กะทิชาวเกาะเกือบเจ๊ง! พลิกวิกฤติสร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านบาท

“กะทิชาวเกาะ” จากร้านขายมะพร้าวลูกในตลาด กลายเป็นบริษัทกะทิ 10,000 ล้านบาท ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ผ่านวิกฤตมามากมาย ทั้งขาดทุน ตลาดไม่เปิดรับ ด้วยความที่ไม่ท้อ ไม่ยอมแพ้ของครอบครัว “เทพผดุงพร” จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักรเทพผดุงพรมะพร้าว และ อำพลฟูดส์ ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในเมืองไทย

จุดเริ่มต้น กะทิชาวเกาะ

ภาพจาก www.tcc-chaokoh.com

ย้อนกลับไปเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว คุณจรีพร และ คุณอำพล เทพผดุงพร 2 สามีภรรยา เปิดร้านมะพร้าวลูกในห้องแถวเล็กๆ 2 คูหา แยกมหานาค ริมคลองผดุงกรุงเกษม กิจการรุ่งเรืองอย่างมาก ไม่มีคู่แข่ง หลังจากนั้นย้ายร้านไปริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตลาดท่าเตียน ใช้ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุดมมะพร้าว” เพราะการขนส่งทางเรือสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย

ภาพจาก www.tcc-chaokoh.com

กิจการค้าขายมะพร้าวลูกของคุณจรีพรและคุณอำพลในช่วงนั้น ถือว่ารุ่งเรืองเอามากๆ มีเงินเก็บ ถึงขั้นส่งลูกทั้ง 5 คนไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะพวกเธออยากเห็นลูกๆ ของตัวเองได้รับการศึกษาที่ดีกว่าพวกเธอที่จบเพียงแค่ชั้น ป.4

เมื่อลูกชายเรียนจบจากต่างประเทศ ได้แนะนำให้คุณจรีพรและคุณอำพล เปลี่ยนจากการขายมะพร้าวลูก มาผลิตกะทิสำเร็จรูปแบบพาสเจอร์ไรส์แทน ตอนนั้นคุณจรีพรเชื่อมั่นในตัวลูกชาย จึงยอมเปลี่ยนทั้งที่ไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า

ภาพจาก facebook.com/CHAOKOH.TH

ต่อมาได้ก่อตั้งบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ขึ้นในปี 2519 ที่ จ.นครปฐม ผลิตกะทิสำเร็จรูป ปรากฏว่าขาดทุน เพราะคนไทยไม่ตอบรับกะทิสำเร็จรูป ชอบกะทิคั้นสดๆ แต่คุณจรีพรและคุณอำพล ไม่ท้อ ไม่ยอมแพ้

แม้จะเหนื่อยจนแทบจะไม่อยากไปต่อ แต่พยามลุกขึ้นสู้ต่อ ตอนที่ขายไม่ได้ คุณจรีพรเอาไปฝากให้แม่ค้าตามร้านต่างๆ ขาย ไปอ้อนวอนให้ช่วยซื้อหน่อย เขาก็บอกไม่เอา คุณจรีพรไม่ลดความพยายามขอให้แม่ค้าช่วย บอกแม่ค้าขายได้ก็เก็บเงิน ขายไม่ได้ไม่เอาเงิน

ประกอบกับตอนนั้นให้ทดลองใช้ฟรี คุณจรีพรและครอบครัวใช้เวลากว่า 3 ปี กะทิชาวเกาะจึงได้รับการยอมรับ และพัฒนาสินค้าออกเป็นกะทิกระป๋อง และกะทิผง จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักรเทพผดุงพรมะพร้าว มีรายได้ 8 พันกว่าล้านบาท

กะทิปัง ผลไม้กระป๋องไม่ปัง

กะทิชาวเกาะ

ภาพจาก facebook.com/CHAOKOH.TH

ชื่อ “กะทิชาวเกาะ” มาจากเกาะสมุยที่ปลูกมะพร้อมมากสุด เดิมจะใช้ชื่อแบรนด์ “สมุย” แต่ไม่สามารถตั้งได้เพราะเป็นชื่อเกาะ แม้ว่ากะทิชาวเกาะจะประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ แต่มีสินค้าหลายตัวที่บริษัทฯ ผลิตขึ้นและเปิดตัวในตลาดไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น น้ำส้มสายชู พัฒนาขึ้นจากน้ำส้มหมักกับมะพร้าว แต่ผู้บริโภคหันไปใช้น้ำส้มกลั่น แม้แต่ผลไม้กระป๋อง เงาะ ลำไย ก็ขายไม่ได้ สู้คู่แข่งไม่ได้เพราะเขาปลูกผลไม้เอง

ต่อมาตลาดต่างประเทศมีความต้องการผักผลไม้สด บริษัทฯ จึงได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมา คือ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ขึ้นในปี 2531 รองรับการผลิตผัก ผลไม้สดแช่แข็งส่งออกต่างประเทศ โดยในเวลานั้นทั้ง 2 บริษัททำการผลิตผลไม้ผักแช่แข็งส่งออกไปพร้อมๆ กัน รวมถึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงและประกอบอาหารส่งออกมากมาย ครอบคลุมลูกค้ากว่า 36 ประเทศทั่วโลก ทั้งอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เอเชีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น

ภาพจาก facebook.com/ampolfoodfamily

ปี 2536 หลังตั้งโรงงานอำพลฟูดส์ได้ไม่นาน ตลาดต่างประเทศเริ่มลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากอำพลฟูดส์ อ้างว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ เพียงเพราะต้องการนำเข้าสินค้าจากจีนเพราะราคาถูก ทางบริษัทฯ จึงต้องปรับตัว หันมาทำตลาดในประเทศอย่างจริงจัง เพราะช่วงนั้นคนไทยเริ่มเปิดรับกะทิสำเร็จรูปมากขึ้น ทำให้บริษัทฯ มั่นใจในการทำตลาดเมืองไทย

โดยในปี 2538 เริ่มออกผลิตภัณฑ์กะทิชาวเกาะสำเร็จรูป UHT สู่ตลาด เพราะผู้บริโภคต้องการความสดใหม่ ใช้สะดวก เก็บไว้ได้นาน ในช่วงปี 2540-2541 กะทิสำเร็จรูปขายดีเป็นอย่างมาก ทุกครอบครัว รวมถึงร้านอาหารกล้าที่จะใช้อย่างเปิดเผย บริษัทฯ จึงเดินหน้าทำการตลาดกะทิสำเร็จรูปอย่างจริงจังในไทยจนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังแตกไลน์ไปสู่ผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำแกงพร้อมปรุง เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

ภาพจาก facebook.com/ampolfoodfamily

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในเครือเทพผดุงและอำพลฟูดส์มีมากมาย อาทิ กะทิ ตราชาวเกาะ, รอยไทย, เครื่องดื่มธัญญาหาร ตราวี-ฟิท, โปร-ฟิท, เครื่องปรุงอาหาร ตรารอยไทย, แม่พลอย, เครื่องปรุงรส ตรากู๊ดไรฟ์, แม่พลอย, น้ำมันมะพร้าวและขนมมะพร้าว ตราชาวเกาะ, คิงไอแลนด์ และ ผลไม้กระป๋อง ตราชาวเกาะ, ยอดดอย, ทีซีซี

รายได้เจ้าของแบรนด์ กะทิชาวเกาะ

ภาพจาก facebook.com/CHAOKOH.TH

บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (ผลิตเครื่องปรุงอาหารและประกอบอาหาร)

  • ปี 63 รายได้ 6,283 ล้านบาท กำไร 94.1 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 7,195 ล้านบาท กำไร 891 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 8,067 ล้านบาท กำไร 1,443 ล้านบาท

ภาพจาก facebook.com/ampolfoodfamily

บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด (ผลิตกะทิคั้น เครื่องดื่มธัญพืช บรรจุกล่อง UHT)

  • ปี 63 รายได้ 3,574 ล้านบาท กำไร 82 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 3,953 ล้านบาท กำไร 145 ล้านบาท
  • ปี 65 รายได้ 3,442 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่ารายได้บริษัทเจ้าของแบรนด์ “กะทิชาวเกาะ” ในปี 2565 หลักพันล้านบาท ถ้านำรายได้ทั้ง 2 บริษัทรวมกันเฉพาะปี 2565 จะมีรายได้กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท กำไรมากกว่า 1.5 พันล้านบาท

ภาพจาก facebook.com/CHAOKOH.TH

สิ่งที่ทำให้แบรนด์กะทิชาวเกาะประสบความสำเร็จในวันนี้ มาจากความขยัน อดทน มุมานะ ไม่ย้อมแพ้ ของคุณจรีพรและคุณอำพลในการค้าขาย ก่อนส่งไม้ต่อให้ทายาทรุ่น 2 และ 3 พัฒนาสินค้าใหม่ๆ รักษาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ราคาสินค้ายุติธรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าอย่างยาวนาน จึงทำให้ลูกค้าช่วยบอกปากต่อกันต่อ

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช