มีธุรกิจของตัวเอง ปี 2567 จะรวยได้ไหม?

คนที่เบื่องานประจำหลายคนอยากลาออก เพราะมองว่า “การทำธุรกิจของตัวเอง” มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า คำว่า “นายตัวเอง” จึงเป็นเป้าหมายหลักของคนไทยในทุกปีย้อนหลังไปในปี 2560 ผลสำรวจบอกว่าคนไทยอยากเป็นนายตัวเองมากกว่า 70% ล่าสุดในปี 2566 ที่ผ่านมา ผลสำรวจก็ยังยืนยันชัดเจนว่าคนไทยยังคิดอยากเป็นเจ้านายตัวเองสูงกว่า 60%

สิ่งที่ต้องเผชิญหากคิด “สร้างธุรกิจตัวเอง”

มีธุรกิจของตัวเอง ปี 2567 จะรวยได้ไหม?

ไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะจะเป็นนายตัวเอง และคำถามที่ว่าธุรกิจของตัวเองในปี 2567 จะรวยได้ไหม ก็ขึ้นอยู่กับว่าทำธุรกิจอะไร มีวิธีบริหารจัดการอย่างไร เพราะอย่าลืมว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันยังผันผวนหนักมาก ทั้งค่าครองชีพที่สูง ต้นทุนวัตถุดิบราคาแพง ค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น กำลังซื้อของคนที่ลดน้อยลง สิ่งเหล่านี้คือตัวแปรที่ทำให้ธุรกิจหลายแห่งต้องหยุดชะงัก ยังไม่นับรวมเรื่องคุณสมบัติที่ คนอยากเป็นนายตัวเอง ควรต้องมีเช่น

1.ขาดความอดทน

มีธุรกิจของตัวเอง ปี 2567 จะรวยได้ไหม?

ตอนเป็นลูกน้องคนอื่นเราไม่ต้องคิดอะไรเยอะทำตามระบบขององค์กร ทำตามคำสั่งที่ได้รับ ซึ่งจะแตกต่างกับตอนที่อยากเป็นนายตัวเอง ความอดทนในการสร้างธุรกิจให้สำเร็จ เราต้องเจอแรงกดดันจากหลายทิศทางไม่ว่าจะคู่แข่ง เรื่องการตลาด เรื่องยอดขาย หรือปัญหาในระหว่างการเริ่มต้นสร้างธุรกิจ หลายคนที่เริ่มต้นแล้วไปไม่รอดก็เพราะความอดทนไม่มากพอ รอคอยให้ประสบความสำเร็จไม่ได้

2.กล้าที่ต้องเผชิญความเสี่ยง

มีธุรกิจของตัวเอง ปี 2567 จะรวยได้ไหม?

คำว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ยังคงใช้ได้เสมอ ไม่ว่าจะเริ่มต้นสร้างธุรกิจอะไรเป็นของตัวเอง ก็ต้องเผชิญความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น สำคัญคือการวางแผน และต้องมีความขยันตั้งใจทำจริง แม้ยุคนี้จฟะมีการลงทุนในระบบแฟรนไชส์ที่ช่วยทำให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น แต่หากบริหารจัดการไม่เป็น ไม่รู้จักใช้ไอเดียในการทำธุรกิจร่วมด้วย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก

3.ต้องรู้จักพลิกแพลงและแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง

มีธุรกิจของตัวเอง ปี 2567 จะรวยได้ไหม?

การเป็นนายตัวเองในยุคนี้มีปัญหาให้เราต้องแก้เยอะมาก บางคนเปิดร้านขายของในทำเลที่ดีก็หวังว่าจะขายดี แต่กลับกลายเป็นขายไม่ได้ รายได้ไม่คุ้มกับต้นทุนที่ต้องจ่าย นั่นคือสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องพลิกแพลง และแก้ปัญหาอย่างทันทีว่าอะไรคือสาเหตุที่ขายไม่ได้ ต้องปรับวิธีการขายอย่างไรเพื่อให้มียอดขายมากขึ้น อย่าลืมว่าถ้าคิดจะลงทุนต้องมีการวางแผนสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉินเอาไว้ด้วย

เป็นนายตัวเองอย่างไรให้เสี่ยงน้อยที่สุด?

มีธุรกิจของตัวเอง ปี 2567 จะรวยได้ไหม?

ถ้าตัดสินใจยังไงฉันก็จะต้องเป็นนายตัวเองให้ได้ แนะนำว่าให้ลิสต์ ค่าใช้จ่ายตัวเองออกมาให้หมดทั้งค่าผ่อนบ้าน, ค่าไฟ, ค่าน้ำ, ค่าโทรศัพท์, ค่าเดินทาง และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงต้องเผื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในแต่ละเดือนอีก 10 – 30% ของรายจ่ายทั้งหมดเข้าไปด้วย จะได้ลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด และเมื่อได้ตัวเลขที่เป็นรายจ่ายคร่าวๆ ก็จะทำให้เรารู้ว่า “แต่ละเดือนเราต้องหาเงินให้ได้เท่าไหร่” ซึ่งแน่นอนว่าการทำธุรกิจในช่วงแรกรายได้อาจไม่เข้าเป้าที่วางไว้

ดังนั้นต้องมาดูอีกว่าเรามี “เงินทุนสำรอง” เพียงพอให้ใช้ได้นานแค่ไหน และระหว่างนั้นเราจะมีรายได้จากธุรกิจมากน้อยเพียงใด และคำนวณดูว่าเมื่อไหร่ที่จะตั้งหลักใช้เงินจากธุรกิจได้โดยไม่ต้องพึ่งทุนสำรอง เราอาจใช้ข้อได้เปรียบจากที่เคยทำงานประจำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เรียนรู้วิธีการทำงานในฐานะลูกน้อง สะสมคอนเนคชั่นหรือคนรู้จักทางธุรกิจ การทำความคุ้นเคยกับบรรดาซัพพลายเออร์ต่างๆ โดยมีเป้าหมายว่าสักวันหากจะออกไปทำธุรกิจเป็นนายตัวเอง จะได้ให้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้มีข้อมูลน่าสนใจที่ระบุว่าคนทำงาน 51% ตัดสินใจมองหาอาชีพเสริม และ 35% ของคนทำงานจะทำงานอื่นควบคู่กับการทำงานหลัก เช่น รับงานเสริม หรือทำงานพิเศษเพื่อให้มีรายได้เพียงพอสำหรับใช้ชีวิต ซึ่งการก้าวออกจากงานประจำไปสู่การสร้างธุรกิจตัวเองในยุคนี้ยอมรับว่าถ้าไม่วางแผนให้ดี “ความเสี่ยงสูงมาก” ทั้งต้นทุนค่าครองชีพที่สูง การแข่งขันทางธุรกิจที่สูง รวมถึงกำลังซื้อของคนลดลงด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด