เทคนิคเปิดร้าน “ขนาดเล็ก” รายได้เกินล้าน

ถ้าถามว่าเป็นร้านค้าขนาดใหญ่กับร้านค้าขนาดเล็ก แบบไหนจะมีรายได้มากกว่ากัน คำตอบก็น่าจะฟันธงไปที่ร้านขนาดใหญ่ที่มีสินค้าหลากหลาย บรรยากาศในร้านน่าสนใจ มีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ถ้างั้นก็แสดงว่าร้านค้าขนาดเล็กไม่มีโอกาสเห็น “เงินล้าน” ได้เลยใช่หรือไม่?

www.ThaiSMEsCenter.com ขอตอบเลยว่า “ไม่ใช่” แม้เราจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กแต่การขายเพื่อให้ได้กำไรมาก ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การขาย เทคนิคการตลาด เทคนิคเปิดร้าน ในมุมกลับกันข้อดีของร้านขนาดเล็กคือบริหารจัดการได้ง่าย เพียงแต่เราต้องมีเคล็ดลับในการขายที่ดีเพื่อให้เห็นเงินล้านได้ตามที่ตั้งใจ

เปิดร้านเล็กอยากมีเงินล้าน “ควรทำยังไง?”

เทคนิคเปิดร้าน

คำว่า “เงินล้าน” ใครก็อยากมี วิธีการไปถึง “เงินล้าน” มีหลายรูปแบบ แต่สำหรับคนทำงานแบบหาเช้ากินค่ำ เป็นมนุษย์เงินเดือนที่รายได้ไม่เคยพอกับรายจ่าย อาศัยเก็บเงินเดือนต่อเดือน เชื่อได้เลยว่าไปไม่ถึงล้านแน่ ดังนั้นวิธีดีที่สุดคือการมีธุรกิจของตัวเอง แต่ด้วยเงินทุนก็น้อยหรือแทบไม่มีจะเปิดร้านใหญ่ก็ไม่ได้ สุดท้ายได้แค่ร้านค้าเล็กๆ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าร้านอื่นที่เขาใหญ่ๆ ร้านเล็กๆของเราจะเอาอะไรไปสู้

หนังสือเรื่อง The Millionaire Fastlane กล่าวถึงวิธีการเป็นเศรษฐีเงินล้านไว้อย่างเรียบง่ายและน่าสนใจว่า “TO MAKE MILLIONS, YOU MUST IMPACT MILLIONS” แปลก็คือ “ถ้าหากคุณอยากได้เงินล้าน คุณก็ต้องทำในสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน” นั่นหมายความว่าขนาดร้านเล็กหรือใหญ่ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่สำคัญว่าเราขายได้มากแค่ไหน

ลองคำนวณว่า

  • ถ้าเราขายของกำไรชิ้นละ 1,000 บาท ให้คน 1,000 คน เราจะมีกำไร 1,000,000 บาท
  • แต่ถ้าเราขายของกำไรชิ้นละ 1 บาท ให้คน 1,000,000 คนเราก็จะได้กำไร 1,000,000 บาทเช่นกัน
  • หรือให้เร็วขึ้นอีกหน่อย ขายของกำไรชิ้นละ 10 บาท ให้คน 100,000 คน เราก็ได้ 1,000,000 บาทเช่นกัน

หลายคนอาจย้อนแย้งว่ามันก็แค่ทฤษฏี ในความเป็นจริงร้านเล็กจะมีลูกค้ายังไงได้เดือนละละหมื่นคนหรือแสนคน สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ “ไอเดีย” สำคัญ

ยกตัวอย่างเราเปิดร้านค้าเล็กๆ ริมทางประเภทตั้งโต๊ะขาย สินค้าก็เช่นของที่ระลึก เป็นต้น มองผิวเผินแม้จะขายในย่านที่มีนักท่องเที่ยวเยอะแยะ แต่ด้วยความที่มีทั้งร้านเล็กด้วยกันและก็ร้านใหญ่อีกมาก รายได้ของร้านก็แค่เล็กน้อย แต่ถ้าลองเปลี่ยนวิธีการขายจากแค่ตั้งโต๊ะขายหน้าร้าน มาลองทำตลาดออนไลน์ ร่วมด้วย

ซึ่งการเปิดตลาดออนไลน์มีข้อดีคือการเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ใช่แค่คนเดินหน้าร้าน และไม่ใช่แค่ลูกค้าในประเทศจากตลาดที่ถูกจำกัดทั้งในเรื่องพื้นที่วางสินค้า เวลาในการจำหน่าย และต้นทุนการสต็อกสินค้า ปัญหาทั้งหมดนี้ถูกแก้ไขด้วยตลาดที่ใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัว แถมไม่ต้องสต็อกสินค้าสามารถใช้วิธีรับออร์เดอร์มาแล้วจัดส่งให้ลูกค้าที่สนใจ ลดต้นทุนประกอบการ และมีโอกาสขายในปริมาณที่มากขึ้น

เทคนิคเปิดร้าน

สอดคล้องกับสูตรวิธีการหาเงินล้าน = กำไรต่อหน่วย x จำนวนลูกค้า และแน่นอนว่าเราไม่จำเป็นต้องตั้งราคาสูงเพื่อเอากำไรเยอะ แต่เน้นขายในปริมาณมากเพื่อให้ได้กำไรเยอะจะดีกว่า เพราะยุคนี้คนส่วนใหญ่ชอบสินค้าที่ราคาไม่แพง จะกระตุ้นให้คนอยากซื้อได้มากขึ้น

ตัวอย่างความสำเร็จ “กำไรน้อย” แต่ “ขายมาก” มีเงินล้านได้

เทคนิคเปิดร้าน

สินค้าอย่าง “Lobo” ผงปรุงรสอาหารภายใต้บริษัท โกลโบ ฟู้ดส์ จำกัด ราคาขายต่อซองประมาณ 20 บาท แต่ในปี 2562 มีรายได้ถึง 1,670 ล้านบาท หรือทิชชู่ “วีวี่” ของบริษัท เพาเวอร์โอฬาร จำกัด ที่ขายแค่ห่อละ 20 บาท แต่สร้างรายได้ถึง 500 ล้านบาท เอาให้เห็นภาพอีกนิดก็คือ “มาม่า” ที่ตอนนี้เป็นผู้นำของวงการไม่ว่าจะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อไหนก็มักเรียกรวมไปว่า “มาม่า” ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 45% รายได้เกินกว่าร้อยล้าน

ในมุมของคนตัวเล็กๆ อย่างเราเอง ที่อาจยังแค่เริ่มต้นก็มีสิทธิ์ขายของกำไรไปแตะหลักล้านได้เหมือนกัน อย่าไปกลัวว่า มีคู่แข่ง แล้วจะขายได้ยังไง เรามาทีหลัง เขามาก่อน จะสู้เขาได้ยังไง ก้าวแรกที่เราต้องทำคือ “ขายอะไรก็ได้” ที่เราถนัด

เพราะสินค้าทุกชนิดมีฐานลูกค้าของตัวเอง สำคัญคือ “ไอเดียการขาย” ที่ต้องเข้าถึงกลุ่มลูกค้าถ้าคิดหาอะไรใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมไม่ได้ ก็ลองขายในสิ่งที่พอคิดออก สิ่งที่มีคนอยากได้ แล้วมานั่งหาวิธีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ที่สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากดู เร่าก็สามารถประสบความสำเร็จตามสูตรเงินล้านได้เหมือนกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3nixZIh , https://bit.ly/3K7zTVd , https://bit.ly/3z8RFB3 , https://bit.ly/3lHPa5E

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด