พาณิชย์ฯ เผยโควิด-19 ทำธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเสียหาย 9 หมื่นล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจเฟรสไชส์ไทยกว่า 90,000 ล้านบาท โดยเฉพาะแฟรนไชส์กลุ่มท่องเที่ยว สปา ความงาม การศึกษา อาหาร กระทบมากสุด

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อธุุรกิจแฟรนไชส์จำนวนมาก ทั้งกระทบด้านรายได้ และกระแสเงินสดหมุนเวียนที่ลดลง โดยผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนและค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่า ค่าดอกเบี้ย ค่าจ้าง ในขณะที่ยอดขายและรายได้ลดลง

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แฟรนไชส์กลุ่มธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมท่องเที่ยว กลุ่มความงามและสปา การศึกษา กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ กลุ่มค้าปลีก ร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านขายยา เพราะในช่วงการระบาดโควิด-19 แฟรนไชส์กลุ่มนี้ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

สำหรับภาพรวมความเสียหาย พบว่า ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา จากตลาดธุรกิจเฟรนไชส์เดิมมีมูลค่ารวมกว่า 3 แสนล้านบาท แต่พอเกิดวิกฤตโควิด-19 ได้รับผลกระทบทำให้มูลค่าตลาดลดลงกว่า 30 % หรือ 9 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มแฟรนไชส์สปา ความงาม และการศึกษา ต้องได้รับผลกระทบ 100% ในช่วงมาตรการคุมเข้ม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในห้างสรรพสินค้า ได้รับผลกระทบกว่า70-80 % ในส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ค้าปลีก ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ประมาณ 30-50 %

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเฟรนไชส์ไทยได้พัฒนาธุรกิจของตนผ่านช่องทางออนไลน์ โฆษณาประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ บริการจัดส่งเดลิเวอรี่ เพิ่มระบบชำระเงินแบบไร้เงินสด การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ทั้งนี้ กรมฯ ได้มีแผนฟื้นฟูธุรกิจเฟรนไชส์ภายใต้แนวคิด สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ ทั้งให้ความรู้ การปรับตัวรองรับการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่

โดยที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการเตรียมแผนรองรับ และ แผนฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจะใช้โมเดล “แฟรนไชส์” มาช่วยบรรเทาความเดือดร้อน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มช่องทางทำมาหากินให้แก่ประชาชน โดยจะเน้นแฟรนไชส์ขนาดไม่ใหญ่ สามารถประกอบเป็นอาชีพได้ทันที เช่น ข้าวขาหมู ก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ ลูกชิ้นทอด ข้าวเหนียวหมูปิ้ง กาแฟโบราณ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาชีพให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เบื้องต้นได้กำหนดแนวทางเพื่อช่วยเหลือไว้ 2 แนวทาง คือ

  1. การจ้างงานเข้าสู่ระบบแฟรนไชน์ของเจ้าของแฟรนไชส์
  2. เป็นเจ้าของกิจการเองโดยเลือกลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาประกอบเป็นอาชีพ

นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้ประสานไปยังสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ เพื่อขอความร่วมมือจากเจ้าของแฟรนไชส์จ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบ เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์และลดค่าธรรมเนียมแรกเข้าสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุน รวมทั้งหารือกับสถาบันการเงิน

โดยเฉพาะสถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อให้สินเชื่อดอกเบี้ยอัตราพิเศษแก่ผู้ที่ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ เน้นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว รวมถึงผู้กู้สามารถชำระคืนเงินต้นได้แบบสบายๆ ไม่กดดัน

42

สำหรับผู้ที่สนใจเลือกแฟรนไชส์ไปประกอบอาชีพแล้ว แต่ยังไม่มีทำเลหรือสถานที่ขายสินค้า กรมฯ เตรียมประสานงานกับสถานีให้บริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า และคอนวีเนียนสโตร์ขนาดใหญ่

ในการจัดหาพื้นที่ขายสินค้าให้ โดยรายละเอียดการจัดสรรพื้นที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมของสินค้าแต่ละประเภท ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เลือกซื้อแฟรนไชส์

41

นอกจากนี้ กรมฯ พร้อมให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ และเป็นตัวกลางประสานเจ้าของกิจการในการเจรจาธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ สามารถเลือกซื้อแฟรนไชส์ไปประกอบเป็นอาชีพได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

โดยกรมฯ จะคัดเลือกแฟรนไชส์ที่ผ่านการส่งเสริมจากกรมฯ และมีเงินลงทุนไม่มาก ตั้งแต่ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท มาให้ผู้ที่สนใจลงทุนในระบบแฟรนไชส์แต่มีเงินไม่มากสามารถเลือกลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการได้

40

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมและผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ (Franchise Standard) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และยังคงดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จำนวน 334 ราย แบ่งตามประเภทธุรกิจ

ดังนี้ ธุรกิจอาหาร จำนวน 157 ราย ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 65 ราย ธุรกิจการศึกษา จำนวน 43 ราย ธุรกิจบริการ จำนวน 36 ราย ธุรกิจความงามและสปา จำนวน 15 ราย และธุรกิจค้าปลีก จำนวน 18 ราย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2WvXwO6

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต