8 คุณลักษณะ “แฟรนไชส์ทิพย์” ไม่รู้ไม่ได้แล้ว!

แม้ว่า “แฟรนไชส์” จะเป็นที่รู้จักของคนไทย แต่หากมองให้ดีมีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจความหมายของแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ซึ่งบางคนมองว่าเป็นการใช้เงินลงทุนในธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่ไม่ต้องลงมือดำเนินธุรกิจด้วยตัวเอง รอคอยเพียงเงินปันผลที่จะได้รับในแต่เดือนเท่านั้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวไม่ถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อย่างที่หลายคนเข้าใจ

ใครที่อยากลงทุนแฟรนไชส์จริงๆ แต่ไม่อยากโดนหลอกให้เสียเงิน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 8 คุณลักษณะ “ธุรกิจแฟรนไชส์ทิพย์” หรือธุรกิจที่พยามแอบอ้างขายแฟรนไชส์ เพื่อหารายได้เข้าตัวเองอย่างเดียว โดยไม่มีระบบการทำงานที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว และการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์แต่อย่างใด

8 คุณลักษณะ

1.ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่เจ้าของแฟรนไชส์บอกว่าได้กำไรมาก ควรที่จะเลี่ยงการลงทุน เพราะคุณอาจจะถูกหลอกเหมือนกับแชร์ลูกโซ่ ที่พยายามดึงดูดให้คนสมัครเป็นสมาชิก แล้วแบ่งผลประประโยชน์และกำไรในภายหลัง

2.ขายวัตถุดิบและอุปกรณ์

ธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ ต้องเก็บค่า Franchise Fee และ Royalty Fee เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือและสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโตไปด้วยกัน ถ้าเป็นธุรกิจที่ขายวัตถุดิบและอุปกรณ์อย่างเดียว ถือเป็นแฟรนไชส์ทิพย์

11

3.ไม่ลงมือเปิดร้านก็มีรายได้

หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวเจ้าของธุรกิจรับสมัครผู้สนใจลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ ใช้เงินเท่านั้นเท่านี้ โดยผู้ลงทุนไม่ต้องลงมือเปิดร้านขายเอง แต่ทางบริษัทเป็นผู้จัดการเองทั้งหมด ทั้งหาพนักงาน คนดูแลร้าน พอถึงสิ้นเดือนผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น ลงทุน 45,000 บาท ได้ปันผล 10,000 บาท เป็นเวลา 10 เดือน สุดท้ายไม่ได้ครบ

4.สมัครสมาชิกได้ผลตอบแทน

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการชักชวนคนเป็นสมาชิกและระดมทุน โดยจะมีการคืนเงินปันผลให้กับสมาชิกตามที่ได้ลงเงินตามเงื่อนไข รวมถึงนำเสนอสิทธิพิเศษต่างๆ และจำนวนเงินมหาศาล เพื่อล่อใจให้คนเข้ามาร่วมลงทุนมากๆ ให้ผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง ในช่วงแรกจ่ายให้จริง แต่ระยะหลังเริ่มไม่มีเงินจ่ายให้สมาชิกจนเกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมา

12

5.เสียค่าแฟรนไชส์ แต่ไม่ได้สินค้า

มีหลายๆ ธุรกิจที่อ้างตัวเองว่าเป็นแฟรนไชส์ ใช้รูปแบบรับสมัครผู้ลงทุนแฟรนไชส์เปิดร้านขายของ เพียงแค่มีร้านก็เปิดได้ หรือแตกแต่งร้านใหม่เอง สมัครแล้วโอนเงิน เซ็นสัญญา แต่พอถึงเวลากลับไม่ได้สินค้า ติดต่อเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ได้

6.ธุรกิจไม่มีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน

ธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ ต้องมีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน จดทะเบียนแบบนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถตรวจสอบได้ และมีการจดเครื่องหมายการค้าอย่างถูกต้อง แต่ถ้าแฟรนไชส์ที่ไม่มีที่ตั้งสำนักงาน ไม่มีร้านต้นแบบแฟรนไชส์ให้ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ได้เห็นรูปแบบของธุรกิจ ถือเป็นแฟรนไชส์ทิพย์ที่เตรียมจะหลอกนักลงทุน

13

7.ไม่มีการทำสัญญาแฟรนไชส์

ระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง ต้องมีเรื่องของการเซ็นสัญญาระหว่างเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ว่าจะให้สิทธิผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจกี่ปี ต่อสัญญาได้อีกกี่ปี และกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจนในสัญญา หากใครทำผิดเงื่อนไข ก็สามารถฟ้องร้อง หรือยกเลิกสัญญาได้ แต่ถ้าซื้อขายกันโดยไม่มีสัญญาอาจนำไปสู่การหลอกลวง

8.ไม่ถ่ายทอดรูปแบบการทำธุรกิจ

ธุรกิจที่ไม่มีการถ่ายทอดรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่มีการติดตั้งร้านค้า ไม่มีการติดตั้งระบบ หรือส่งทีมงานมาร่วมพัฒนาธุรกิจหลังจากลงทุนร่วมกันแล้ว ไม่ถือเป็นแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์นอกจากผู้ซื้อจะได้แบรนด์ ได้ชื่อเสียง และตราสินค้าแล้ว ยังได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจทุกๆ อย่างจากเจ้าของแฟรนไชส์จนสามารถปฏิบัติตามและเปิดร้านได้

นั่นคือ 8 คุณลักษณะ “แฟรนไชส์ทิพย์” ที่พยายามทำตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ หากใครที่กำลังคิดจะลงทุนแฟรนไชส์ลักษณะแบบนี้ ควรที่จะหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก
  2. ขายวัตถุดิบและอุปกรณ์
  3. ไม่ลงมือเปิดร้านก็มีรายได้
  4. สมัครสมาชิกได้ผลตอบแทน
  5. เสียค่าแฟรนไชส์ แต่ไม่ได้สินค้า
  6. ธุรกิจไม่มีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน
  7. ไม่มีการทำสัญญาแฟรนไชส์
  8. ไม่ถ่ายทอดรูปแบบการทำธุรกิจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3irf73U

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช