“มั่นหน้า” เปลี่ยนคนขี้อาย สู่อินฟลูเอ็นเซอร์หน้ากล้อง

คนพูดไม่เก่ง โลกส่วนตัวสูง ขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง อยากสร้างตัวตันบนโลกออนไลน์ อยากสื่อสารให้คนฟังเป็นจำนวนมาก เข้าหน้ากล้องทีไร ไปไม่เป็น พูดไม่ได้ดั่งใจเสียที อยากขายสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น แต่ไม่รู้จะพูดอย่างไร

มาฟังเคล็ดลับการพูดหน้ากล้องเพื่อสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์จาก “ครูหญิง – อุราวรรณ เรืองจรูญ” ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการพูดในโอกาสต่างๆ และเจ้าของเพจ ครูหญิงสอนพูด จะสามารถเปลี่ยนคนขี้อายให้กลายเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ทันที

ครูหญิง เล่าว่า อดีตเป็นครูสอนนักเรียนชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรียนจบด้านสื่อมวลชน จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากนั้นสอบบรรจุเป็นราชการได้ เปิดวิชาการสอนพูดให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งปกติครูหญิงชอบในเรื่องการพูดเป็นการส่วนตัวตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษา พอเข้ามหาวิทยาลัย เวลาพูดหน้าเวที อาจารย์มักจะชื่นชมโดยตลอด

สำหรับเด็กนักเรียนที่ครูหญิงสอนการพูดนั้น เกือบทุกคนสามารถแข่งขันชนะในระดับจังหวดมาโดยตลอด รวมถึงชนะเลิศระดับประเทศในการแข่งขันของทุกปีการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการพูดสุนทรพจน์ อ่านข่าว หรือพูดในที่ชุมชนสาธารณะ

หลังจากเกษียณอายุราชการ ด้วยความที่ครูหญิงอยากถ่ายทอดความรู้ด้านการพูดในโอกาสต่างๆ ให้กับคนดูต่อไป จึงหาช่องทางการพูดผ่านทาง TiKTok โดยใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพูดของตัวเองถ่ายทอดให้คนดู

ครูหญิง เล่าต่อว่า การเปลี่ยนช่องทางการพูดจากที่สาธารณะคนฟังเป็นจำนวนมาก 4-5 หมื่นคน มาเป็นช่องทางออนไลน์จะมีปัญหาในช่วงแรกๆ ที่ครูหญิงไม่รู้ว่าจะมีใครมาดูบ้าง ทำอาชีพอะไร อายุเท่าไหร่ ตอนแรกๆ ครูหญิงจำเป็นต้องจินตนาการเอาเองว่าคนดูเป็นใคร มีคนดูกี่คน แต่ด้วยประสบการณ์ จึงปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีพื้นฐานการพูดอยู่

พูดไม่ให้คนเลื่อนผ่าน

มั่นหน้า

ภาพจาก www.facebook.com/kruyingsornphud

สำหรับวิธีการพูดหน้ากล้องไม่ให้คนเลื่อนผ่าน ครูหญิง บอกว่า เริ่มต้นต้องตัดคำทักทาย เช่น สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ออกไป ถ้าไม่ตัดทิ้งจะทำให้คนเลื่อนผ่าน เพราะสมัยนี้คนใจร้อน “สวัสดีค่ะท่านผู้ชม วันนี้” คำเหล่านี้เอาออกไปเลย คือ พูดยิงประเด็น หรือยิงปัญหาไปเลย สมมติว่าเราขายอุปกรณ์ซ่อมรถ “ขับรถไปยางแตก คุณจะทำอย่างไร” บอกวิธีการเลยหนึ่งสองสามสี่ สมัยก่อนการพูดแต่ละครั้ง โดยเฉพาะที่สาธารณะจะดึงดูดให้คนสนใจต้องใช้เวลา

ตอนนี้การพูดหน้ากล้องไม่ใช่แบบเดิมแล้ว ถ้าเราเปิดประโยคด้วยประโยคคำถาม หรือปัญหา จะทำให้ผู้ชมหรือคนฟังอยู่ได้คิด แล้วอยากรู้ต่อว่ามันจริงไหม ปัญหาเหล่านี้แก้ปัญหาให้กับเขาได้ไหม หลังจากนั้นก็เช้าเรื่องที่จะนำเสนอได้ ในตอนท้ายพูดตอนจบอาจจะให้กำลังใจผู้ที่กำลังดูอยู่หรืออาจจะเป็นทิ้งคำถามให้คนดูได้เอาคำถามของเรากลับไปคิดต่อ แล้วอาจะทำให้คนดูหลายๆ คน ที่เจอปัญหาเหล่านี้ กลับมาดูคลิปวิดีโอของเราอีกครั้ง

ฝึกพูดกับกล้องให้เหมือนคนดูจริงๆ

มั่นหน้า

ภาพจาก www.facebook.com/kruyingsornphud

ครูหญิง เล่าว่า สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราพูดหน้ากล้องได้ดี คือ การอัดวีดิโอที่ถ่ายตัวเองเอาไว้ แล้วกลับมาดูว่าสิ่งที่เราพูด หรือแสดงออกมาว่ามีจุดไหนที่จะต้องปรับปรุงบ้าง ถ้าเราฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว พูดกับกล้องก็จะดีขึ้น การถ่ายทำก็จะราบรื่น เพราะส่วนใหญ่คนอยากขายของ ไม่กล้าออกหน้ากล้อง กลัวที่จะออกหน้ากล้อง แต่กล้าๆ กลัวๆ

“การสร้างตัวตนบนออนไลน์ให้คนดูติดตาม อยู่ที่การนำเสนอคอนเทนท์ของเรา น่าสนใจหรือเปล่า เราต้องวิเคราะห์คนดูของเรา ช่วงเวลาไหนคนดูเรามากที่สุด เพศอะไร อายุเท่าไหร่ อาชีพไหน รวมถึงคอนเทนท์ไหนคนชอบเรามากที่สุด” ครูหญิง กล่าว

สำหรับมือใหม่ที่อยากพูดหน้ากล้องเพื่อสร้างตัวตนนั้น ครูหญิง บอกว่า ก่อนพูดหน้ากล้องจริงๆ แล้วควรเขียนสคริปก่อน วางแผนก่อน เพื่อให้เวลาพูดไม่สับสน วกวน สะเปะสะปะ ไม่ทำให้คนดูงง เรียบเรียงประโยคพูดเริ่มแรก ให้เอาคำถามคือคำนำ คำตอบคือเนื้อเรื่อง ตอนสรุปสุดท้ายของการพูด…ทำได้ค่ะ ไม่ยากค่ะ หรือทิ้งคำถามเอาไว้ให้คนดูเอาไปคิด

“คนที่ไม่กล้าออกหน้ากล้อง ขี้อาย ให้อยู่คนเดียว เปิดกล้อง หยิบอะไรขึ้นมาก็ได้ จะเป็นช้อน แก้ว ขวด หรืออะไรก็ได้ แล้วลองพูดเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ นำคลิปกลับมาดู หรือให้เพื่อนดู ดูว่าคนจะอยากซื้อหรือไม่ ถ้าไม่ดีค่อยๆ ปรับปรุง” ครูหญิง กล่าว

มั่นหน้า กล้าแสดงออก

มั่นหน้า

ภาพจาก www.facebook.com/kruyingsornphud

ครูหญิง กล่าวว่า คนขี้อายที่ต้องการพูดหน้ากล้องให้ประสบความสำเร็จ มีคนดูติดตามจำนวนมาก อย่างแรกต้องมี Mindset ต้องกล้าแสดงออก หากเป็นพ่อค้าแม่ค้า ถ้าอยากได้เงิน ต้องกล้าพูด กล้าออกหน้ากล้อง ต้องสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง เราต้องคิดว่า เวลาเราไม่มีเงิน ไม่มีใครช่วยเราได้ เราต้องกล้าออกมาพูด เพื่อจะได้หาเงิน

ยอมหน้าด้านจะทำให้เรากล้าพูดหน้ากล้อง พอทำไปได้ 2-3 ครั้ง จะทำให้เรามีความมั่นใจ กล้าพูด ไม่อาย ที่สำคัญเราต้องรู้ว่าจะนำเสนอเรื่องอะไร อย่าสะเปะสะปะ ไม่ใช่วันนี้พูดเรื่องทำกับข้าว อีกวันพูดเรื่องขายเสื้อผ้า หรือท่องเที่ยว

หากทำแบบนี้จะทำให้คนดูมองว่าเราไม่มีความชัดเจน ไม่เชี่ยวชาญ แม้แต่แม่บ้านทำกับข้าวอยู่บ้าน อัดคลิปขั้นตอนการทำอาหาร คนยังดูเป็นแสนๆ เพราะเขามีความกล้า นำเสนอคอนเทนท์ที่ตัวเองถนัดและมีความเชี่ยวชาญ

“เพื่อน ชมเราเรื่องอะไร เราค่อยนำเสนอเรื่องนั้น เรื่องที่เราถนัด ชำนาญ ถ้าอยากรู้ว่าเราเก่งอะไร ให้ดูว่าคนอื่นชอบมาปรึกษาเราเรื่องอะไร แสดงว่าเรามีความชัดเจน มีความชำนาญเรื่องนี้ เราก็นำเสนอคอนเทนท์เรื่องนี้ไปเลย” ครูหญิง กล่าว

ติดตามเทคนิคการพูดในโอกาสต่างๆ

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช