สร้างอัตรากำไรในยอดขาย ขึ้นราคา หรือ ลดปริมาณ อาจรู้สึกเนียน แต่ผลกระทบมหาศาล

วิธีคิดกำไร (Profit) แบบง่ายๆ คือนำ รายได้ – รายจ่ายทั้งหมด คำถามคือในการทำธุรกิจ ปัจจัยอะไรที่จะนำมาสู่ “กำไร” ได้บ้าง

หลายธุรกิจมีเทคนิคที่แตกต่างกันไปทั้งการควบคุม “ต้นทุน” ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือบางแห่งก็ใช้เทคนิค “การขึ้นราคา” หรือ “ลดปริมาณสินค้า” ก็นำมาสู่คำถามที่น่าสนใจว่า แล้ววิธีไหนคือแนวทางที่จะสร้าง “กำไร” ได้อย่างสูงสุด

สร้างอัตรากำไรในยอดขาย

แต่ที่แน่ๆ คือไม่ว่าจะเพิ่มราคาขาย เพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หรือการ ลดปริมาณ(คุณภาพสินค้า) เพื่อคงราคาขายเดิมเอาไว้ สิ่งที่มีผลแน่ๆ คือ “ความรู้สึกของลูกค้า” ดังนั้นแล้วเพื่อให้เกิดผลกระทบกับธุรกิจน้อยที่สุด ในขณะที่จะทำให้ธุรกิจได้กำไรสูงสุดด้วยเช่นกัน สิ่งที่ควรเรียนรู้คือ “Price Elasticity of Demand” หรือความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้า

อธิบายความหมายของคำว่า “อุปสงค์” คือ ความต้องการที่คนจะซื้อสินค้านั้น ๆ ส่วนคำว่า “ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา” คือ ความต้องการสินค้าที่เปลี่ยนไป จากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

สินค้าใดก็ตามที่มีความยืดหยุ่นมาก โอกาสขึ้นราคาเป็นไปได้น้อย ในทางตรงกันข้าม สินค้าใดก็ตามที่มีความยืดหยุ่นน้อย โอกาสขึ้นราคาจะเป็นไปได้มากกว่า

สร้างอัตรากำไรในยอดขาย

สมมุติว่าเปิดร้านชานมไข่มุก แล้วอยากจะขึ้นราคาให้สูงๆ แต่ปรากฏว่าขึ้นราคาแล้ว ลูกค้าหายไปเยอะมาก นั่นแสดงว่าสินค้าเรามีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง เพราะลูกค้ามีตัวเลือกมาก เขาไม่จำเป็นต้องมาซื้อชานมไข่มุกที่ร้านเราเท่านั้น ในเมื่อร้านเราแพง เขาก็หันไปหาตัวเลือกอื่น อาจจะเป็นร้านอื่น หรือเครื่องดื่มแบบอื่นที่ราคาถูกกว่า เป็นต้น

ในขณะเดียวกันสมมุติว่าเราทำธุรกิจคาร์แคร์และเป็นเจ้าเดียวในแถวนั้น เราอยากจะขึ้นราคา ซึ่งลูกค้าก็จำเป็นต้องมาใช้บริการของเราเพราะแถวนั้นไม่มีที่ไหนให้ล้างรถได้ แบบนี้เท่ากับว่าความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ต่อราคาเราต่ำ ลูกค้ามีตัวเลือกไม่มาก ไม่สามารถหาอะไรมาทดแทนสินค้าเราได้ หรือจะเรียกว่าเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นกับชีวิตก็ได้

สร้างอัตรากำไรในยอดขาย

ในความเป็นจริง คำว่า “ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา” อาจขึ้นอยู่กับว่า เป็นสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่จำเป็นกับชีวิต ก็ต้องลองมาย้อนดูธุรกิจของเราเองว่าเป็นสินค้าประเภทไหน มีความจำเป็นกับผู้คนมากน้อยอย่างไร ถึงจะไปสัมพันธ์กับ “การขึ้นราคา” หรือจะเลือก “ลดปริมาณ” เพื่อให้มีโอกาสสร้างกำไรสูงสุด

แต่ในโลกของธุรกิจสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตอาจไม่ได้มีเยอะแยะ ที่เยอะกว่าคือพวกสินค้าฟุ่มเฟือยที่มองว่ามีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง ถ้าดันทุรังไปขึ้นราคาก็เท่ากับฆ่าตัวตาย ชนิดที่อาจทุนหายกำไรหดยิ่งกว่าเดิม วิธีที่ใช้แบบเนียนๆ คือ “ลดปริมาณสินค้า” หรือเรียกว่า Shrinkflation

สร้างอัตรากำไรในยอดขาย

เทคนิคนี้จุดเด่นคือ การลดปริมาณ ขนาด หรือปรับส่วนผสมของสินค้า แต่ยังคงราคาขายเท่าเดิม ซึ่งไม่ใช่แค่ในเมืองไทยแต่วิธีนี้นิยมใช้ไปทั่วโลกเพราะมองว่าเป็นวิธีเพิ่มกำไรให้ธุรกิจได้แบบเนียนๆ และส่งผลกระทบต่อความรู้สึกผู้บริโภคน้อยที่สุดด้วย

ฃึ่งถ้ามองด้านความยุติธรรม กลายเป็น “ลูกค้าโดนเอาเปรียบ” ที่จ่ายเท่าเดิมแต่ดันได้สินค้าในปริมาณที่ลดลง อย่างไรก็ดี

ผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 4 หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยทั่วโลก 22% ยอมรับได้ในการใช้กลยุทธ์ Shrinkflation ขณะที่อีกกว่า 48% มองว่าการลดขนาดสินค้า แต่คงราคาเท่าเดิม เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

แต่ถ้ามองเฉพาะในส่วนของประเทศไทยเกี่ยวกับการ “ลดปริมาณสินค้า” พบว่า

  • 39% ของผู้บริโภคสังเกตเห็นขนาดสินค้าเล็กลงแต่ราคาคงเดิม
  • 57% รู้ว่าต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ขนาดสินค้าเท่าเดิม
  • 29% สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของส่วนผสมที่ใช้ในอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยที่ราคาคงเดิม

แต่สิ่งที่แตกต่างและสวนทางกับชาวโลกคือ 50% ของคนไทยคิดว่า การที่ธุรกิจและผู้ค้าปลีกทำการลดขนาดสินค้า โดยยังคงราคาเท่าเดิม เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

ชานมไข่มุกยุคนี้

ดังนั้นถ้าจะไปฟันธงว่าสินค้าเราควรใช้วิธีไหนระหว่างขึ้นราคาหรือลดปริมาณสินค้า ต้องดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทก็มีวิธีสร้างกำไรสูงสุดที่ต่างกัน จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับสินค้าที่มี และอาจต้องยอมรับผลกระทบที่ตามมาเพราะไม่ว่าจะ “ขึ้นราคา” หรือ “ลดปริมาณสินค้า” ในมุมมองของคนซื้อก็เหมือนถูกเอาเปรียบ เพราะสุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์คือร้านค้าและบรรดานายทุนต่างๆ ยิ่งในยุคนี้ที่สถาวะที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงมาก การห่ำหั่นในด้านราคาจึงมีให้เห็นทุกที่

วิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษา “ความรู้สึกลูกค้า” พร้อมกับการสร้างรายได้ในอัตราสูงสุดร่วมด้วย ร้านค้าอาจต้องแสดงความจริงใจหรือสื่อสารให้ลูกค้าเห็นถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงราคาหรือขนาดสินค้า หรือยุคนี้อาจมีการทำ CSR ที่ยกระดับภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ดีขึ้นได้

หรือจะให้ดีสุดๆไปเลยหากตอนนี้เรายังไม่ได้เริ่มธุรกิจอะไรก็ควรสำรวจในตลาดก่อนว่าสินค้าอะไรที่น่าจะขายดี และยังไม่คู่แข่ง ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่จะสร้างธุรกิจให้มีกำไรสูงสุดได้เช่นกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด