รวมด้านมืดแฟรนไชส์ไทย ปี 2566

ข้อดีของธุรกิจแฟนไชส์ ช่วยให้เจ้าของแฟรนไชส์ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ใช้เงินลงทุนต่ำ มีรายได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องลองผิดลองถูกในการเริ่มต้นธุรกิจ ได้แบรนด์แฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง สินค้าและบริการได้รับความนิยมของตลาด

แต่ถ้าเลือกลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ดี หรือไม่ศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะซื้ออย่างละเอียด อาจได้รับความเสียหายทั้งเงินลงทุนและเวลา มาดูกันว่าตลอดทั้งปี 2566 มีด้านมืดของแฟรนไชส์ที่เจ้าของแฟรนไชส์ฉ้อโกงอย่างไรบ้าง

1.แฟรนไชส์ย่างให้

รวมด้านมืดแฟรนไชส์ไทย ปี 2566

เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2566 กลุ่มผู้เสียหายรวมตัวร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากถูก “นายมณฑล ทองคำ” เจ้าของแฟรนไชส์ย่างให้ ชักชวนให้ร่วมลงทุน อ้างได้ผลตอบแทนสูง

ลงทุนแค่ 7,000 บาท สามารถปลดหนี้ 10 ล้านบาท ภายใน 6 เดือน คืนทุนได้ภายใน 1 เดือน สร้างความน่าเชื่อถือโดยการออกรายการโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ต่างๆ การันตีความสำเร็จของธุรกิจย่างให้ด้วยจำนวนสาขากว่า 400 แห่งทั่วประเทศ สร้างความเสียหายกว่า 5.53 ล้านบาท

2.แฟรนไชส์สตรีทฟู้ด

ภาพจาก https://bit.ly/3RhNZpo

เป็นข่าวดังเพียงข้ามคืนกรณีสาวในกรุงเทพฯ ติดต่อซื้อแฟรนไชส์สตรีทฟู้ดชื่อดังหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ไม่มีหนังสือสัญญาให้ มีแต่ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์โอนเงินค่าทำสัญญาแฟรนไชส์ และค่าวัตถุดิบอย่างเดียวราว 10,000 บาท อีกทั้งยังขายแฟรนไชส์ 1 สาขาให้ 2 คน เหมือนเป็นการขายแฟรนไชส์ทับซ้อนกัน แต่ไม่มีสาขาอยู่จริง

3.แฟรนไชส์ “หม่าล่า”

ภาพจาก FB : อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 นายธีรภัทร แร่อร่าม ผู้เสียหายจากการซื้อแฟรนไชส์ออกมาเปิดเผยผ่านรายการโทรทัศน์ “ถกไม่เถียง” หลังตกงานได้นำเงินเก็บ 40,000 บาท ไปลงทุนซื้อแฟรนไชส์หม่าล่ากับชายคนหนึ่งซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์รายนั้นได้แนะนำชุดโปรโมชั่นราคา 9,900 บาท ลดเหลือ 8,900 บาท

หลังจากนั้นทำสัญญาวันที่ 28 กันยายน 2566 มีการชำระเงิน ค่าแฟรนไชส์ หลังจากนั้นหาทำเลในตลาดตั้งเป้าเปิดขายวันที่ 2 ตุลาคม 2566 และโอนเงินค่าวัตถุดิบ 2,030 บาทให้เจ้าของแฟรนไชส์ กำหนดส่งของทันวันที่ 2 ตุลาคม 2566 พอถึงวันที่ 2 เจ้าของแฟรนไชส์ขอเลื่อนส่งของ

อ้างเคาน์เตอร์ที่สั่งโรงงานทำไม่เสร็จ เลื่อนเป็นวันที่ 4 ตุลาคม พอถึงวันที่ 4 เจ้าของแฟรนไชส์แจ้งว่าได้แค่เคาน์เตอร์ตั้งร้าน ป้ายไวนิล 1 ใบ ส่วนของสดยังไม่มา ผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้โอกาสเป็นวันที่ 5 พอวันจริงเจ้าของแฟรนไชส์ได้ติดตั้งเคาน์เตอร์ร้านให้

แต่อ้างว่าของสดลูกน้องกำลังตามมาส่ง และเจ้าของแฟรนไชส์เสนอให้สั่งของสดเพิ่ม เสนอถังแก๊ส ด้วยความที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์คิดว่าของกำลังนำมาส่ง จึงสั่งของสดเพิ่ม และจ่ายเงินเพิ่มอีก 4,000 บาท สุดท้ายไม่มีของมาส่ง เจ้าของแฟรนไส์ก็อ้างว่าจะไปตามของจากลูกน้องมาให้ จากนั้นหายไปเลย

เมื่อติดต่อเจ้าของแฟรนไชส์รายนั้น ก็อ้างบ่ายเบี่ยงไปเรื่อย รถชนบ้าง เปลี่ยนโทรศัพท์บ้าง จนสุดท้ายติดต่อเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ได้ สร้างความเสียหายกว่า 86,000 บาท หลังจากนั้นผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้แปะป้ายชื่อร้านเป็น “ยำโดนโกง” ตามที่เป็นข่าว

4.แฟรนไชส์ขนส่งจีนชื่อดังอักษรย่อ “บ”

ภาพจาก https://bit.ly/3tcHmwA

วันที่ 7 ธันวาคม 2566 กลุ่มผู้เสียหายกว่า 20 คน เข้าแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้ตรวจสอบบริษัทแฟรนไชส์ขนส่งชื่อดังจากจีน ย่านบางนา ปัจจุบันมีสาขากว่า 100 สาขาทั่วประเทศ เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน โดยกลุ่มผู้เสียหายรายหนึ่งได้ซื้อแฟรนไชส์เมื่อปี 2563 ทางบริษัทอ้างว่าจะให้เงินสนับสนุน 8 เดือน พอถึงเวลากลับได้แค่เดือนครึ่ง

อีกทั้งยังเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยครั้ง ปรับรูปแบบการส่งพัสดุจากชิ้นเล็กเป็นชิ้นใหญ่โดยไม่แจ้งสาขาแฟรนไชส์ล่วงหน้า ทำให้สินค้าตกค้าง เนื่องจากไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามกำหนด เมื่อเกิดปัญหาทางบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบ

อีกทั้งผู้เสียหายต้องจ่ายเงินประกัน 400,000 บาทต่อสาขา พอเกิดปัญหาขึ้นทางผู้เสียหายขอทำเรื่องขอคืนเงินประกัน แต่ไม่ได้เงินคืน ซึ่งจริงๆ ต้องได้เงินคืนภายใน 90 วัน บางรายลงทุน 100 ล้านบาท สร้างความเสียหายรวมกว่า 300 ล้านบาท

5.แฟรนไชส์ลูกชิ้นและก๋วยเตี๋ยวแซ่บแห้งจงอางหวงไข่

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์ โดยวันที่ 8 ธันวาคม 2566 มีคนโพสต์เรื่องราวของสาวท่านหนึ่งไปซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นจากเชฟอ้อย “ยุวดี ชัยศิริพาณิชย์” โดยอ้างว่าระบบแฟรนไชส์ไม่แฟร์ เอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ ลงทุนไปแล้วเกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง

ทั้งขายไม่ได้กำไร เจ้าของแฟรนไชส์ส่งเครื่องทำลูกชิ้นล่าช้า จากที่จะได้รับ 40 วัน กลายเป็น 60 วัน พบผู้เสียหายกว่า 40 คน แต่ไม่ได้ออกมาพูด จนกระทั่งต่อทางเชฟอ้อยได้ออกมาชี้แจงว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำผิดสัญญา ไม่ทำตามสูตร จึงต้องงยกเลิก ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่พอใจพูดจาให้ร้าย ตนจึงเตรียมแจ้งเอาผิดเจ้าของโพสต์และคอมเม้นท์

นั่นคือ ด้านมืดของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คนได้รับผลกระทบจากการซื้อแฟรนไชส์ โดยคิดเพียงแค่ต้องการสร้างอาชีพ หารายได้เพิ่มเลี้ยงดูครอบครัว แต่สุดท้ายโดนเจ้าของแฟรนไชส์โกง หลอกลงทุน เอารัดเอาเปรียบ สร้างความเสียหายให้กับผู้ลงทุนแฟรนไชส์รวมกันหลายร้อยล้านบาทตลอดทั้งปี 2566

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช