หน้าร้อนขายอะไรดี ชี้เป้า! ของขายง่าย โกยเงินกระหน่ำสงกรานต์

รู้แหละว่าหน้าร้อน! แต่มันต้องร้อนขนาดนี้เลยหรือยังไง!! ข้อมูลระบุชัดว่าฤดูร้อนเมืองไทยปีนี้ทำลายสถิติในรอบ 73 ปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั่วประเทศจะร้อนขึ้น 1-2 °c

คาดการณ์อุณหภูมิจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงสงกรานต์ ให้ระวังอากาศร้อนจัดโดยทั่วไป อุณหภูมิสูงสุด 43°c ในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน ส่วนกรุงเทพฯและปริมณฑลร้อนสุด 41°c  แต่เดือนเมษายนแบบนี้ร้อนแค่ไหนก็ยังชื่นใจเพราะมี “เทศกาลสงกรานต์” ที่เป็นเป้าหมายใหญ่ของคนที่อยากเดินทางกลับบ้านและบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ตั้งใจจะขายสินค้าในช่วงนี้ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน

ลองไปดูกันซิว่า หน้าร้อนขายอะไรดี “สินค้าอะไรจะขายดีสุด” ในช่วงสงกรานต์ที่อากาศดุเดือดเหลือเกิน

1.เครื่องปรับอากาศ

หน้าร้อนขายอะไรดี

ภาพจาก freepik.com

ยอดขายเครื่องปรับอากาศตอนนี้เพิ่มขึ้น 10-20% ขณะที่ราคาเครื่องปรับอากาศก็มีสัดส่วนลดลงเพราะมีสินค้าจากจีนเข้ามาตีตลาด ในขณะที่พัดลมก็ขายดีและมีราคาไม่แพง ยกตัวอย่างพัดลมขนาด 8 นิ้ว เริ่มต้นที่ราคา 300 บาท, เครื่องปรับอากาศ 9,000 บีทียู เริ่มต้นที่ 10,000 บาท เป็นต้น

2.ไอศกรีม

หน้าร้อนขายอะไรดี

ร้อนๆแบบนี้ดันตลาดไอศกรีมเติบโตมากมูลค่าประมาณ 396.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท)และไม่ใช่แค่บริโภคภายในประเทศแต่ไอศกรีมยังเป็นสินค้าส่งออกโดยไทยเป็นผู้ส่งออกไอศกรีมอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ซึ่งการลงทุนก็มีหลากหลายรูปแบบทั้งทั่วไปและแบบพรีเมี่ยม

3.น้ำแข็ง

หน้าร้อนขายอะไรดี

สินค้าคู่กับหน้าร้อนคือ “น้ำแข็ง” ยิ่งร้อนเท่าไหร่ ยิ่งขายดีเท่านั้น ตัวเลขจากโรงงานผู้ผลิตน้ำแข็งตอนนี้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น 25-30% แม้แต่ในร้านสะดวกซื้อยอดขายน้ำแข็งยูนิค , น้ำแข็งเกล็ด(แบบกด) ก็ขายดีมาก และคาดว่าในช่วงสงกรานต์ที่คนออกมาเล่นสาดน้ำจะยิ่งขายดีมากขึ้นด้วย

4.น้ำอัดลม

หน้าร้อนขายอะไรดี

ตลาดน้ำอัดลมซึ่งมีมูลค่ากว่า 6.6 หมื่นล้านบาท และมีคู่แข่งในตลาดนี้หลายแบรนด์ ซึ่งยอดขายทุกแบรนด์มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 10% ยิ่งมีการอัดแคมเปญการตลาด ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องผสมกับอากาศที่ร้อนจัดในทุกพื้นที่ดันให้ยอดขายคาดว่ายังเพิ่มสูงได้อีกมาก

5.น้ำแข็งไส

หน้าร้อนขายอะไรดี

ในกลุ่มของหวานที่ขายดีร้อน ๆแบบนี้ต้อง “น้ำแข็งไส” ที่ยอดขายเพิ่มขึ้นมาก ราคาเฉลี่ย 20-25 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบร้านและสินค้าเป็นสำคัญ บางร้านที่เป็นสไตล์คาเฟ่ หรือร้านกาแฟ ที่มีเมนูน้ำแข็งไสอาจขายในราคา 40-50 บาทได้ แต่สำคัญคือต้องรักษาคุณภาพโดยเฉพาะน้ำแข็งที่นำมาใช้ต้องได้มาตรฐานเรื่องความสะอาด้วย

6.น้ำเปล่า

หน้าร้อนขายอะไรดี

ตลาดน้ำดื่มมีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท เราจะเห็นว่ามีหลายแบรนด์ที่แข่งขันในตลาด แถมราคาก็ไม่แพง ในช่วงที่อากาศร้อนแบบนี้ ดันยอดขายให้น้ำดื่มมียอดขายเพิ่มขึ้น ยิ่งใกล้สงกรานต์ที่คนจะออกมาเล่นน้ำคลายร้อน ยอดขายจะยิ่งเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่

7.น้ำผลไม้ /ผลไม้สด

หน้าร้อนขายอะไรดี

เครื่องดื่มชื่นใจแถมดีต่อสุขภาพในหน้าร้อนแบบนี้ต้องยกให้น้ำผลไม้และผลไม้สดต่างๆ เช่น แตงโม แคนตาลูป มะม่วง สับปะรด เป็นต้น เมนูผลไม้ปั่นราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า ทำเลขายที่ดีที่สุดคือย่านที่คนพลุกพล่าน ซึ่งหลายคนเลือกทำเลที่มีการจัดงานสงกรานต์จะเพิ่มยอดขายได้มาก

8.ครีมกันแดด / เสื้อผ้าลายดอก / หมวก

เป็นไอเทมสำหรับหน้าร้อนที่ขาดไม่ได้ สินค้าเหล่านี้ในแพลตฟอร์มออนไลน์ขายดีมาก ยอดขายเพิ่มขึ้นเยอะยิ่งใกล้เทศกาลสงกรานต์ก็ยิ่งขายดี ซึ่งราคาก็มีหลากหลายตามคุณภาพสินค้า บางรายรับสินค้ามาขายตามตลาดนัดก็มียอดขายที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน

หากไปดูสัดส่วนของการใช้จ่ายในช่วงสงกรานต์ที่จะถึงนี้คาดว่า

  • 90% วางแผนที่จะใช้เงินซื้ออาหารและเครื่องดื่มในช่วงสงกรานต์
  • 52% คาดว่าจะใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ของปี
  • 60% วางแผนในการที่จะใช้เงินโบนัสจับจ่ายช่วงสงกรานต์
  • 40% ตั้งใจที่จะใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์ด้านความงามและของใช้ส่วนตัว

วงเงินที่คาดว่าจะใช้จ่ายในช่วงสงกรานต์เฉลี่ยต่อคนคือ 2,000 – 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.47 รองลงมาคือค่าใช้จ่ายต่อคนระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 25.35 และคาดว่าตัวเลขการจับจ่ายในช่วงสงกรานต์ 2567 จะมีไม่ต่ำกว่า 4.7 หมื่นล้านบาท

ในมุมหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นภาพรวมว่าสงกรานต์ปีนี้คึกคักมากเป็นพิเศษ แม้จะสวนทางกับปัจจัยรายได้ของหลายคนที่ลดลง ค่าครองชีพที่เพิ่มสูง แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นเทศกาลสงกรานต์ คนส่วนใหญ่ก็กัดฟันสู้ ยอมจ่ายเพื่อแลกกับความสุขของตัวเองและครอบครัว หลายคนบอกว่าเอาไว้หลังสงกรานต์ค่อยมาคิดกันอีกที ว่าหลังจากนี้จะวางแผนการใช้เงินต่อไปอย่างไรได้บ้าง 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด