“ลาออกจากงาน” เป็นนายตัวเอง ยุคนี้ดีจริงหรือ?

ในช่วงหนึ่งของการแพร่ระบาดโควิดเกิดกระแสคำว่า “เป็นนายตัวเอง” พุ่งแรงมาก เมื่อสถานการณ์ผ่านไปทุกอย่างเริ่มกลับเข้าที่เข้าทาง มาถึงยุคที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง ต้นทุนค่าครองชีพแสนแพง เกิดเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า “การเป็นนายตัวเอง” ในยุคนี้จะดีจริงหรือ?

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนที่ลาออกไปสร้างธุรกิจตัวเองมีทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ เคล็ดลับที่เคยได้ยินส่วนใหญ่คือ ให้สร้างธุรกิจตัวเองคู่กับทำงานประจำไปก่อน ถ้าดีจริงค่อยลาออก หรือบางคนก็ถึงขนาดบอกว่า “ใครมีงานประจำควรยึดไว้ให้แน่น” เพราะการเป็นนายตัวเองในยุคนี้ “เสี่ยงสูงมาก” แล้วตกลงว่าเราควรตัดสินใจเลือกแบบไหน ระหว่างเป็น “นายตัวเอง” หรือจะเป็น ลูกน้องตลอดไป

ไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะจะเป็น “นายตัวเอง”

เป็นนายตัวเอง

ระหว่างดีจริงหรือไม่ดีจริง สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ก็คือไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะจะเป็นนายตัวเอง ลองมาดูว่าคุณสมบัติอะไรที่เราควรมี เพราะถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้แนะนำว่าให้ทำงานประจำต่อไปดีกว่า

1.ไม่มีความอดทน

ต่อให้เป็นคนที่เงินทุนมาสร้างธุรกิจตัวเองก็ไม่ได้การันตัวว่าจะประสบความสำเร็จแบบสิ่งจำเป็นคือต้อง “อดทน” ยิ่งเป็นช่วงเริ่มต้นธุรกิจปัญหาก็ยิ่งเยอะมาก หรือแม้แต่ธุรกิจเริ่มอยู่ตัว ปัญหาในการทำธุรกิจก็มีต่อเนื่อง ดังนั้นต้องมีการวางแผนรับมือและแก้ปัญหาเหล่านี้ รวมถึงต้องมีความอดทนต่อปัจจัยอื่นในการทำธุรกิจที่เราต้องเจอ

2.กลัวความเสี่ยง

เราเห็นคนที่ประสบความสำเร็จและอยากทำได้เหมือนเขา แต่รู้หรือไม่ว่าคนเหล่านั้นกว่าจะถึงจุดสูงสุดของชีวิตได้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายต่อหลายครั้ง นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มีบุคลิกที่กล้าเสี่ยง กล้าลงทุน ถ้าเรายังไม่มีคุณสมบัติข้อนี้คิดว่าให้เลือกทำงานประจำต่อไปจะดีกว่า

3.วางแผนสำรองไม่เป็น

เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นอย่างใจคิด บางเรื่องก็เป็นปัญหาฉุกเฉินที่ต้องเจอแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแผนสำรองจำเป็นต้องมี ถ้าใครวางแผนไม่เป็น ไม่รู้จักคิดเผื่อไปถึงอนาคตในกรณีที่เกิดปัญหา แสดงว่าไม่มีคุณสมบัติของการเป็นนายตัวเอง

เป็นนายตัวเองยุคนี้ มีโอกาสสำเร็จแค่ไหน?

เป็นนายตัวเอง

หากจะให้วัดผลเป็นตัวเลขก็ไม่คงไม่ชัดเจน เพราะมีอีกหลายปัจจัยในแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ตัวเลขที่น่าสนใจคือคนทำงาน 51% ตัดสินใจมองหาอาชีพเสริม และ 35% ของคนทำงานจะทำงานอื่นควบคู่กับการทำงานหลัก เช่น รับงานเสริม หรือทำงานพิเศษเพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับใช้ชีวิต ซึ่งการก้าวออกจากงานประจำไปสู่การสร้างธุรกิจตัวเองในยุคนี้ยอมรับว่าถ้าไม่วางแผนให้ดี “ความเสี่ยงสูงมาก” ทั้งต้นทุนค่าครองชีพที่สูง การแข่งขันทางธุรกิจที่สูง กำลังซื้อของคนลดลง รวมถึงเรื่องของการตลาดที่มีทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทุกอย่างคือคีเวิร์ดสำคัญของการสร้างธุรกิจตัวเอง

ถ้าหากมองที่ข้อดีของการเป็นนายตัวเองก็เช่น มีโอกาสที่การเงินจะเติบโตได้แบบก้าวกระโดด , มีอิสระทางเวลาที่สามารถกำหนดเองได้ รวมถึง สามารถกำหนดทิศทางของธุรกิจได้ด้วยตัวเอง ถ้าคิดจะก้าวไปเป็นนายตัวเองให้ประสบความสำเร็จจึงต้องมีการวางแผนที่ดีเป็นสำคัญ หลายคนที่ก้าวออกไปแล้วสำเร็จสร้างรายได้ชนิดที่น่าอิจฉา ในขณะที่บางคนไปแล้วไม่รอดต้องหวนกลับมาทำงานประจำก็มีไม่น้อยเช่นกัน

เป็นนายตัวเองอย่างไรให้เสี่ยงน้อยที่สุด?

เป็นนายตัวเอง

เอาละ! ถ้าตัดสินใจแน่วแน่ว่างานนี้ฉันต้องเป็นนายตัวเองให้ได้ สิ่งแรกที่ควรทำก็คือการลิสต์ค่าใช้จ่ายตัวเองออกมาให้หมดทั้งค่าผ่อนบ้าน, ค่าไฟ, ค่าน้ำ, ค่าโทรศัพท์, ค่าเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงต้องเผื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในแต่ละเดือนอีก 10 – 30% ของรายจ่ายทั้งหมดเข้าไปด้วย จะได้ลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด และเมื่อได้ตัวเลขที่เป็นรายจ่ายคร่าวๆ ก็จะทำให้เรารู้ว่า “แต่ละเดือนเราต้องหาเงินให้ได้เท่าไหร่” ซึ่งแน่นอนว่าการทำธุรกิจในช่วงแรกรายได้อาจไม่เข้าเป้าที่วางไว้

ดังนั้นต้องมาดูอีกว่าเรามี “เงินทุนสำรอง” เพียงพอให้ใช้ได้นานแค่ไหน และระหว่างนั้นเราจะมีรายได้จากธุรกิจมากน้อยเพียงใด และคำนวณดูว่าเมื่อไหร่ที่จะตั้งหลักใช้เงินจากธุรกิจได้โดยไม่ต้องพึ่งทุนสำรอง เราอาจใช้ข้อได้เปรียบจากที่เคยทำงานประจำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่น เรียนรู้วิธีการทำงานในฐานะลูกน้อง สะสมคอนเนคชั่นหรือคนรู้จักทางธุรกิจ การทำความคุ้นเคยกับบรรดาซัพพลายเออร์ต่างๆ โดยมีเป้าหมายว่าสักวันหากจะออกไปทำธุรกิจเป็นนายตัวเอง จะได้ให้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เลือกลงทุนแฟรนไชส์ คือการเป็นนายตัวเองที่เสี่ยงน้อยที่สุด

เป็นนายตัวเอง

ในกรณีที่มองว่าไม่มีประสบการณ์ไม่มีความรู้ ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ที่สำคัญคือกลัวความเสี่ยง การเป็นนายตัวเองที่ดีที่สุดคือ “เลือกลงทุนระบบแฟรนไชส์” ซึ่งเป็นทางลัดสู่ความสำเร็จที่ได้ผลมากที่สุด โดยปัจจุบันมีแฟรนไชส์ให้เลือกหลายรูปแบบ และมีแพคเกจลงทุนให้เลือกได้ตามต้องการ ที่สำคัญทุกแฟรนไชส์มีทีมงานมืออาชีพ มีประสบการณ์ ที่พร้อมดูแลผู้ลงทุนทุกคนเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ที่น่าสนใจลงทุนไม่เกิน 5,000 มีให้เลือกหลายแบรนด์เช่น

เป็นนายตัวเอง

แฟทโบร (เฮียอ้วนปิ้งย่าง) ที่ลงทุนเริ่มต้นแค่ 4,999 บาท หรือเป็นแฟรนไชส์ยอดฮิตอย่าง ต.เนื้อย่าง ที่ลงทุนแค่ 3,000 บาท ได้รับเนื้อโคขุนคละรส 500 ไม้ ขายไม้ละ10 บาทมีรายได้จากวัตถุดิบชุดแรกกว่า 5,000 บาท กำไรทันที 2,000 บาท

ลาออกจากงาน

นอกจากยังมีแฟรนไชส์ที่คนไทยรู้จักอย่างดีทั้ง อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช , ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด , ซูโม่ลูกชิ้นปลาระเบิด ซึ่งจุดเด่นคือมีแพคเกจลงทุนราคาไม่แพงเริ่นไม่เกิน 5,000 บาท แต่สามารถขายได้ทั้งหน้าบ้าน ตลาดนัด ย่านชุมชน ได้อุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมขายและมีทีมงานมืออาชีพคอยดูแลอย่างดี เหมาะสมกับการสร้างอาชีพเป็นนายตัวเองของคนในยุคนี้อย่างมาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด