กรมทรัพย์สินฯ ไขกระจ่าง! ข้อควรรู้คุ้มครองสิทธิก่อนขาย “แฟรนไชส์”

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ แต่ยังมีกฎหมายเฉพาะในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ที่ชี้ให้เห็นว่าสัญญาแฟรนไชส์มีความเกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการและสิทธิบัตร

ใครคิดจะขายแฟรนไชส์ อย่างแรกต้องรู้เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้าและบริการ ตลอดจนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของตัวเอง

กรมทรัพย์สินฯ ไขกระจ่าง! ข้อควรรู้คุ้มครองสิทธิก่อนขาย “แฟรนไชส์”

ThaiFranchiseCenter.com มีโอกาสสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อไขกระจ่างเรื่องการคุ้มครองสิทธิในธุรกิจแฟรนไชส์ หลังเกิดประเด็นดราม่าหลายครั้ง เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร มาดูกัน

จดเครื่องหมายการค้า ก่อนขายแฟรนไชส์

นางสาวทักษอร สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ก่อนทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีเครื่องหมายการค้าและบริการ โดยเจ้าของแบรนด์ต้องไปจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เพื่อคุ้มครองสิทธิให้กับตัวเอง ก่อนขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น เพราะหากไม่ดำเนินการคุ้มครองสิทธิตนเองตั้งแต่เริ่มแรก หากมีคนนำไปใช้ หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปอ้างสิทธิ เจ้าของแฟรนไชส์อาจไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของได้

ปัจจุบันรูปแบบการทำธุรกิจแฟรนไชส์มีหลากหลายประเภท บางธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวกับการสินค้าและบริการ เช่น แฟรนไชส์อาหาร มีทั้งกรณีที่ให้สูตรผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำเอง หรือต้องซื้อวัตถุดิบที่ปรุงสำเร็จแล้วจากแฟรนไชส์ซอร์เพื่อนำไปขาย

กรณีถ้าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร จะมีเรื่องสูตรที่เป็นความลับทางการค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นแฟรนไชส์ซีต้องใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ ภายใต้การควบคุมของแฟรนไชส์ซอร์ ตอนที่ทำสัญญาแฟรนไชส์กันจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของสัญญาที่เขียนเอาไว้ว่า

อนุญาตให้นำเครื่องหมายการค้าไปใช้ได้ และทางแฟรนไชส์ซอร์ก่อนขายแฟรนไชส์ต้องไปจดทะเบียนอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการกับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

หลังจากเซ็นสัญญาแฟรนไชส์กันแล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องใช้เครื่องหมายการค้าและบริการอย่างเคร่งครัด เจ้าของแฟรนไชส์ให้ใช้หรือกำหนดแบบไหนก็ต้องเป็นแบบนั้น อย่าไปเติมอย่างอื่นเพิ่ม หรือใส่ชื่อ ใส่หน้าตัวเองเข้าไป

ไม่ระบุในสัญญา นำสูตรทำต่อ ไม่ผิด

คุณทักษอร อธิบายแฟรนไชส์อาหารที่ให้สูตรผู้รับสิทธิต่อว่า แฟรนไชส์ที่ให้สูตร หรือ Know-how ส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ทักษะในการประกอบอาชีพ เจ้าของแฟรนไชส์อาจมีเงื่อนไขบังคับมากขึ้น เช่น หากเลิกทำแฟรนไชส์ ต้องไม่ทำธุรกิจแบบเดียวกันในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งข้อบังคับทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์ด้วย

เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องระบุรายละเอียดข้อบังคับและเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์ให้ชัดเจน ครอบคลุม รัดกุม ให้คนซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดมีสิทธิ์ใช้ได้แค่ไหน หรืออาจจะมีเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น หากหมดสัญญาจะใช้ชื่อธุรกิจแอบอ้างไม่ได้ หรือ ห้ามนำสูตร และ Know-how ของทางแบรนด์แฟรนไชส์ไปใช้ต่อ และต้องไม่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันด้วย

กรณีถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับสูตร หรือ Know-how ไป หากหมดสัญญา แล้วไม่ต่อสัญญา แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังนำสูตรนั้นไปปรับปรุงเพื่อขายต่อ แต่ในสัญญาแฟรนไชส์ไม่ได้ระบุเงื่อนไขห้ามนำไปใช้หรือปรับปรุงเอาไว้ตั้งแต่แรก ถือว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ผิด เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่สามารถฟ้องร้องเขาได้

เจ้าของแบรนด์ไม่มีความรู้ เหมือนเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์

ข้อควรรู้คุ้มครองสิทธิก่อนขาย “แฟรนไชส์”

เมื่อถามกรณีแฟรนไชส์ลูกชิ้นเชฟเจ้าดัง คุณทักษอร ให้ความเห็นว่า ก่อนทำแฟรนไชส์ต้องมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ไม่เช่นนั้นจะเขียนสัญญาแฟรนไชส์และคู่มือการทำแฟรนไชส์ไม่ได้ ซึ่งจริงๆ การทำแฟรนไชส์หัวใจสำคัญอยู่ที่สัญญาแฟรนไชส์ กรณีแฟรนไชส์อาหารสัญญาแฟรนไชส์จะต้องควบคุมถึงวิธีการทำ วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ และบางครั้งแฟรนไชส์ซอร์จะมีการส่งวัตถุดิบไปให้แฟรนไชส์ซีด้วยซ้ำ เพื่อควบคุมคุณภาพมาตรฐานเหมือนกับต้นตำรับ

“กรณีไม่ทำสัญญาแฟรนไชส์ แต่เป็นสัญญาปากเปล่าก็จะเกิดปัญหาขึ้น ไม่สามารถฟ้องร้องกันได้ ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขายไป ปกติการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง สัญญาแฟรนไชส์ต้องควบคุมทุกเรื่อง ตั้งแต่การใช้เครื่องหมายการค้า การผลิต การขาย รูปลักษณ์ หน้าตาของร้าน ราคาขาย ต้องลงรายละเอียดถึงขั้นนั้น” คุณทักษอร กล่าว

ข้อควรรู้คุ้มครองสิทธิก่อนขาย “แฟรนไชส์”

คุณทักษอร อธิบายกรณีแฟรนไชส์ลูกชิ้นเชฟดังไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ เลยเกิดปัญหาขึ้น คือ ถ้าคุณจะทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ถ้าไม่มีความรู้ เรื่องสัญญาแฟรนไชส์คุณจะเขียนอย่างไร ถ้าอยากหาความรู้เพิ่มเติมมาติดต่อที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ถ้าขายแบบไม่มีความรู้ แบบเชฟดัง ก็เหมือนเป็นการเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์

การทำแฟรนไชส์ที่แท้จริง ต้องมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และจดทะเบียนอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการด้วย ถ้าไม่มีการจดทะเบียนถือเป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าแบบไม่สมบูรณ์ เหมือนเป็นการอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้าแบบเถื่อนๆ ถ้าแฟรนไชส์ซอร์จะฟ้องร้องถือว่าเสียเปรียบมากๆ

ต้องรู้อะไร! ก่อนขายแฟรนไชส์

  • ตรวจสอบรายละเอียดตราสินค้าหรือแบรนด์ว่าไม่ซ้ำกับใคร
  • จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์
  • จดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ
  • จัดทำสัญญาแฟรนไชส์ระบุขอบเขต สิทธิต่างๆ หน้าที่แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีทุกอย่างให้ชัดเจน
  • จดสิทธิบัตร (Patent )ต้องเป็นสูตรใหม่จริงๆ เปิดเผยวิธีการทำ ครั้งแรกทำยาก พอทำเสร็จ คนอื่นทำตามได้ มีอายุคุ้มครอง 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร
  • จดอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ลดขั้นมาจากสิทธิบัตร ถ้าของไม่ล้ำมาก แต่เป็นสิ่งใหม่ จะคุ้มครองได้ มีอายุคุ้มครอง 6 ปี ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 10 ปี
  • ความลับทางการค้า (Trade secret) อะไรที่คนอื่นไม่รู้แล้วเก็บเป็นความลับ เลียนแบบได้ยาก คือทรัพย์สินทางปัญญา คุ้มครองง่าย ถ้ารักษาให้เป็นความลับ ไม่สามารถจดทะเบียนได้

“หัวใจสำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องควบคุมคุณภาพให้เหมือนต้นตำรับ ไม่เช่นนั้นเวลาคนเอาไปทำเละเทะ เสียชื่อเสียง สุดท้ายก็ย้อนกลับมาที่เจ้าของแฟรนไชส์ อยากจะขายแต่ไม่มีการควบคุมมาตรฐาน มันเป็นไปไม่ได้” 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช