนที่แท้จริง ซึ่งก็มีพอมีความหวังอยู่ได้มากทีเดียว

Paris Baguette แฟรนไชส์ขนมปังเกาหลี ก็ขอทุ่มเทให้ตลาดอเมริกา

.0623325656232

ภาพจาก https://web.facebook.com/parisbaguetteus/

ร้านขนมปังที่มีโลโก้สีน้ำเงินแบบนี้ ไม่มีใครไม่รู้จัก PARIS BAGUETTE ร้านเบเกอรี่นี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี 1945 และมีการพัฒนาเรื่องสินค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกลายเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกซึ่ง จะมีสองแบบ คือแบบเป็นร้านที่ไว้ซื้อกลับอย่างเดียว กับร้านที่เป็นคาเฟ่ให้นั่ง หากอยากนั่งกินขนมจิบเครื่องดื่มในร้าน ให้มองหาคำว่า Cafe ที่ชื่อร้านด้วย ส่วนขนมปังก็มีให้เลือกมากมาย รวมถึงมีแซนวิช พาย วาฟเฟิล เครื่องดื่ม และอื่นๆ

ปัจจุบัน Paris Baguette เป็นร้านเบเกอรี่ภายใต้การบริหารงานของ SPC Group ยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ที่เคยสร้างกระแสดึงเอาแฟรนไชส์เบอร์เกอร์ชั้นนำจากอเมริกาอย่าง Shake Shack มาเปิดบริการในเกาหลีใต้เกิดเป็นกระแสตอบรับอย่างถล่มทลายในขณะนั้น

ส่วนทางด้านเบเกอรี่ Shake Shack ที่ Hur Young-in ประธานของ SPC Group กล่าวว่าการเข้าไปขยายสาขาในสหรัฐอเมริกาถือเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ตามแผนการขยายสาขาไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งน่าจะเพิ่มยอดขายจากในแดนมะกันที่ปีก่อนทำได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,300 ล้านบาท) ได้ไม่ยาก

0032322332565223233232
ภาพจาก https://web.facebook.com/parisbaguetteus/

ทั้งนี้แผนการตลาดของ Paris Baguette เองยังมีแผนการเติบโตในตลาดอเมริกาอย่างเต็มตัวจากปัจจุบันที่มีอยู่ 57 สาขาก็ตั้งเป้าไว้จะเพิ่มให้ถึง 300 สาขา ภายในปี 2563 แน่นอนว่าการขยายสาขาที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ก็สนองกับนโยบายภาครัฐของอเมริกาโดยที่ต้องการให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นของ Paris Baguette นี้ก็คาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตำแหน่งเลยทีเดียว

คำถามก็คือว่าแล้ว Paris Baguette ทำไมยังไม่คิดเจาะตลาดเมืองไทยบ้างทั้งที่แบรนด์เบเกอรี่ชั้นนำก็มาตั้งฐานในเมืองไทยมากมายอีกทั้งทิศทางการเติบโตก็มีแนวโน้มสดใสเรื่องนี้ก็คงต้องบอกว่าเป็นวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหาร SPC Group ที่ความจริงสาขาของ Paris Baguette ก็มีในหลายประเทศแถบเอเชียไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้, จีน, เวียดนาม, สิงคโปร์ ในโซนยุโรปก็มีที่ฝรั่งเศสและ

รวมถึงตลาดใหญ่ที่ SPC Group มองไว้คือตลาดอเมริกานับถึงตอนนี้สาขาของ Paris Baguette รวมทุกประเทศมีกว่า 3,500 แห่ง แล้วการวางตำแหน่งสินค้าของตัวเองคือเกรดพรีเมี่ยม ที่เน้นวัตถุดิบอย่างดี

06232256232232
ภาพจาก https://web.facebook.com/parisbaguetteus/

ซึ่งในยามที่บ้านเราเอง ณ ตอนนี้เศรษฐกิจยังไมฟื้นตัวดีนัก กำลังการซื้อของคนไทยยังไม่กลับคืนมา ก็อาจเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมถึงเลือกเซย์โนเมืองไทยแล้วไปทุ่มทุนตลาดอเมริกาที่มีความหลากหลายมากกว่า รวมถึงการทำตลาดในแบบ On-the-Go เมืองไทยก็ยังไม่อยู่ในระยะเริ่มต้น ถ้ามีการพัฒนาตลาดนี้ดีๆ ในอนาคต Paris Baguette ก็คงอยากจะมาแชร์การตลาดของเบเกอรี่เมืองไทยเช่นกัน

ความเป็นจริงเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกอะไรนักเป็นแค่แนวทางธุรกิจที่แต่ละแบรนด์จะวางแผนอย่างไรก็ได้ เพราะทุกวันเบเกอรี่เมืองไทยก็แทบจะเกิดขึ้นรายวันเหมือนกันเพียงแต่แบรนด์อาจจะไม่ดังและเป็นที่รู้จักมากนัก มองในด้านดีที่แบรนด์ใหญ่ยังลุกตลาดเราไม่มากโอกาสเกิดของรายย่อยก็มีมากขึ้นก็เป็นผลดีในอีกรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม

ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/c69GD5

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39TEIja

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด