MIXUE vs Ai-cha แฟรนไชส์ไอศกรีมและชา กระแสแรงในไทย

หากเอ่ยถึงร้านที่เป็นกระแสอย่างมากในประเทศตอนนี้ คงหนีไม่พ้น MIXUE (มี่เสวี่ย) แฟรนไชส์ร้านไอศกรีมและชานมจากจีน เอกลักษณ์ร้านสีแดง มาสค็อตเป็น “Snow King” มีเมนูหลากหลาย ราคาถูก ครองใจลูกค้าคนไทยอย่างรวดเร็ว

แต่รู้หรือไม่นอกจากร้านไอศกรีม MIXUE แล้ว ยังมีอีกร้านหนึ่งที่คนพูดถึงกันมาก คือ Ai-CHA แฟรนไชส์ร้านไอศกรีมและชานมที่ได้รับความนิยมจากอินโดนีเซีย เอกลักษณ์ร้านสีแดง มาสค็อตเป็นนกเพนกวิ้น ราคาขายไอศกรีมโคนเริ่มต้น 15 บาทเหมือนกัน เรียกได้ว่าแทบจะเป็นร้านคู่แฝดกัน เรื่องราวของทั้ง 2 แบรนด์ มีความน่าสนใจอย่างไร มาดูกันเลย

MIXUE (มี่เสวี่ย)

MIXUE มีจุดเริ่มต้นจากร้านขายน้ำแข็งไสในปี 1997 (2540) โดยคุณจาง หงเซา มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน โดยตอนนั้นเขายังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ตัดสินใจลงทุนเปิดร้านด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นราวๆ 4,000 หยวน ขายสินค้าหลักๆ เช่น น้ำแข็งใส ไอศกรีม และสมูทตี้ ก่อนจะเพิ่มเมนูขายขานมไข่มุก

ต่อเปลี่ยนชื่อร้านเป็น MIXUE BINGCHENG หรือ มี่เสวี่ยปิงเฉิง แปลเป็นไทย “ปราสาทน้ำแข็งสร้างด้วยหิมะสูง” เริ่มขายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ราคา 2 หยวน หรือ 10 บาท ถูกกว่าเจ้าอื่นในตลาดที่ขายกัน 10 หยวน หรือราวๆ 50 บาท จนธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การขายแฟรนไชส์ในปี 2007 ก่อนขยายออกต่างประเทศในปี 2018

อาทิ เวียดนาม ลาว ไทย กัมพูชา มาเลเซีย ฮาวาย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ปัจจุบัน MIXUE มีจำนวนสาขากว่า 25,000 แห่งในจีน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 3,000 แห่ง เรียกได้ว่าเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจาก Mcdonald, Subway, Starbucks และ KFC



MIXUE เข้ามาเปิดตลาดในไทยเดือน ก.ย. 2565 ภายใต้การบริหารของ บริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่ซอยรามคำแหง 53 ขยายสาขาตามทำเลย่านมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ปัจจุบันมีเกือบ 20 สาขา

หลังจากครบ 1 ปีในการเปิดตลาดในไทย ถือเป็นร้านไอศกรีมและชาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเสนอเมนูหลากหลาย ราคาถูกเริ่มต้น 15-50 บาท ทำให้มีคนสนใจลงทุนแฟรนไชส์จำนวนมาก เพราะเป็นร้านที่ครองใจกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ วัยรุ่น นักศึกษา

ตั้งเป้าใน 3 ปี ขยายสาขาแฟรนไชส์ 2,000 สาขา วางแผนรับสมัครพนักงานมากกว่า 10,000 คนในไทย สำหรับจุดเด่นร้านไอศกรีมชื่อดังจากจีนทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เป็นไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟวาฟเฟิลโคนใหญ่ๆ รสชาติอร่อยเหมือนกับนมอัดเม็ด

มีเครื่องดื่มชานมไข่มุกและชาผลไม้อีกมากมาย ราคาน่ารักๆ เริ่มต้น 15-50 บาทเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำเลม่อนแก้วใหญ่ๆ ราคาแค่ 20 บาท, ชาพีชใส่เนื้อผลไม้เต็มๆ แก้วละ 45 บาท, ชานมไข่มุกแก้วละ 40 บาท

ภาพจาก facebook.com/mixuethailand

อยากเปิดร้าน MIXUE ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่?

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี
  • ค่าการจัดการ 25,000บาท/ปี
  • ค่าการฝึกอบรม 10,000 บาท/ปี
  • ค่าค่ำประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าการติดตั้งและตกแต่ง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบและตกแต่งร้าน)
  • ค่าเช่าและอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับเจ้าของที่ที่ให้เช่า)
  • ค่าสำรวจพื้นที่ (ในกรุงเทพ 2,500 บาท/ต่อครั้ง ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ต่อครั้ง)

หมายเหตุ : หากมีสถานที่พิเศษหรือประเภทห้องพิเศษ จะต้องผ่านการตรวจสอบจากทางบริษัทก่อนถึงจะทำได้ โดยมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  • ขนาดพื้นที่ใช้สอย 30ตารางเมตร (ต่อชั้น)
  • ความยาวของป้ายหน้าร้าน 3 เมตร, ความสูง 0.5 เมตร
  • ความกว้างของประตู 3 เมตร, ความลึกของห้อง 3 เมตร, ความกว้างของห้อง 3 เมตร
  • ความสูงของประตู 2.5 เมตร

โดยรวมแล้วเปิดร้าน MIXUE จำนวน 1 สาขา จะต้องมีเงินลงทุนอย่างต่ำประมาณ 885,000 บาท ซึ่งหากรวมค่าเช่าพื้นที่ ค่าติดตั้งและตกแต่งร้านแล้ว น่าจะใช้เงินลงทุนราวๆ หลักล้านบาทเลยทีเดียว


Ai-CHA

Ai-CHA แฟรนไชส์ร้านไอศกรีมและชานม ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 โดยพี่น้องตระกูล Lie ประสบความสำเร็จในการเปิดสาขาแรกในประเทศอินโดนีเซียในเดือนสิงหาคม 2565 โดยมุ่งมั่นและตั้งใจในการให้บริการเครื่องดื่มคุณภาพดีในราคาย่อมเยา

สำหรับชื่อ Ai-CHA มาจากการรวมกันของตัวอักษรจีน “爱”(ài) และ “茶”(chá) ตัวอักษร “爱” (ài) แปลเป็นคำกริยาภาษาอังกฤษ “like” คำนาม “love” ขณะตัวอักษร “茶” (chá) หมายถึงคำว่า “tea” นั่นเอง แบรนด์ “Ai-Cha” จึงหมายถึง การแบ่งปันความรักด้วยการบริการชาคุณภาพดี ดึงดูดทุกคนทั่วโลกให้มาลิ้มลอง

สำหรับประเทศไทย Ai-Cha เข้ามาเปิดสาขาแรกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 รามคำแหง 24 แยก 14 ใกล้ๆ กับร้าน MIXUE สาขาแรกที่รามคำแหง 53 เอกลักษณ์ของร้านเป็นโทนสีแดง มีมาสค็อตเป็นนกเพนกวิ้น มีเมนูหลากหลาย ทั้งไอศกรีม ชานม ชาผลไม้ มีมากกว่า 40 เมนู ราคาเริ่มต้น 15-45 บาท เมนูไฮไลท์ คือ ไอติมบลูเบอร์รีซันเดย์,ไข่มุกบราวน์ชูก้าซันเดย์,เชค-พีช,ไซรับมะม่วงเนื้อมะพร้าวไข่มุก, ชานมไข่มุกซูพรีมมิกซ์,ชามะลิสาวรส, ชาผลไม้ฮาวายเอี้ยน ฯลฯ

ปัจจุบัน Ai-Cha ขยายสาขาเพิ่มในไทยอีก 1 สาขา คือ Ai-Cha สายไหมอเวนิว และต่างประเทศอีก 1 สาขา ที่สิงคโปร์ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไอ-ชา ฟู้ด ทีจี จำกัด ชูโรงเมนูไอศกรีม Cone Matcha โคนละ 15 บาท

อยากเปิดร้าน Ai-Cha ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่?

  • ค่าแฟรนไชส์ 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าออกแบบและค่าก่อสร้างพื้นที่ 10,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ภายในร้าน 393,050 บาท
  • ค่าประกันสัญญาแฟรนไชส์ 50,000 บาท (จ่ายครั้งเดียว)
  • ค่าก่อสร้าง 20 ตร.ม. ขึ้นไป 400,000 – 1,000,000 บาท (แล้วแต่ขนาดพื้นที่)
  • ค่าวัตถุดิบแรกเข้า 266,340 บาท
  • ค่าอบรมก่อนเปิดร้าน 10,000 บาท

รูปแบบและลักษณ์ที่ตั้งร้าน

  • ตั้งอยู่ที่ดินที่มีศักยภาพเพียงพอ
  • ขนาดพื้นที่ 20 ตร.ม.ขึ้นไป
  • ที่ตั้งสังเกตเห็นได้ง่าย
  • ไม่ขัดต่อกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ

ภาพจาก www.facebook.com/AiCHA.Thailand.th

โดยรวมแล้วหากเราจะเปิดร้าน Ai-Cha จำนวน 1 สาขา ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นราวๆ 1,189,390 บาท ซึ่งอาจจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ในการก่อสร้างร้าน ตั้งใจหรือบังเอิญ

มาถึงตรงนี้มาดูว่าทั้ง 2 แบรนด์ น่าสนใจอย่างไร MIXUE อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565 ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท มี “นางสาวฮุ่ย เจี่ย” มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท

ส่วน Ai-Cha Thailand อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ไอ-ชา ฟู้ด ทีจี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มี “นายเหมิง หลี่” มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท

เมื่อนำทั้ง 2 แบรนด์มาเปรียบเทียบกัน เมื่อดูจากรายชื่อกรรมการบริษัท น่าจะเป็นคนเชื้อสายจีนเป็นตัวแทนจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ทั้ง 2 แบรนด์มีส่วนเหมือนกันอีก ก็คือ ผู้ก่อตั้งแบรนด์เป็นคนเชื้อสายจีน แตกต่างกันตรงที่ MIXUE ก่อตั้งในจีน ขยายสาขาในประเทศก่อนเปิดตลาดต่างประเทศ ส่วน Ai-Cha มีจุดเริ่มต้นที่อินโดนีเซีย ก่อนมาเปิดตลาดในไทย

จะด้วยความบังเอิญ ลอกเลียนแบบ หรือทั้ง 2 แบรนด์จบมาจากสำนักเดียวกัน ดูจากรายชื่อเมนูในร้านก็เหมือนและคล้ายคลึงกัน ทั้งไอศกรีมโคนราคา 15 บาท ชานมไข่มุกบราวน์ชูก้าซันเดย์ และอีกหลายเมนูที่เหมือนๆ กัน ทั้ง 2 แบรนด์ยังออกแบบตกแต่งร้านใช้โทนสีแดง ภายในร้านยังมีตัวอักษรภาษีจีนเหมือนกันอีกด้วย

สรุปก็คือ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือบังเอิญ ถ้าในทางกฎหมาย แบรนด์ที่มาก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ ทั้งกฎหมายและตลาด แต่ที่แน่ๆ เชื่อว่าลูกค้าหลายคน น่าจะคิดไปแล้วว่า ทั้ง 2 ร้านเป็นเครือข่ายเดียวกันเป็นแน่!!

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล 

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช