10 อย่างต้องมี! เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะอย่างไรให้รวย

กลิ่นหอมของหมูที่ย่างบนเตา! เสียงคุยสนุกสนานเฮฮาระหว่างเพื่อนฝูงหรือคนในครอบครัว! สิ่งเหล่านี้คือเสน่ห์ของ “ร้านหมูกระทะ” ที่ไม่ว่ายุคไหนสมัยใดก็ยังเป็นธุรกิจที่คนสนใจและมีลูกค้าต่อเนื่อง แต่การลงทุนเปิดร้านหมูกระทะก็ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จได้ www.ThaiSMEsCenter.com อยากชี้ชัดให้เห็นว่า 10 อย่างต้องมี! นั่นคืออะไรที่จะช่วยให้การ เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะเป็นธุรกิจที่ทำให้รวยได้

เปิดร้านหมูกระทะเราต้องใช้เงินทุนแค่ไหน?

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ

ก่อนอื่นมาดูเงินทุนในการเริ่มสักเล็กน้อยคำนวณจากการเปิดร้านขนาดเล็กไม่เกิน 10 โต๊ะ ต้องมีงบสำหรับค่าอุปกรณ์ประมาณ 30,000 – 40,000 บาท (ตามคุณภาพสินค้า) ซึ่งเป็นต้นทุนที่ยังไม่รวมค่าเช่า ค่าปลูกสร้างร้าน – ที่ดิน และควรมีทุนหมุนเวียนประมาณ 7,000 – 10,000 บาท/วัน โดยควรจะมีการจ้างแรงงานประมาณ 3 – 4 คนหากเป็นร้านขนาดเล็ก

นอกจากนี้ควรมีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 7,000 – 10,000 บาท/วัน ถ้าคำนวณว่าขายแค่ไหนขายได้เท่าไหร่จึงจะมีกำไรแนะนำว่าควรให้ต้นทุนอาหารควรอยู่ที่ 25-30% และต้นทุนด้านแรงงานควรอยู่ที่ 15-20%

นอกจากนี้ยังมีเรื่องต้นทุนคงที่ได้แก่ ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน เฉลี่ยแล้วควรอยู่ที่ 15-20% รวมถึงต้นทุนผันแปร เช่นค่าแก๊ส ค่าน้ำ ค่าไฟ จิปาถะในแต่ละเดือนควรอยู่ที่ 10-15% ยอดขายในแต่ละวันก็ขึ้นอยู่กับขนาดร้านเป็นสำคัญ การตั้งเป้ายอดขายในแต่ละวันขั้นต่ำต้องประมาณ 10,000 – 20,000 บาท ที่จะเพียงพอให้หักกับค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ และเหลือเป็นกำไรที่มากพอสำหรับผู้ประกอบการในแต่ละเดือน

10 อย่างต้องมีเปิดร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์แล้วรวย

นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมในด้านเงินทุน และความขยัน ตั้งใจทำจริงของผู้ประกอบการต้องยอมรับเลยว่าร้านหมูกระทะที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมี 10 อย่างดังนี้

1.ทำเลที่เหมาะสมกับการเปิดร้าน

เนื่องจากเป็นร้านที่คนนิยมมาสังสรรค์ ดื่มกิน ดังนั้นการเดินทางต้องง่าย มีที่จอดรถ มีการจัดบรรยากาศร้านให้น่าสนใจ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่ ให้มีความเหมาะสม เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 60 – 90 นาทีต่อการรับประทานซึ่งแตกต่างจากร้านอาหารทั่วไป ถ้ามีพื้นที่รองรับลูกค้าได้น้อย ก็จะทำกำไรได้น้อย

2.ความรวดเร็ว

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ

โดยเฉพาะเมนูเสริมที่เราควรมีการเติมเต็มให้ตรงกับความต้องการลูกค้า อย่าปล่อยให้ถาดว่าง ดังนั้นการบริหารจัดการในเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักมาร้านหมูกระทะด้วยความหิว และต้องการอาหารในช่วงแรกถ้าบริหารจัดการไม่ดีจะเป็นภาพจำที่ลูกค้าบอกต่อกันไป

3.บริการให้ลูกค้าประทับใจ

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ

เราจะเห็นหลายข่าวที่พูดถึงการบริการที่ไม่ดี ซึ่งบางทีก็ต้องดูว่าเป็นเพราะลูกค้าเอง หรือเป็นเพราะการบริการที่แย่จริงๆ อย่างไรก็ดีพื้นฐานของร้านอาหารพนักงานต้องยิ้มแย้มแจ่มใส การเต็มใจให้บริการ สามารถการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง สิ่งเหล่านี้จะสร้างเอกลักษณ์ที่น่ารักและความประทับใจให้แก่ลูกค้าได้

4.ให้ความรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จ่ายเงิน

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ

ลูกค้าที่มาร้านหมูกระทะและจะกลับมาใช้บริการในครั้งต่อไปก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปถ้าลูกค้ารู้สึกว่าได้รับสิ่งที่คุ้มค่ากลับไปสมเหตุสมผลกับเงินที่ต้องเสีย จะราคาไหนลูกค้าก็ยอมจ่าย ฉะนั้นจำนวนชนิดอาหารและปริมาณต้องสมดุลกันกับราคาที่เรียกเก็บและควรมีคุณภาพด้วย

5.รสชาติอาหารต้องดี วัตถุดิบต้องมีคุณภาพ

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ

สิ่งที่ลูกค้าอยากได้คืออาหารที่รสชาติอร่อยและได้คุณภาพ วัตถุดิบต้องสดใหม่ อย่าพยายามลดต้นทุนด้วยการนำของเก่าค้างสต็อคมาให้บริการ ยิ่งทุกวันนี้คู่แข่งที่เป็นร้านหมูกระทะด้วยกันมีจำนวนมาก ลูกค้ามีสิทธิ์จะเลือกใช้บริการร้านที่ดีกว่าเท่านั้น

6.การบริหารต้นทุนวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ

เปิดร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ

เป็นหัวใจของร้านหมูกระทะทีเดียวสำหรับต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะร้านหมูกระทะที่เป็นรแนวบุฟเฟต์ มักมีต้นทุนวัตถุดิบสูง เพราะต้องเผื่อสำหรับวัตถุดิบที่อาจมีเหลือจำนวนมาก ดังนั้นการหาดีลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบราคาถูกและคุณภาพดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราอาจต้องมีคอนเน็คชั่นที่ดีร่วมด้วยจะช่วยทำให้การบริหารต้นทุนนั่นง่ายขึ้น

7.โฟกัสกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

ความเป็นร้านหมูกระทะก็ต้องเลือกโฟกัสลูกค้าเช่นกันการกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าลูกค้าหลักของเราเป็นใครจะช่วยให้กำหนดทิศทางของร้านได้ชัดเจน เช่นเมนูอาหาร ค่าอาหารที่เรียกเก็บ รูปแบบร้านหรือบริการเสริม และการมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้ไม่ต้องไปแย่งลูกค้ากับคู่แข่งรายอื่นที่อาจโฟกัสกลุ่มลูกค้าต่างกันได้

8.ฉลาดในการจัดโปรโมชั่น

จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ร้านหมูกระทะส่วนใหญ่คือการจัดโปรโมชัน แต่ผลกระทบทางอ้อมของโปรโมชันคือการทำให้ร้านมีรายได้ไม่เต็มที่ เช่นการลดราคาที่ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบ การให้ส่วนลดไม่ถูกกับช่วงเวลา การจัดโปรโมชันที่เพียงแค่คิดจะดึงลูกค้าเข้าร้านให้มากที่สุด ทางที่ดีเราควรมีจุดยืนและรักษาเอกลักษณ์ของร้านให้คนสนใจในสิ่งเหล่านี้มากกว่า

9.ก้าวตามความต้องการของลูกค้าได้

การเป็นร้านหมูกระทะจำเป็นต้องทำธุรกิจให้สอดคล้องกับยุคสมัย สามารถก้าวตามกระแสความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ เช่นการออกเมนูตามฤดูกาล หรือเมนูตามกระแส นอกจากนี้เรื่องรูปแบบบริการก็ต้องให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ด้วย

10.เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาจากลูกค้า

สิ่งที่ร้านหมูกระทะต้องเจอแน่คือปัญหาจากลูกค้าที่ยิ่งมีลูกค้ามาก ยิ่งเจอคนหลากหลายนิสัย ทั้งคนที่ชอบโกงเช่นมากิน 3 คน แต่ตอนจ่ายบอกว่ามา 2 , บางคนกินเหลือกินทิ้ง และก็ไม่ยอมจ่ายค่าปรับ , บางคนโมโหง่าย เป็นต้น ดังนั้นการฝึกและอบรมพนักงานให้เตรียมรับมือพฤติกรรมลูกค้าที่หลากหลายเป็นเคล็ดลับที่ร้านหมูกระทะไม่ควรมองข้าม

การทำธุรกิจในยุคนี้ไม่ใช่แค่มีเงินทุนแล้วจะประสบความสำเร็จได้ สิ่งสำคัญคือการบริหารจัดการ และการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจที่ดีจำเป็นต้องมีเอกลักษณ์และจุดยืนในตัวเองที่จะดึงดูดให้ลูกค้าที่สนใจเข้ามาเป็นลูกค้าประจำได้ หรือถ้าใครที่อยากมีร้านหมูกระทะของตัวเองแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรในยุคนี้มีการลงทุนในระบบแฟรนไชส์ที่เป็นตัวช่วยในการเปิดร้านได้ง่ายขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด