สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว สร้างหนี้รอบด้าน รายได้ปริ่มน้ำ

หนี้ครัวเรือน” เป็นคำที่เราได้ยินติดหูมาอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ประเมินสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ 91.4% หรือประมาณ 16.9 ล้านล้านบาท ขณะที่หนี้บัตรเครดิต ลิสซิ่ง และหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล คาดว่าจะโตเร็วที่สุดในรอบทศวรรษ

คนไทยติดหรู เป็นหนี้อะไรบ้าง

สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว

จากการสำรวจพฤติกรรมของคนไทยที่เป็นหนี้ ส่วนใหญ่มาจากการเป็นคนชอบติดหรู ติดเทรนด์ ติดกระแส ชอบความสะดวกสบาย ใช้เงินเกินตัว โดยคนไทยวัยทำงานอายุ 25-29 ปี มากกว่า 58% เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ ทำงานไม่ถึงปีใช้บัตรเครดิตใช้จ่าย กินเที่ยวจนเต็มวงเงิน ต้องจ่ายหนี้ขั้นต่ำจนพอกพูน กลายเป็นหนี้เสียตามมา

มาดูกันว่ามูลค่า สัดส่วน และอัตราการขยายตัวของหนี้สินครัวเรือน ปี 2566 จำแนกตามวัตถุประสงค์การกู้เงิน ดังนี้

  1. สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 5.5 ล้านล้านบาท สัดส่วน 33.8% ของหนี้ครัวเรือน
  2. สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ มูลค่า 2.9 ล้านล้านบาท สัดส่วน 17.8% ของหนี้ครัวเรือน
  3. สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล มูลค่า 4.4 ล้านล้านบาท สัดส่วน 27.3% ของหนี้ครัวเรือน โดยหนี้ส่วนบุคคลแบ่งเป็น
    • สินเชื่อส่วนบุคคล 3.1 ล้านล้านบาท สัดส่วน 19.3% ของหนี้ครัวเรือน
    • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ (สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ,สินเชื่อบัตรกดเงินสด) มูลค่ารวม 8 แสนล้านบาท คิดเป็น 5.1% ของหนี้ครัวเรือน
    • สินเชื่อบัตรเครดิตมูลค่ารวม 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.8% ของหนี้ครัวเรือน

คนไทยใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 1.8 หมื่นบาท

สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทยเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 17,984 บาท สัดส่วนการใช้จ่ายยังเป็นสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 58.21% ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 41.79%

แบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นหมวดสินค้า ได้แก่

  • ค่าใช้จ่ายค่าโดยสารสาธารณะ ซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ เฉลี่ย 4,110 บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 3,989 บาท
  • ค่าอาหารบริโภคในบ้าน เดลิเวอรี่ 1,650 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ 1,647บาท ท
  • อาหารบริโภคนอกบ้าน 1,259 บาท
  • ผักและผลไม้ 1,005 บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา ค่าบริการส่วนบุคคล 987 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียนและการกุศลต่างๆ 765 บาท
  • ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 707 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร 430 บาท
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม 412 บาท
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ,ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า 375 บาท
  • ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 243 บาท

คนไทยขาดเงินออม เป็นหนี้สูงกว่ารายได้

สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว

ครัวเรือนไทยกว่า 62% มีเงินออมไม่เพียงพอไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพราะเป็นหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลสูงกว่ารายได้ 20-25 เท่า แต่ละเดือนต้องจ่ายหนี้เกินครึ่งของรายได้ ทำให้มีเงินไม่พอใช้ คนเป็นหนี้ส่วนใหญ่จะผ่อนชำระขั้นต่ำไปยาวๆ ทำให้คนอายุเกิน 60 ปี ยังมีภาระผ่อนชำระหนี้เฉลี่ยกว่า 415,000 บาทต่อคน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เผยผลสำรวจพบว่า

1.กลุ่มคนรายได้น้อยยังมีปัญหารายไม่พอจ่าย มีแนวโน้มเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น เฉพาะกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่มีปัญหารายได้ไม่พอจ่ายสัดส่วนสูงถึง 73% โดยคนกลุ่มนี้เกือบ 70% มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด และมีแนวโน้มต้องกู้มากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้นอกระบบ

2.กลุ่มคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ประสบปัญหาค้างชำระหนี้ เป็นเพราะรายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูงขึ้น ที่สำคัญเวลาจ่ายชำระหนี้มักจ่ายขั้นต่ำ จ่ายไม่เต็มจำนวน หรือผิดนัดชำระหนี้เป็นบางครั้ง

ก่อหนี้” ตามรอยอินฟลูเอนเซอร์

สำรวจคนไทยติดหรู ใช้เงินเกินตัว

สภาพัฒน์ฯ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 ปี 2566 พบว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงอยากให้รัฐบาลออกกฎควบคุมดูแล คือ การนำเสนอคอนเทนต์ของบรรดาเหล่าคนดังในโลกออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า “อินฟลูเอนเซอร์” ส่วนใหญ่มักเผยแพร่เนื้อหาลักษณะของการอวดร่ำอวดรวย ตลอดจนการใช้ชีวิตหรู กินอยู่สบาย อวดสินค้าแบรนด์เนม

การใช้ชีวิตประจำวันตามเทรนด์การชื่อชอบของคน Gen Z ถือเป็นการสร้างค่านิยมแบบผิดๆ ต่อสังคมไทย กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้ง่ายขึ้น อาจนำไปสู่การก่อหนี้เพื่อนำเงินมาซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว อดข้าวไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้

การนำเสนอคอนเทนต์ “อวดรวย” ของอินฟลูเอนเซอร์ เป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย ที่อยู่ในระดับสูงถึง 90.9% ของจีดีพี สภาพัฒน์ฯ ยังพบว่าคุณภาพสินเชื่อด้อยลงทุกประเภท โดยเฉพาะสินเชื่อยานยนต์ ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น พบว่าในปี 2566 สถิติการยึดรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง 25,000 – 30,000 คันต่อเดือน

สาเหตุทำคนไทยเป็นหนี้

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้คนไทยเป็นหนี้ นอกเหนือจากสภาพทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โอกาสทางการศึกษา ที่มีผลต่อการทำงานและรายได้แล้ว คนไทยยังเป็นหนี้มาจากสิ่งเหล่านี้…

  • คนไทยเห็นของลดราคาไม่ได้ หรือสินค้าที่เป็นกระแส อยากซื้อขึ้นมาทันที ทำให้สิ้นเปลืองไปกับการซื้อของ ไม่มีเงินเก็บ ยิ่งใช้บัตรเครดิตหลายใบยิ่งเป็นหนี้บาน
  • คนไทยหลายคนไม่มีความรู้เรื่องการเงิน บางคนคิดว่าจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำของหยอดหนี้ไม่ได้เป็นเรื่องแย่
  • ติดปาร์ตี้ กินหรู อยู่สบาย ว่างเมื่อไหร่ไปคาเฟ่ ร้านอาหารแพงๆ เพื่อถ่ายภาพลงโซเชียล
  • ชอบผ่อน 0% ไม่ประเมินรายได้และรายจ่ายของตัวเอง ขาดวินัยในการผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำให้มีหนี้สะสม
  • อยากรวยทางลัด ติดหนี้เพราะการพนัน เล่นหวยทุกงวด ที่เห็นเป็นข่าวในปัจจุบันทั้งดารา คนวงการบันเทิง ประชาชนทั่วไป เป็นหนี้ส่วนหนึ่งมาจากการเล่นการพนัน โดยเฉพาะพนันออนไลน์ มีทั้งหวย สล็อต เรียกได้ว่าเล่นเป็นเกือบทุกคน เพราะเข้าถึงได้ง่าย เล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา สุดท้ายเป็นหนี้ท่วมหัว

วิธีแก้ปัญหาหนี้เยอะ

  • สำรวจรายรับ-รายจ่าย บันทึกการเงินในแต่ละเดือนว่าแต่ละเดือนมีรายรับเท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ จะรู้ว่าต้องบริหารจัดการอย่างไร
  • ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น อย่าใช้ชีวิตติดหรู เช่น กินร้านอาหารแพงๆ ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
  • จัดลำดับการจ่ายหนี้ ให้จ่ายหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน ไม่ว่าจะเป็นหนี้นอกระบบ หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด
  • หารายได้เสริม เพื่อจะได้นำมาจ่ายหนี้เพิ่มให้เหมดเร็วๆ ที่สำคัญจะได้หมุนเงินได้คล่อง
  • รวมหนี้ หากมีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินจากการชำระหนี้ หรือผ่อนชำระหนี้มากไป การรวมหนี้สามารถปิดหนี้ดอกเบี้ยสูงให้หมดไวได้ โดยการนำหนี้สินทั้งหมดรวมกัน ทั้งดอกเบี้ยสูงรวมกัน โดยธนาคารมีสินเชื่อด้านนี้โดยตรง

สรุปก็คือ สาเหตุที่ทำให้คนไทยเป็นหนี้มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจและระดับรายได้ของประชาชนฟื้นช้า ต้นทุนทางการเงินสูงกว่าในอดีต และพฤติกรรมการก่อหนี้โดยขาดวินัยทางการเงินของคนไทย ซึ่งหากเศรษฐกิจฐานรากยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและแข็งแกร่ง ความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ อาจยังไม่กลับมาเป็นปกติ

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช