ตู้ After You vs ตู้ Bake a wish

กระแสตู้ “เต่าบิน” กับโมเดลคาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง มีเมนูจำหน่ายกว่า 170 รายการ เป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของตลาดตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในเมืองไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จากหลายๆ แบรนด์ต่างพัฒนาผลิตภัณฑ์และหันมาจับตลาดนี้กันมากขึ้น เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทในสิ้นปี 2566

ล่าสุดร้านขนมหวานชื่อดังของไทย After You ได้เปิดตัวตู้ขายขนมหวานและเครื่องดื่มอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มช่องทางการขาย ขณะที่ร้านเบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่น Bake A Wish ก็เปิดตัวตู้ขายเค้กอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงเช่นเดียว ความน่าสนใจของตู้ขายสินค้าอัตโนมัติของ After You และ Bake A Wish เป็นอย่างไร แต่ละแบรนด์เปิดให้บริการที่ไหนบ้าง มาดูกัน

ตู้ After You

ตู้ After You

ภาพจาก https://citly.me/we0Kl

เมื่อเร็วๆ นี้ร้านคาเฟ่ขนมหวานชื่อดังของไทย After You ได้เปิดตัวตู้ขายขนมหวานและเครื่องดื่มอัตโนมัติ จำนวน 2 ตู้ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 สามมิตรทาวน์ และ ตึกมหานครคิวบ์ ชั้น 1 โดยในตู้อัตโนมัติมีสินค้าขนมหวานและเครื่องดื่มจำหน่ายกว่า 20 รายการ

อาทิ ขนมปังเนยโสด, Souffle Cheescake, Nuggets, เค้กกล้วยหอม, คุกกี้ ราคาเริ่มต้น 85-120 บาท รวมไปถึงเมนูเครื่องดื่มบรรจุชวด เช่น ชานม กาแฟ เครื่องดื่มอื่นๆ ราคาเริ่มต้น 30 บาท จ่ายเงินผ่านระบบ Thai QR

สำหรับทำเลพื้นที่สำหรับเหมาะกับการตั้งตู้ขายขนมหวาน After You จะอยู่ย่านกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น นักศึกษา คนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า สำนักงาน ที่มีผู้คนสัญจรจำนวนมาก มีไลฟ์สไตล์ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็ว

ตู้ After You

ภาพจาก https://citly.me/49jB8

สำหรับโมเดลตู้ After You เหมือนหน้าร้านของ After You พร้อมกันสาดสีดำอันเป็นเอกลักษณ์ ระหว่างรอรับขนมสามารถถ่ายเซลฟี่กระจกข้างตู้ไว้ไปอวดเพื่อนได้ด้วย แม้จะไม่มีพนักงานมาให้บริการเหมือน After You สาขาต่างๆ ที่เราคุ้นเคย แต่ใช้การตกแต่งด้วยลวดลายไม้ พร้อมป้าย Now Open ให้ความอบอุ่นเหมือนอยู่หน้าร้านเลยทีเดียว

ที่ผ่านมา After You ยังได้พัฒนาช่องทางการขายใหม่ๆ เพื่อตอบรับกับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 และความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น บริการเดลิเวอรี่, ป๊อปอัพ สโตร์, เปิด After You Marketplace จำหน่ายสินค้าฝากขาย, เปิดร้าน After You ในปั๊มน้ำมัน, เปิดลูกก๊อขายผลไม้ โดยในปี 2565 มีร้านลูกก๊อเปิดให้บริการไปแล้วทั้งหมด 5 สาขา

รวมไปถึงการขยายแฟรนไชส์ Mikka Cafe ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในสิ้นปี 2565 มีแฟรนไชส์ 109 สาขา ปี 2566 มีเป้าหมายขยายแฟรนไชส์ 150 สาขา ส่วนบริษัทอาฟเตอร์ยู ลงทุนเอง 10 สาขา ปี 2566 จะขยายเพิ่ม 4-5 สาขา ปัจจุบันร้าน After You มีสาขาทั้งหมด 51 สาขาทั่วประเทศ และสาขาแฟรนไชส์ที่ฮ่องกง 2 สาขา

รายได้ After You

ตู้ After You

ภาพจาก https://citly.me/gQeWO

การตรวจสอบงบการเงิน บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ After You จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนี้

  • ปี 63 รายได้ 755.2 ล้านบาท กำไร 49.9 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 582.4 ล้านบาท ขาดทุน 79.9 หมื่นบาท
  • ปี 65 รายได้ 899.3 ล้านบาท กำไร 123.6 ล้านบาท

ตู้ Bake A Wish

ตู้ Bake a wish

Bake A Wish Japanese Homemade Cake แบรนด์เบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่น อันดับ 1 ของประเทศไทย ภายใต้การบริหารของ “คุณนิกันติ์ ปรัชญาศิลปวุฒิ” เปิดตัวตู้กดเค้ก 24 ชั่วโมง Bake A Wish จำหน่ายเค้กชิ้นสามเหลี่ยมสไตล์ญี่ปุ่น โดยในตู้มีเค้กให้ลูกค้าเลือก 15 รสชาติ

ตู้ Bake a wish

อาทิ ช็อกโก ช็อกโกแลต, ดับเบิ้ล ช็อกโกแลต, คาราเมล คาราเมล, โอริโอ้ โอริโอ้, บราวนี่ บราวนี่ ช็อกโกแลต, มอลค่า มอคค่า, เค้กหน้าเนยนิ่ม, เค้กนมมะพร้าว เป็นต้น ราคา 35 บาท อร่อย เหมือนซื้อที่ร้าน โดยติดตั้งตู้ให้บริการที่ BTS สยาม (บริเวณทางออก 6) ฝั่ง Sky Walk เชื่อมเซ็นทรัลเวิลด์

ตู้ Bake a wish

Bake A Wish ร้านเบเกอรี่และเค้กสไตล์ญี่ปุ่น เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2549 ย่านถนนสุขสวัสดิ์ ตกแต่งร้านสไตล์ Modern Japanese ก่อนที่จะเปิดสาขาแรกอย่างเป็นทางการที่ห้างเซ็นทรัลเวิล์ด ปี 2552 จนได้รับความนิยมเป็นที่รู้จักของลูกค้าในวงกว้าง ปัจจุบันมีมากกว่า 79 สาขา มีสูตรเบเกอรี่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากเมืองโกเบ คัดสรรวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน ใช้น้ำหมักครีมที่ทำจากไขมันพืช และเทคนิคการตีครีมเฉพาะตัว ทำให้ได้เค้กรสชาติกลมกล่อม ไม่หวานเลี่ยนเกินไป

รายได้ Bake A Wish

การตรวจสอบงบการเงิน บริษัท เบค อะ วิช เจ.เอช.ซี. จำกัด เจ้าของแบรนด์ Bake A Wish จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนี้

  • ปี 62 รายได้ 176.2 ล้านบาท กำไร 9.9 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 211.2 ล้านบาท กำไร 2.1 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 252.7 ล้านบาท กำไร 4.6 ล้านบาท

การติดตั้งตู้ขายสินค้าอัตโนมัติของ After You และ Bake a wish ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรมากนัก เพราะหลายๆ แบรนด์โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แม้จะมีสาขาทั่วทุกพื้นที่ ก็ยังมีตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเช่นเดียวกัน เพื่อเพิ่มช่องทางการขายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น ที่สำคัญเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าบริเวณพื้นที่นั้นๆ

การติดตั้งตู้ขายขนมหวานของ After You และ Bake a wish ก็เพื่อเพิ่มช่องทางการขาย ขยายกลุ่มลูกค้า สร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้า รวมถึงเป็นการสร้างแบรนด์ให้คนได้รู้จักมากขึ้น เพราะถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทำเลในการติดตั้งตู้ของทั้งสองแบรนด์จะอยู่ตามศูนย์การค้า ตึกคนทำงาน รถไฟฟ้า คนเดินทางผ่านเป็นจำนวนมาก

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช