4 เหตุผล แฟรนไชส์มือใหม่ต้องทำ Operation Manual

คู่มือปฏิบัติงาน หรือ Operation Manual มีความสำคัญอย่างไรในธุรกิจแฟรนไชส์ ทำไมเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์มือใหม่ต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน หรือที่เราเรียกกันว่า “คู่มือแฟรนไชส์” ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารก็แล้วกัน มาดูกันว่าเหตุผลหลักๆ ที่ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารจำเป็นต้องทำคู่มือแฟรนไชส์ คืออะไร

1. ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน

Operation Manual

คู่มือการปฏิบัติงานจะช่วยให้อาหารและเครื่องดื่มเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นรายการเมนูอาหารแต่ละสาขามีอะไรบ้าง รสชาติแบบไหน รูปแบบการจัดวางในจานเสิร์ฟ ความสะอาดในครัว โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องเขียนให้ครอบคลุมในเรื่องการจัดซื้อ และคัดเลือกใช้สินค้าวัตถุดิบมีอะไรบ้าง และอัตราส่วนในการทำอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ทํามีอะไรบ้าง ขั้นตอนการจัดเตรียมวัตถุดิบ เครื่องปรุงต่างๆ ตลอดจนขั้นตอนการปรุงอาหารแต่ละเมนู เป็นต้น

2. รูปแบบการบริการลูกค้า

Operation Manual

คู่มือปฏิบัติงานช่วยให้ลูกค้าได้รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาการต้องเขียนให้ครอบคลุมในเรื่องวิธีและรูปแบบการต้อนรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน เทคนิคการขายหรือแนะนำอาหารให้แก่ลูกค้า วิธีการเสิร์ฟอาหาร เก็บจาน เก็บโต๊ะ เก้าอี้ การใช้เครื่อง POS และการจัดทำโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า การชำระเงิน เป็นต้น

3. การใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์

Operation Manual

คู่มือปฏิบัติงานช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานและใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในร้านได้อย่างถูกต้อง ลดต้นทุนการบริหารจัดการ และความเสียหายให้กับอุปกรณ์ในร้าน ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องบอกวิธีและขั้นตอนการใช้เครื่องรูดบัตรจ่ายเงิน วิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในครัวทำอาหาร วิธีการเก็บอุปกรณ์และทําความสะอาด ตลอดจนขั้นตอนการซ่อมบํารุงรักษาอุปกรณ์ในครัว เพื่อความเป็นมาตรฐานและความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า

4. การแก้ปัญหาที่เกิดในร้าน

คู่มือปฏิบัติงานช่วยจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในร้าน และป้องกันการเปิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของพนักงานส่วนต่างๆ เจ้าของแฟรนไชส์จำเป็นต้องบอกวิธีปฏิบัติและแก้ปัญหาอุปกรณ์ต่างๆ เสียหาย ไม่ทำงาน หรือถ้าฝนตกไฟฟ้าดับต้องทำอย่างไร ปิดร้านเลยมั้ย หรือเปิดต่อ ถ้ามีอุปกรณ์ทดแทนให้แสงสว่างจะวางไว้ตรงไหนของร้าน รวมถึงวิธีการรับมือเมื่อมีการร้องเรียนจากลูกค้า พนักงานควรจะพูดจากับลูกค้าแบบไหน ตอบคำถามลูกค้าอย่างไร ตลอดจนวิธีการปฏิบัติเมื่อลูกค้าสั่งอาหารแล้วเกิดสินค้าหมด จะมีวิธีสื่อสารกับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้านอย่างไร

สรุปก็คือ เหตุผลที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำคู่มือการปฏิบัติงาน หรือ Operation Manual ก็คือ ความเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา เนื้อหาที่จัดทำขึ้นเพื่อต้องการให้หัวหน้าและพนักงานทำงานในหน้าที่ทิศทางและรูปแบบเดียวกันทุกสาขา เวลาลูกค้าไปกินสาขาไหนต้องมีเมนูและรสชาติเหมือนกันทุกสาขา ตลอดจนการให้บริการของพนักงานในร้านด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช