มาแน่! 5 NEW S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2567

นับตั้งแต่การระบาดโควิด-19 เป็นต้นมา หลายๆ ธุรกิจเริ่มพูดถึง New S-CURVE กันมากขึ้นเรื่อยๆ มีการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้า-บริการ และโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตใหม่ให้กับธุรกิจ สำหรับในปี 2567 มาดูกันว่า 5 New S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์ ที่คาดว่าจะมาแรงและได้รับความนิยมมีอะไรกันบ้าง

1.นำ AI มาช่วยดำเนินธุรกิจ

5 NEW S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์

ภาพจาก https://bit.ly/4aadSQp

การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี AI อาจทำให้ในอนาคตมีความสามารถใกล้เคียงหรือมากกว่าคนในบางทักษะ ในปี 2567 ธุรกิจแฟรนไชส์สามารถใช้ประโยชน์จาก ChatGTP ในการปรับปรุงการสื่อสารกับลูกค้าและผู้ซื้อแฟรนไชส์ พัฒนากลยุทธ์การทำตลาด การนำเสนอคอนเทนต์ขายแฟรนไชส์ การโต้ตอบกับลูกค้าได้

รวมถึงพัฒนาการฝึกอบรมแฟรนไชส์ซี ไม่เพียงเท่านี้ธุรกิจแฟรนไชส์ยังสามารถนำเทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยงานคลังสินค้า ตลอดจนนำมาช่วยคาดการณ์เรื่องการอนุมัติขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เนื่องจาก AI สามารถสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

2.ใช้ประโยชน์จาก Big Data

5 NEW S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์

ที่ผ่านมาเราได้เห็นธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ได้นำ Big Data มาเป็นฐานข้อมูลในการสร้างประสบการณ์และนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการ รวมถึงการนำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาใช้ในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านแต่ละสาขา

โดยธุรกิจแฟรนไชส์สามารถเก็บข้อมูลตั้งแต่การสถานที่ตั้ง ความหนาแน่นประชากร การสัญจรของประชาชน พฤติกรรมการบริโภคของคนในพื้นที่นั้นๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจเปิดสาขาแฟรนไชส์

3.ทำการ Digital Marketing

5 NEW S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์

ภาพจาก www.youtube.com/@ThaiFranchise/shorts

Digital Marketing จะมีความสำคัญต่อธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2567 เนื่องจากเป็นการทำตลาดผ่านสื่อออนไลน์ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่างๆ สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะการนำเสนอคอนเทนต์แนววิดีโอสั้น หรือ Short Video กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Reels, Youtube Shorts เป็นต้น คอนเทนต์แนวนี้จะช่วยให้เกิดการแชร์ต่อ และดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์แฟรนไชส์มากขึ้น

4.แฟรนไชส์ Self Service

ภาพจาก แฟรนไชส์ จี เพาเวอร์

แฟรนไชส์ในรูปแบบบริการตัวเอง เช่น เวนดิ้งแมชชีน ร้านสะดวกซัก ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ตู้น้ำ ตู้น้ำแข็ง ตู้ล้างรถหยอดเหรียญ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า และอื่นๆ จะได้รับความนิยมมากขึ้นในปี 2567 คนจะเริ่มทำธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้มากขึ้นเปรียบเสมือนเป็นเสือนอนกิน แม้ว่าธุรกิจเหล่านี้จะใช้เงินลงทุนสูงในช่วงเริ่มแรก แต่สามารถสร้างรายได้ระยะยาว

5.ใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานคน

ภาพจาก https://bit.ly/3RffnEf

แฟรนไชส์ร้านอาหารในต่างประเทศเริ่มใช้หุ่นยนต์มาช่วยรับออร์เดอร์และประกอบอาหาร แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน อย่างในกรณีเกาหลีใต้ใช้หุ่นยนต์ทอดไก่ ปรากฏว่ารสชาติอร่อยกว่าคนทอดและใช้เวลาน้อยลงอีกต่างหาก ส่วนในญี่ปุ่นร้านสะดวกซื้ออย่างแฟมิลี่มาร์ทหันมาใช้หุ่นยนต์ช่วยสต็อกสินค้าทดแทนแรงงานคน ตั้งเป้านำร่อง 300 สาขาทั่วประเทศ

นั่นคือ 5 NEW S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์ ที่หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์จะเริ่มนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจปี 2567 

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช