เปิดโผ 5 อาชีพขยันถูกที่ ปีเดียวรวย!

ใครๆก็อยากรวย แต่คำถามคือจะทำอะไรเพื่อให้รวย? บางคนขยันมากแต่ก็ยังไม่รวยสักที ดังนั้นเคล็ดลับสำคัญคือต้องขยันให้ถูกวิธี ต้องรู้ว่ายุคนี้ทำอะไรแล้วจะรวย เรามี 5 อาชีพขยันถูกที่ ที่เหมาะสมกับยุคนี้มาก ถ้าตั้งใจทำจริงมีการวางแผนที่ดีอาชีพเหล่านี้ใครทำได้เห็นผลใน 1 ปีมีเงินเก็บ รวยขึ้นแน่นอน

1.โปรแกรมเมอร์

อาชีพขยันถูกที่

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคออนไลน์เต็มรูปแบบ อาชีพที่มีความต้องการมากหนีไม่พ้น “โปรแกรมเมอร์” ใครที่ยังเรียนอยู่และยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอะไรดี ลองเพิ่มทักษะตัวเองเพื่อเป็นโปรแกรมเมอร์รับรองดีแน่ เพราะคนยุคนี้มีชีวิตอยู่ท่ามกลางสมาร์ทโฟนที่แทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิต และทุกบริษัทต่างก็ต้องดันตัวเองเข้าสู่โลกออนไลน์ต้องมีเว็บไซต์ มีช่องทาง Social ของตัวเอง ก็ทำให้ความต้องการโปรแกรมเมอร์มีสูงมาก ซึ่งสายงานด้านไอทีทุกบริษัทอยากได้คนเก่ง คือ Programmer , System Analyst , Web Programmer, Programmer Analyst , Software Engineer เป็นต้น

หน้าที่หลักของโปรแกรมเมอร์คือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิเคราะห์ระบบสร้างและแก้ไขปัญหาและยังรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนนั้นก็คือ html , CSS , Javascript , PHP อื่น ๆ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่ควรมี เงินเดือนของโปรแกรมเมอร์ก็สูงตามประสบการณ์และความสามารถสตาร์ทขั้นต่ำแบบเด็กจบใหม่ก็ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

2.วิศวกรยานยนต์

อาชีพขยันถูกที่

รถยนต์มีบทบาทในชีวิตเรามาก และทุกวันนี้นวัตกรรมรถยนต์ก็ก้าวหน้าไปมาก แต่น่าแปลกใจที่วิศวกรยานยนต์ในเมืองไทยเป็นอาชีพที่ขาดแคลน ยิ่งการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่ตลาดกำลังต้องการมากก็ยิ่งทำให้วิศวกรยานยนต์เป็นที่ต้องการสูงมาก ปัจจุบันกว่าจะผลิตรถยนต์ออกมา 1 คัน บอกเลยว่าไม่ใช่ง่ายอย่างที่คิด เพราะนอกจากจะมีชิ้นส่วนต่างๆ จำนวนมากแล้ว รถยนต์รุ่นใหม่ในปัจจุบัน มีระบบอิเล็กทรอนิกส์มากมาย

ซึ่งล้วนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไว้ใช้ควบคุมสั่งการให้ระบบทำงาน เพราะฟังก์ชันการใช้งานของรถยนต์ในปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำนวนโค้ดมากขึ้น อีกทั้งยังมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย รถยนต์ 1 คัน ต้องมีซอร์ซโค้ดมากกว่า 1 ล้านบรรทัด ซึ่งแต่เดิมรถยนต์มีฟังก์ชันเพียงแค่ ขับ เลี้ยว เบรก เท่านั้น อัตราเงินเดือนของสายงานนี้ตามประสบการณ์และความสามารถสตาร์ทตั้งแต่ 20,000 -100,000 บาท

3.นักออกแบบแอพพลิเคชั่น (UX Designer)

UX Designer หรือ User Experience Designer เป็นอาชีพที่มาแรงมาก ในยุคที่แอปพลิเคชันเข้ามามีบทบาทต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คน ทักษะเน้น ๆ ที่คนทำอาชีพนี้ต้องมี ได้แก่ การพัฒนา Customer Journey

รวมไปถึง User Flow ร่างภาพต้นแบบ (Wireframe) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และทดสอบกับผู้ใช้ (Testing) มีความรู้ความสามารถหลักในการออกแบบต่าง ๆ เช่น รู้องค์ประกอบศิลป์ การออกแบบ UI สำหรับเว็บไซต์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งค่าเหนื่อยนั้นต้องบอกว่า คุ้มมาก ๆ โดยเริ่มต้นที่ 35,000-70,000 บาท ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ ซึ่งนอกจากเป็นพนักงานประจำก็ถ้าเราเก่งจริงก็อาจเพิ่มรายได้ด้วยการทำคอร์สเรียนสอนคนที่ต้องการซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้เราได้มากขึ้น

4.ขายของออนไลน์

อาชีพที่เห็นมากที่สุดในยุคนี้คือ “ขายของออนไลน์” ที่มีตัวอย่างของคนประสบความสำเร็จเยอะมาก ซึ่งมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ชในไทยสูงกว่า 2 แสนล้านบาทช่องทางการขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลาย เช่น ขายบน เว็บไซต์ ที่เปิดใหม่ขึ้นเอง ซึ่งแม้จะต้องลงทุนเพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง แต่ก็มีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการหน้าร้าน การแสดงผล รวมถึงฟังก์ชั่นที่ต้องการได้ตามที่ต้องการ

นอกจากนี้ยังสามารถขายผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง e-Marketplace เช่น Shopee, Lazada ก็สะดวกง่ายดาย หรือจะขายผ่าน Social Commerce อาทิ Facebook, IG, Line ที่เดี๋ยวนี้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้สามารถค้าขายบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้และเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

รวมไปถึงการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ประเภท E-Classified อาทิ kaidee.com โดยเลือกหมวดที่ต้องการแล้วเข้าไปประกาศซื้อขายได้ฟรีๆ เช่นกัน แต่ที่นิยมสุดเห็นจะเป็นการขายใน TikTok เนื่องจากการ LIVE ขายของใน TikTok จะทำให้เราสามารถโต้ตอบลูกค้าทุกคนได้แบบ Real Time ใครอยากดูสินค้าชิ้นไหน อยากให้รีวิวอะไร จะทำได้แบบทันใจทุกคนแน่นอน อีกทั้งสามารถปิดการขายระหว่าง LIVE ได้ตลอดเวลา แค่ลูกค้าคลิกลิงก์สินค้า เลือกช้อป ชำระเงิน ก็เป็นอันเสร็จ รายได้ของอาชีพนี้จะดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับทักษะและฝีมือการขายของแต่ละคนเป็นสำคัญด้วย

5.เจ้าของธุรกิจ/ลงทุนแฟรนไชส์

ยุคนี้คนส่วนใหญ่อยากเป็น “นายตัวเอง” ดังนั้นจึงเห็นธุรกิจที่เปิดตัวใหม่เยอะมาก บางคนที่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรก็ตัดสินใจเลือกลงทุน “แฟรนไชส์” ที่มีข้อดีคือไม่ต้องสร้างแบรนด์เอง ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ มีทีมงานคอยดูแลซัพพอร์ทอย่างดี และดียิ่งกว่าคือมีแฟรนไชส์ให้เลือกเยอะมาก ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บริการ แต่ละแบรนด์แฟรนไชส์ก็มีจุดเด่นข้อดีในตัวเอง

การเลือกว่าควรลงทุนกับแฟรนไชส์ไหนอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการ รวมถึงเงินทุนที่เรามี สามารถเลือกลงทุนได้ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นหลักล้าน แนะนำว่าถ้าใครที่อยากเริ่มต้นก็ให้ลงทุนแบบใช้งบไม่เยอะแล้วค่อยเรียนรู้ศึกษาเพิ่มพูนประสบการณ์ มองหาโอกาสและช่องทางไปเรื่อยๆ

เมื่อมีเงินทุนก็อาจขยายสาขาเพิ่มหรือลงทุนในแพคเกจที่ใหญ่กว่าเดิม การลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้เราได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จนถึงวันหนึ่งระบบแฟรนไชส์จะสร้างรายได้ให้เราโดยที่เราไม่ต้องลงแรงเองแต่คอยบริหารงาน บริหารลูกน้องให้ทำงาน ตัวเราก็มีเวลาไปลงทุนทำธุรกิจอื่นได้มากขึ้นด้วย

แต่ไม่ว่าจะเลือกลงทุนอาชีพไหนหรือทำอะไร สิ่งสำคัญเราต้องใส่ใจ รู้จักการวางแผน และปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ รวมถึงเรื่องการตลาดก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด เพราะการแข่งขันในยุคนี้มีสูงมากถ้าเรานิ่งกับที่ก็มีแต่รอให้คนอื่นวิ่งแซงหน้าเราไปเรื่อยๆ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด