ต้นทุนข้าวกะเพราไก่ ไข่ดาว 1 จาน ราคาเท่าไหร่ จะตั้งราคาอย่างไรให้ได้กำไร

คุณเป็นหนึ่งในหลายคนหรือไม่ เวลาไปนั่งทานในร้านอาหารเวลาคิดเมนูอะไรไม่ออก มักจะสั่งข้าวกะเพราไก่ กะเพราหมูสับ หรือกะเพราอะไรก็แล้วแต่ ถือเป็นเมนูยอดฮิตของคนไทย แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมข้าวกะเพราแต่ละร้านราคาไม่เหมือนกัน บางร้านถูก บางร้านแพง แต่ละร้านเขาคิดราคากันอย่างไร ถ้าอยากรู้ลองมาคำนวณต้นทุนข้าวกะเพรากันดูว่าราคามากน้อยแค่ไหน? เขาตั้งราคากันอย่างไรถึงมีกำไร ขอยกกรณี “ข้าวกะเพราไก่ ไข่ดาว 1 จาน”

ต้นทุนข้าวกะเพราไก่

ข้าวกะเพราไก่ ไข่ดาว 1 จาน มีวัตถุดิบ+เครื่องปรุงอะไรบ้าง รวมเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

  • เนื้อไก่ (อกไก่) กิโลกรัมละ 90 บาท ใช้ 70-80 กรัม = 7 บาท
  • ข้าวสวย 6 บาท (200 กรัม = 2 ทัพพี)
  • น้ำมันพืช 2 บาท (1 ช้อนโต๊ะ)
  • พริก+กระเทียม 2 บาท (1.5 ช้อนโต๊ะ)
  • น้ำปลา+ซอส +เครื่องปรุง 2.50 บาท (2 ช้อนโต๊ะ)
  • ใบกะเพรา 0.50 บาท (7-8 ใบ)
  • ไข่ไก่ 4 บาท (1 ฟอง)

รวมต้นทุนข้าวกะเพราไก่+ไข่ดาว 1 จาน = 24 บาท

ต้นทุนข้าวกะเพราไก่

กรณีนี้เป็นต้นทุนข้าวกะเพราะไก่+ไข่ดาว (ธรรมดา) สมมติถ้าคุณเปิดร้านในทำเลต่างกัน จะสามารถตั้งราคาอย่างไรได้บ้าง ให้ขายได้ และมีกำไร มาดูกัน

  1. ห้างสรรพสินค้า ขาย 100 บาท/จาน หักต้นทุน 24 บาท (24%) ได้กำไร 76 บาท (75%)
  2. ตึกแถว/อาคาร ขาย 50 บาท/จาน หักต้นทุน 24 บาท (48%) ได้กำไร 26 บาท (52%)
  3. ตลาดสด ขาย 40 บาท/จาน หักต้นทุน 24 บาท (60%) ได้กำไร 16 บาท (40%)
  4. เดลิเวอรี่ ขาย 80 บาท/จาน หักต้นทุน 24 บาท (30%) ได้กำไร 56 บาท (70%)

กำไรที่เห็นยังไม่ได้นำไปหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเช่า ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าพนักงาน โดยเฉพาะค่าเช่านั้น แต่ละที่ราคาอาจไม่เหมือนกัน ห้างสรรพสินค้าค่าเช่าแพง แต่ได้กำไรเยอะ ส่วนเดลิเวรี่ขายได้มาก แต่จ่ายค่า GP แพง

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช