“โก๋แก่” จากโรงงานในห้องแถว สู่ธุรกิจรายได้กว่า 2.4 พันล้านบาท

“โก๋แก่ มันทุกเม็ด” สโลแกนนี้หลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี อยู่คู่ร้านค้าในไทยมากว่า 47 ปี โก๋แก่ประสบความสำเร็จ ครองส่วนแบ่งขนมขบเคี้ยวชนิดถั่วในไทยอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 50% จากมูลค่าตลาดทั้งหมด 4-5 พันล้านบาท

จุดเริ่มต้น “โก๋แก่”

โก๋แก่ มันทุกเม็ด

ภาพจาก www.facebook.com/KohFanClub

โก๋แก่ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ บริษัท โรงงานแม่มารวย จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2507 โดยคุณชูเกียรติ รวยเจริญทรัพย์ และภรรยา ร่วมหุ้นส่วนกับพี่ชาย ตั้งโรงงาน “แม่รวย” ขึ้นมาเพื่อผลิตขนมขบเคี้ยวประเภทข้าวเกรียบ ทอฟฟี่นม ตังเม และถั่วแผ่น บนถนนเอกชัย-บางขุนเทียน ในสมัยนั้นโรงงานทำขนมหลายๆ แห่ง มักใช้ชื่อ “แม่” นำหน้าโรงงาน

คุณสมเกียรติ ก็เลยใช้ชื่อ “แม่” นำเหน้าคำแรกของนามสกุล จึงนำมาสู่ “แม่รวย” โดยในช่วงแรกของการเปิดโรงงาน คุณชูเกียรติดูแลรับผิดชอบเรื่องการขายและการตลาด ส่วนพี่ชายดูแลเรื่องการผลิต

โก๋แก่ มันทุกเม็ด

ภาพจาก www.facebook.com/KohFanClub

หลังจากทำธุรกิจไปได้ 10 ปีกว่าๆ บรรดาหุ้นส่วนต่างอยากเติบโตในเส้นทางของตัวเอง จึงขอแยกตัวออกไปเติบโตในธุรกิจของตัวเอง พี่ชายได้สูตรขนมไป ทิ้งโรงานที่เป็นห้องแถว 2-3 คูหาไว้ให้คุณชูเกียรติดูแล

จากนั้นคุณชูเกียรติหาทางคิดค้นสูตรขนมขึ้นมาใหม่ บังเอิญว่าคุณชูเกียรติไปเห็นถั่วเคลือบรสชาติต่างๆ ในต่างประเทศ จึงคิดค้นสูตรขึ้นมาเองผสมผสานเข้ากับความเป็นไทย กลายเป็น “ถั่วลิสงเคลือบกะทิ ตรา โก๋แก่” วางจำหน่ายในปี 2519

ชื่อและโลโก้ “โก๋แก่” คุณชูเกียรติอยากได้ชื่อสั้นๆ 2 พยางค์ ทำให้คนจำง่าย ส่วนโลโก้เป็นตัวการ์ตูน จะดึงดูดและทำให้คนจดจำได้ง่าย ซึ่งโลโก้ตัวการ์ตูนกวนๆ หัวฟูๆ สวมแว่นตากันแดด แสดงออกถึง “จิ๊กโก๋” บวกกับคำว่า “แก่” ให้คล้องจองกัน

วันแรกยอดขายไม่ปัง

ช่วงแรกๆ โก๋แก่ ยังขายไม่ได้เลย เพราะคนไม่รู้จัก แพ็คเกจจิ้งมองเห็นแต่ตัวการ์ตูน ไม่เห็นสินค้าข้างใน ทำให้ลูกค้าไม่กล้าซื้อกิน จากนั้นคุณชูเกียรติปรับแพ็คเกจจิ้งมาเป็นซองใส ให้ลูกค้าลองชิมถั่วเคลือบกะทิ ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดี คนเริ่มติดใจรสชาติ มีการบอกต่อคนอื่น จนกระทั่งคนรู้จักมากขึ้น ทำให้ยอดขายโก๋แก่ดีขึ้นเรื่อยๆ

หลังจากแบรนด์ติดตลาด โก๋แก่ไม่รอช้าที่จะทำให้ติดลมบน ออกกลยุทธ์การตลาดอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวหนังโฆษณาสุดปัง โก๋แก่ดีดกีตาร์ร้องเพลง ผ่านทางโทรทัศน์ ตลอดจนผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เช่น รสกาแฟ วาซาบิ ต้มยำ

จนมีสินค้ากว่า 50 รสชาติ ครอบคลุมทั้งถั่วลันเตา ถั่วลิสง อัลมอนด์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังออกแบรนด์ใหม่ๆ คือ เนลลี่ แครกเกอร์มันฝรั่ง มียอดขายกว่า 80 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา

รายได้ของ “โก๋แก่”

จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน บริษัท โรงงานแม่รวย จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า จัดตั้งวันที่ 22 ม.ค. 2530 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีรายชื่อนายชูเกียรติ รวยเจริญทรัพย์, นางจิรภรณ์ รวยเจริญทรัพย์, นายจุมภฏ รวยเจริญทรัพย์, นายกฤษดา รวยเจริญทรัพย์ เป็นกรรมการบริษัท

  • ปี 63 รายได้ 1,989.8 ล้านบาท กำไร 7.4 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 1,998.8 ล้านบาท กำไร 7 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 2,398.3 ล้านบาท กำไร 12.5 ล้านบาท

สำหรับผู้เล่นในตลาดถั่วเมืองไทย ประกอบด้วย โก๋แก่ 50% ทองการ์เด้น 24% เจดีย์คู่ 5% กรีนนัท 4% และ มารูโจ้ 3%

ปัจจุบัน “โก๋แก่” อยู่ภายใต้การบริหารทายาทรุ่น 2 ประกอบด้วย คุณจุมภฏ รับหน้าที่ดูแลเรื่องการบริหารภาพรวมทั้งหมดและตลาดต่างประเทศ, คุณกฤษดา รับหน้าที่ดูแลเรื่องตลาดภายในประเทศ และคุณเทิดทูล รับหน้าที่ดูแลเรื่องการผลิต

กลยุทธ์การตลาดโก๋แก่

  • ก่อนการระบาดโควิด-19 โก๋แก่ ขยายโมเดลธุรกิจ เปิดร้าน Koh Shop จำหน่ายสินค้าต่างๆ ภายใต้แบรนด์โก๋แก่ รวมถึงเครื่องดื่ม ขนม เช่น ไอศกรีม ถั่ว น้ำนมถั่วเหลือง กังโก๋ จับกลุ่มนักท่องเที่ยว วัยรุ่น โดยเฉพาะคนจีน
  • โก๋แก่ส่งออกตลาดต่างประเทศกว่า 70 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นตลาดส่งออกกว่า 20% โดยจีนเป็นตลาดส่งออกหลัก
  • หลังจากแบรนด์ติดตลาด ได้มีการนำมาสคอต พี่โก๋ มาช่วยสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น เปิดตัวหนังโฆษณา โก๋แก่ดีดกีตาร์ร้องเพลงผ่านทางโทรทัศน์ จนโด่งกังเป็นพลุแตก
  • ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายหลากหลาย ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ และร้านสะดวกซื้อต่างๆ ทั่วประเทศ กรณี 7-Eleven มีสาขามากกว่า 14,000 สาขาทั่วประเทศ

แผนธุรกิจ “โก๋แก่” 5-10 ปี

  • วางเป้าหมาย 5-10 ปีข้างหน้า ผลักดันรายได้ให้ถึง 10,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 2,398 ล้านบาท
  • ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกลุ่มถั่ว และอื่นๆ ควบคู่กับการทำตลาดหลายช่องทาง บุกตลาดต่างประเทศ เพิ่มสัดส่วนมากกว่า 50% จากปัจจุบัน 15%
  • เตรียมเป็ดร้าน Koh Shop อีกครั้ง ก่อนโควิดมี 12 สาขา ปัจจุบันเหลือ 2 สาขา คือ เอเชียทีค และจตุจักร
  • เปิดร้านค้า Food truck บริการตามที่ต่างๆ ควบคู่กับการออกบูธตามอาคารสำนักงาน เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น

จะเห็นได้ว่า รายได้ของ “โกแก่” เพิ่มขึ้นทุกปี จะมีสะดุดก็ช่วงการระบาดโควิด-19 ตั้งปีต้นปี 2563 เป็นช่วงประเทศไทยปิดประเทศ ส่งออกไปจีนลำบาก พอโควิดคลี่คลายลง เราจะเห็นว่ารายได้ของ “โก๋แก่” กลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2565 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกจนแตะตัวเลข 10,000 ล้านบาทในอีก 5-10 ปีข้างหน้าตามแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท

ความท้าทายของ “โก๋แก่” คือ แม้สัญญาณเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แต่ราคาวัตถุดิบและพลังงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อการทำกำไรของตลาดถั่วลดน้อยลง เราจะเห็นได้ว่าสินค้าบางรายการของแบรนด์ใหญ่ๆ เริ่มมีการปรับราคาขึ้นไปแล้ว

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช