แฉ! ทุกข์แฟรนไชส์ซี ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ยากกว่าเลิกธุรกิจของตัวเอง

หลายคนซื้อแฟรนไชส์มาแล้วขายไม่ดี ขาดทุนไม่เป็นไปตามโฆษณา อยากจะยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด แต่ไม่สามารถยกเลิกได้ง่ายๆ ต้องถูกปรับเงินทุกเดือนจนกว่าจะครบสัญญา บางแบรนด์แฟรนไชส์ถ้าจะยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ก็มีการห้ามแฟรนไชส์ซีทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันอีก 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี

คนซื้อแฟรนไชส์ที่เจอปัญหาแบบกันนี้ สงสัยว่าเป็นการเอาเปรียบหรือไม่ และ ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ถึงยากขนาดนี้

ก่อนเซ็นสัญญา ต้องรู้ระบบแฟรนไชส์!

ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์

ก่อนอื่นผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องศึกษาและทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์อย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ จะได้ไม่เกิดปัญหาหรือถูกฟ้องจากเจ้าของแฟรนไชส์ได้ และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของแฟรนไชส์ด้วย

ปัจจุบันไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ แต่ธุรกิจแฟรนไชส์มีกฎหมายในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์ เป็นสัญญาประเภทหนึ่งภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ชี้ให้เห็นว่าสัญญาแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร

ระบบแฟรนไชส์ในทางสัญญาแฟรนไชส์ ผู้ขายแฟรนไชส์อนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ ตราสินค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธีต่างๆ ของผู้ขายแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์มีข้อตกลงให้ความช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่างๆ อาทิ ระบบบัญชี การเงิน การตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และวิธีดำเนินกิจการในบางประการเพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ทำไม? เลิกสัญญาแฟรนไชส์ยาก

ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์

เอกสารสัญญาอะไรตาม ถ้าหากเซ็นลงนามไปแล้วเลิกยากกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นวงการนักร้อง นักแสดง ธุรกิจเงินกู้ และอื่นๆ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ ฝ่ายไหนทำผิดสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญา อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะทำธุรกิจและเซ็นสัญญาอะไร ควรศึกษาข้อมูลธุรกิจหรือสิ่งที่จะทำ รวมถึงอ่านรายละเอียดข้อปฏิบัติและเงื่อนไขในสัญญาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรืออาจจำเป็นต้องมีผู้รู้กฎหมายหรือทนายเป็นที่ปรึกษาก่อนเซ็นสัญญา

คุณทักษอร สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ให้สัมภาษณ์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์อาหารที่ให้สูตรผู้รับสิทธิต่อว่า แฟรนไชส์ที่ให้สูตร หรือ Know-how ส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ทักษะในการประกอบอาชีพ เจ้าของแฟรนไชส์อาจมีเงื่อนไขบังคับมากขึ้น เช่น หากเลิกทำแฟรนไชส์ ต้องไม่ทำธุรกิจแบบเดียวกันในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งข้อบังคับทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์ด้วย

เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องระบุรายละเอียดข้อบังคับและเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์ให้ชัดเจน ครอบคลุม รัดกุม ให้คนซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดมีสิทธิ์ใช้ได้แค่ไหน หรืออาจจะมีเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น หากหมดสัญญาจะใช้ชื่อธุรกิจแอบอ้างไม่ได้ หรือ ห้ามนำสูตร และ Know-how ของทางแบรนด์แฟรนไชส์ไปใช้ต่อ และต้องไม่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันด้วย

ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์

กรณีถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับสูตร หรือ Know-how ไป หากหมดสัญญา แล้วไม่ต่อสัญญา แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังนำสูตรนั้นไปปรับปรุงเพื่อขายต่อ แต่ในสัญญาแฟรนไชส์ไม่ได้ระบุเงื่อนไขห้ามนำไปใช้หรือปรับปรุงเอาไว้ตั้งแต่แรก ถือว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ผิด เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่สามารถฟ้องร้องผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้

หรือกรณีในสัญญา ระบุเงื่อนไขว่า หากหมดสัญญาหรือไม่ต่อสัญญาแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีต้องส่งคืนคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุใดๆ ที่ระบุหรือบันทึกข้อมูลและความลับทางการค้าให้แก่แฟรนไชส์ซอร์โดยทันที

หากแฟรนไชส์ซีไม่ยอมส่งเอกสารดังกล่าวคืน แฟรนไส์ซอร์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากแฟรนไชส์ซีเป็นจำนวน 100,000 บาท ได้ โดยไม่เป็นการตัดสิทธิแฟรนไชส์ซอร์ฟ้องร้องคดีอาญา หรือคดีแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มตามสัญญา

ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์

สรุปก็คือ สัญญาแฟรนไชส์ระบุข้อปฏิบัติและเงื่อนไขที่เจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ไว้อย่างไร ทั้ง 2 ฝ่ายต้องปฏิบัติตาม หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามหรือผิดสัญญา อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

เพราะฉะนั้น ก่อนเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ ต้องศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ ศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องการซื้อ ไม่ซื้อแฟรนไชส์ตามกระแส เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช