ถอดกลยุทธ์ฝ่าวิกฤติ! The Pizza Company เดินหน้ารีแบรนด์ครั้งใหญ่รอบ 22 ปี

หากเอ่ยชื่อ “The Pizza Company” คงไม่มีใครไม่รู้จัก แฟรนไชส์ร้านพิซซ่าอันดับหนึ่งของเมืองไทย เปิดตลาดในไทยมาตั้งแต่ปี 2544 ครองใจบริโภคมากว่า 22 ปี ด้วยจำนวนสาขาทั้งหมด 480 สาขาทั่วประเทศ เดินหน้ารีแบรนด์ครั้งใหญ่ ปรับโลโก้ ยูนิฟอร์ม รีโนเวตร้าน เพื่อขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่จากปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว

The Pizza Company

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ในช่วงการระบาดโควิด-19 และตลอดปี 2566 เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์ “คุณชัยรัตน์ ภัทรพิทักษ์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แบรนด์ The Pizza Company ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ บุคคลากร การรักษามาตรฐานบริการ และการแก้ไขปัญหาภายใต้ระบบแฟรนไชส์มานำเสนอให้ทราบ

รีแบรนด์ในรอบ 22 ปี

The Pizza Company

คุณชัยรัตน์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเดอะพิซซ่า คอมปะนี มีจำนวนสาขากว่า 480 สาขาทั่วประเทศ วางแผนที่จะขยายสาขาไปทุกอำเภอให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเจเนอเรชั่นใหม่ทั้งกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน หลังจากตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เดอะพิซซ่า คอมปะนี ทำตลาดกลุ่มลูกค้าครอบครัวรุ่นคุณพ่อคุณแม่เป็นส่วนใหญ่

The Pizza Company

สำหรับการรีแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการรีเฟรชแบรนด์ให้มีความสดใสและทันสมัยมากขึ้น เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกเจเนอเรชั่น ทุกโมเมนต์ ไม่ว่าจะชอบนั่งกินในร้าน สังสรรค์ เดลิเวอรี่ หรือกินที่บ้าน ที่ทำงาน โดยการรีแบรนด์ใหม่จะทำด้วยกัน 3 ส่วน คือ การปรับโลโก้ใหม่ให้ทันสมัยมากขึ้น ตัวอักษรดูเรียบง่าย แฝงด้วยความสนุกสนาน โทนสีเขียวไอคอนนิค โดยดีไซน์อักษร A เป็นโลโก้ “สไลซ์” ซึ่งเป็นชิ้นของพิซซ่า

The Pizza Company

ขณะเดียวกัน ยังเปลี่ยนชุดยูนิฟอร์มพนักงานใหม่ มีการออกแบบให้โมเดิร์นที่ดูแล้วไม่เหมือนชุดพนักงานในร้าน ใส่แล้วจะมีความเป็นแฟชั่นดูมีสไตล์มากขึ้น นอกจากนี้ มีการรีโนเวตร้านใหม่ให้ดูโมเดิร์น โปร่งสบาย มีมุมถ่ายรูปเก่ๆ ให้ลูกค้า โดยจะทยอยรีโนเวตสาขาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน เริ่มที่สาขาอมอรินี่ รามอินทรา

กลยุทธ์รอดโควิด-19

คุณชัยรัตน์ เล่าว่า ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยพบว่าผู้บริโภคได้มีการปรับพฤติกรรมหันมาสั่งสินค้าแบบ Delivery มากขึ้น เพราะออกจากบ้านไม่ได้ ลูกค้าให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาด ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือสัมผัสให้น้อยที่สุด

เดอะพิซซ่า คอมปะนี ได้ปรับรูปแบบในการให้บริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า เช่น ลดพื้นที่การบริโภคในร้าน เพิ่มการ Delivery และรับออเดอร์ทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการสื่อสารไปยังลูกค้าเพื่อต้องการสื่อว่า พิซซ่าสามารถกินได้ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกินที่ร้านอีกต่อไป ทำโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า และจับทุกๆ โมเมนต์ของลูกค้า

ตลอดจนให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการวางแผนทางการเงิน เพราะกระแสเงินสดสำคัญมากในการบริหารจัดการ ต้องพิจารณารอบด้านทั้งด้านต้นทุนสินค้า ค่าแรง ค่าการตลาด ค่าเช่า และจะวางแผนเพิ่มยอดขายอย่างไร

ที่สำคัญในช่วงโควิด-19 ยังต้องหาซัพพลายเออร์ให้ได้มากกว่า 1 ราย เพราะสามารถต่อรองเรื่องราคาวัตถุดิบ รวมถึงป้องกันซัพพลายเออร์รายใดรายหนึ่งประสบปัญหาจะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อได้

เคล็ดลับบริหารแฟรนไชส์ซี

คุณชัยรัตน์ เปิดเผยว่า แฟรนไชส์ซอร์ต้องคัดเลือกแฟรนไชส์ที่ใช่และถูกต้องสำหรับแบรนด์แฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซีต้องมีแนวความคิดและทัศนคติตรงกันกับแฟรนไชส์ซอร์จะไปด้วยกันได้ อีกทั้งแฟรนไชส์ซีจะได้หาผู้จัดการร้านมาช่วยบริหารร้านได้อย่างถูกต้อง

ที่สำคัญแฟรนไชส์ซีต้องสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงของแฟรนไชส์ซอร์ได้ และแฟรนไชส์ซอร์ต้องเลือกแฟรนไชส์ซีที่เป็นคนในพื้นที่ เพื่อจะได้เข้าใจตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่าคนนอกพื้นที่

ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

ขณะเดียวกัน แฟรนไชส์ควรจะต้องทำ Survey Monkey สอบถามแฟรนไชส์ซี 5 เรื่อง ได้แก่ การเทรนด์นิ่ง การซัพพอร์ต การก่อสร้างร้าน การตลาด และซัพพลายเชนจัดส่งสินค้า เพื่อรับทราบปัญหาจากแฟรนไชส์ซี จะได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาเร่งปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลาก่อนที่จะสายเกินไป แฟรนไชส์ซอร์อย่าไปคิดเองว่าแฟรนไชส์ซีคงไม่มีปัญหาอะไร

นอกจากนี้ ถ้าหากแฟรนไชส์ซีรายใดประสบปัญหาขาดทุน แฟรนไชส์จะต้องรีบเข้าไปช่วยเหลือ ยกตัวอย่าง เดอะพิซซ่า คอมปะนี อันดับแรกแฟรนไชส์ซอร์เข้าไปดูเรื่องสินค้าดีหรือไม่ การบริการดีเป็นอย่างไร หรือพนักงานไม่เพียงพอ,

อันดับที่สองให้เวลาแฟรนไชส์ซีปรับปรุงแก้ไข 2-3 เดือนจากปัญหาข้อแรก, อันดับที่สามเมื่อไม่ดีขึ้นอีกควรจัดทำโปรโมชั่นพิเศษดึงลูกค้าเข้าร้าน, อันดับที่สี่เมื่อไม่ดีขึ้นอีก ย้ายร้านไปที่อื่นและต่อสัญญาใหม่ทดแทน 3 ปีที่เสียไป

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช