สาเหตุลูกค้าไม่เข้าร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้

เปิดร้านใหม่แต่ไม่มีลูกค้าเข้าร้าน มาจากสาเหตุอะไร เจ้าของร้านอาหารลองมาเช็คดูว่า ทำไมลูกค้าไม่แวะเข้าร้านซักที

สาเหตุลูกค้าไม่เข้าร้าน

ภาพจาก freepik.com

1. ทำเลไม่ดี

ถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคนเปิดร้านอาหาร เช่น ทางเข้าลำบาก อยู่ในซอยลึก เส้นทางรถไม่ผ่าน อยู่ไกลชุมชนที่พักอาศัย การแก้ปัญหาลองโปรโมทร้านผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ใช้โซเชียลมีเดียมาช่วย ติดป้ายบอกพิกัดร้าน หรือลองใช้เงินส่วนหนึ่งยิงโฆษณาออนไลน์ ให้บริการเดลิเวอรี่ร่วมด้วย

2. ไม่มีที่จอดรถ

คือ อีกหนึ่งสาเหตุทำให้ลูกค้าไม่อยากแวะเข้าร้าน ทางแก้ก็คือแนะนำให้คุณหาลูกค้าในพื้นที่เป็นหลัก เพิ่มบริการเดลิเวอรี่ จัดส่งอาหารให้ลูกค้าฟรีในรัศมีรอบๆ ร้าน เพื่อให้คนละแวกใกล้เคียงรู้จักมากขึ้น

สาเหตุลูกค้าไม่เข้าร้าน

ภาพจาก freepik.com

3. ไม่ติดป้ายบอกชื่อเมนูอาหาร

อาจทำให้ลูกค้าที่เดินผ่านไปมาไม่รู้ว่าร้านของคุณขายอะไร ชื่อเมนูอาหารมองเห็นไม่ชัดเจน ไม่ดึงดูดให้คนเข้าร้าน ทางแก้ไขให้คุณทำป้ายเมนูอาหารติดตั้งไว้หน้าร้าน ให้ลูกค้าเห็นชัดเจน

4. ตกแต่งร้านหรู ดูราคาแพง

อีกหนึ่งสาเหตุทำให้ลูกค้าไม่อยากแวะเข้าร้าน เพราะกลัวว่าอาหารจะต้องแพงแน่นอน หรือบางร้านติดแอร์ ลูกค้าก็ไม่กล้าเข้าร้านแล้ว ทางแก้ควรติดป้ายเมนูอาหารและราคาวางหน้าร้านให้ลูกค้าเห็นชัดเจน

สาเหตุลูกค้าไม่เข้าร้าน

ภาพจาก freepik.com

5. อาหารราคาแพง

ลูกค้าหลายคนมองปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับพวกเขา แวเเข้าไปใช้บริการครั้งนึงแล้ว ไม่อยากไปใช้บริการอีกเลย เพราะราคาแพงเกินไป ยิ่งรสชาติไม่ดี แถมราคาสูง ยิ่งทำให้ลูกค้าไม่อยากอุดหนุน ทางแก้ลองคำนวณต้นทุนวัตถุดิบใหม่ พอจะลดราคาลงได้บ้างมั๊ย หรือไม่ก็ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงๆ เกรดพรีเมียม วัตถุดิบหายากที่ร้านอื่นๆ ไม่มี ถ้ารสชาติอร่อยด้วยแล้ว เชื่อว่าลูกค้าจะยอมจ่ายอย่างแน่นอน

6. แสงสว่างในร้านไม่เพียงพอ

อีกสาเหตที่ลูกค้าหลายๆ คนไม่อยากเข้าไปใช้บริการในร้านอาหาร เพราะแสงสว่างในร้านไม่เพียงพอ มองเข้าไปแล้วร้านดูมืดๆ บรรยากาศไม่น่านั่ง แนะนำให้เจ้าของร้านติดไฟเพิ่มแสงสว่าง ทั้งในร้าน นอกร้าน นอกจากจะมีแสงสว่างแล้ว ยังดึงดูดสายตาให้ลูกค้าเห็นชัดเจนด้วย

ภาพจาก freepik.com

7. เมนูอาหารไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ถือว่าสำคัญมากในการเปิดร้านอาหาร หากเมนูอาหารที่ขายไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ ลูกค้าไม่กิน หรือกินไม่ได้ ก็ไม่มีใครอยากเข้าร้านแล้ว แนะนำก่อนเปิดร้านลองทำการวิเคราะห์ สำรวจพฤติกรรมของคนในพื้นที่ ว่าพวกเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร จะได้ขายเมนูอาหารที่คนในพื้นที่ชอบ

8. บริการไม่ดี

นอกจากเรื่องของรสชาติและคุณภาพของอาหารแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่ลูกค้าจะแวะใช้บริการหรือไม่นั้น ก็คือ การให้บริการ ถ้าบริการดี พนักงาน หรือเจ้าของร้านพูดจาไพเราะ ให้การต้อนรับลูกค้าอย่างดี เสิร์ฟอาหารรวดเร็ว ลูกค้าไม่รอนาน จะดึงดูดลูกค้าเข้าร้านได้มาก แต่ถ้าตรงกันข้าม ก็จะทำให้ลูกค้าหนีจากไป

มาถึงตรงนี้เชื่อว่า เจ้าของร้านอาหารทุกคน น่าจะพอหา สาเหตุลูกค้าไม่เข้าร้าน ได้แล้ว ลองนำวิธีข้างต้นไปปรับใช้กับร้านของคุณดู

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูล https://bit.ly/3SkfIYq

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช