อวสาน! เซลล์แมน ขายอย่างไรให้ลูกค้าซื้อในปี 67

เผยเทรนด์การขาย ปี 2567 คนซื้อมีอำนาจต่อรอง อยากซื้อสินค้าจากคนขายที่ไว้ใจ เชื่อใจ ซื้อแบบตัวต่อตัว คนขายต้องสร้างตัวตน สร้างความแตกต่าง เจาะกลุ่มลูกค้าให้ Niche ที่สุด อย่าขายให้ใครก็ได้ ต้องทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ พยายามหาสินค้าให้ลูกค้า ดีกว่าหาลูกค้าให้สินค้า แนะอย่าขายสินค้าตามเทรนด์

เซลล์แมน

“ครูตอง – ปิยวดี ปิ่นสุวรรณ์” เจ้าของเพจ “ครูตอง High Selling Skill Expert” เปิดเผยว่า เทรนด์การขายปี 2567 คนซื้อจะมีอำนาจต่อรองมากกว่าคนขาย เพราะคนขายมีมากกว่าคนซื้อ คนขายกับคนซื้อมีการติดต่อกัน มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป

ลูกค้าจะเลือกซื้อกับคนขายที่ตัวเองไว้ใจและเชื่อใจ ซื้อกันแบบตัวต่อตัว ไม่สนใจว่าจะเป็นโลโก้หรือแบรนด์ดังๆ ดังนั้น คนที่จะขายสินค้าต้องมีทักษะในการสื่อสารเพื่อให้ลูกค้าเชื่อใจ ไว้ใจ มีทักษะเจรจาต่อรอง

ผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ต้องมีทักษะการขาย สร้างความแตกต่าง ถ้าจะแข่งเร็วหรือถูกกว่า วันหนึ่งก็จะต้องมีคนทำออกมาแบบเดียวกัน ทางออกผู้ประกอบการต้องสร้างความแตกต่าง เจาะกลุ่มลูกค้าลึกลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าของเราเล็กลง เพื่อเป็นหนึ่งในตลาดสำหรับลูกค้ากลุ่มนั้น ไม่ใช่ว่าขายเหมือนกันหมด ไม่แตกต่าง สุดท้ายก็ตายหมด

“ถ้าจะอยู่ให้ได้ในระยะยาว แนะนำเจาะกลุ่มลูกค้าให้ Niche ที่สุด อย่าขายให้ใครก็ได้ แต่จะต้องเจาะกลุ่มลูกค้าให้แคบลง ระบุสิ่งที่เราทำให้แคบลง เพราะคนในยุคนี้จะยอมจ่ายเงินเพื่อสินค้าที่ออกแบบมาเฉพาะและแก้ปัญหาให้กับเขาได้ การขายสินค้าเหล่านี้จะสามารถเป็นที่หนึ่งในตลาดเฉพาะของลูกค้ากลุ่มนั้นและไม่จำเป็นต้องแข่งด้วยราคา” ครูตอง กล่าว

ครูตอง กล่าวว่า นักขายที่ดีต้องเริ่มต้นจาก Mind Set อย่าไปคิดว่าจะขายของให้ใครก็ได้ แต่ต้องคิดว่าอยากจะไปแก้ปัญหากับลูกค้า ต้องการอยากให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลง ได้ผลรับที่ดี นักขายต้องวางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้า ถ้ามี Mind Set แบบนี้ ไม่ใช่ทำตัวเหมือนเซลล์แมนที่อยากจะขายของอย่างเดียว

หัวใจหลักของการขาย อยู่ที่ความสามารถในการสกรีนลูกค้า ต้องรู้ว่าใครเป็นลูกค้าของเราจริงๆ จะได้ไม่เสียเวลาไปคุยกับลูกค้าที่ไม่ซื้อสินค้า ต้องอ่านความต้องการของลูกค้าให้ได้ รู้ว่าปัญหาจริงๆ ของลูกค้าคืออะไร ต้องมีความสามารถในการถามคำถาม เพื่อให้ลูกค้าเล่าปัญหาของเขาออกมา เพื่อจะได้หาสินค้าและบริการมาแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้

หาสินค้าให้ลูกค้า ดีกว่าหาลูกค้าให้สินค้า

ครูตอง กล่าวว่า ธุรกิจเกิดมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับตลาด ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่มีการขายเกิดขึ้น ถ้าคิดจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว สินค้าและบริการต้องแก้ปัญหาที่มีอยู่ในตลาดได้ ถ้าขายอะไรที่ไม่สามารถแก้ปัญหาในตลาดได้ สุดท้ายก็เป็นแค่งานอดิเรก ถ้าจะทำธุรกิจจริงๆ ก่อนอื่นต้องมองปัญหาในตลาดก่อน ปัญหาไหนที่ยังไม่ถูกแก้ ก็นำสินค้าที่แก้ปัญหานั้นได้ออกไปขาย สุดท้ายก็ปิดการขายได้ กล่าวคือ หาสินค้าให้กับลูกค้า ไม่ใช่หาลูกค้าให้กับสินค้าของเรา

ส่วนเจ้าของธุรกิจที่ต้องการหาลูกค้าให้กับสินค้าของตัวเอง อย่างแรกต้องลงไปสำรวจตลาด เพื่อจะรู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้างยังไม่ถูกแก้ หลังจากนั้นก็เอาทักษะของตัวเองเข้าไปแก้ปัญหา ทีนี้ก็รู้แล้วว่ากลุ่มลูกค้าของเราน่าจะเป็นใคร สมมติว่าถ้าคุณไปจีบผู้หญิง ไปกินข้าวกันแค่กันแค่ 2-3 ครั้งแล้วขอแต่งงานก็เป็นไปได้ ก่อนจะขายอะไรต้องทำให้ลูกค้ารู้จักเราก่อน พอรู้จักแล้วจะทำให้รู้สึกชอบ เมื่อลูกค้าชอบ ลูกค้าจะไว้ใจ เชื่อใจ หลังจากนั้นเราก็จะขายของได้

สร้างความเชื่อใจ จูงใจให้เกิดการซื้อ

ครูตอง กล่าวต่อว่า วิธีทำให้ลูกค้าเชื่อใจ ต้องให้คุณค่าแก่ลูกค้า ทำให้ลูกค้าเห็นว่าเราสามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้จริงๆ เราอาจจะทำคลิปหรืออะไรก็ได้บนออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าได้รู้ว่า เราช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ เหมือนกับว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ ถ้าทำไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ลูกค้าเกิดความเชื่อใจขึ้นมา สุดท้ายก็มาซื้อของจากเราเอง

สำหรับเทคนิคการนำเสนอสินค้าให้ลูกค้าอยากซื้อ ครูตอง บอกว่า การขายเป็นเรื่องของจิตวิทยา อะไรที่เป็นตัวตัดสินใจให้ลูกค้าซื้อ เราก็ควรนำเสนอไป เช่น ถ้าลูกค้าไม่ซื้อสินค้าของเราจะมีผลเสียอะไรบ้างต่อลูกค้า ขายสินค้าที่ลูกค้าจะต้องสูญเสียมากกว่าจะได้ คนจะตัดสินใจทำในสิ่งที่ตัวเองจะสูญเสียมากกว่าสิ่งที่จะได้ในอนาคต ที่สำคัญราคาไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า หากรู้สึกว่าสินค้ามีคุณค่าและคุ้มค่ากับเขา

ขายสินค้าที่แก้ปัญหาให้ตลาด

ครูตอง บอกว่า ถ้าอยากเป็นนักขายไม่ต้องสนใจว่าใครจะขายหรือทำธุรกิจอะไร ไม่ต้องแห่ไปทำตามคนอื่น อะไรคือความสามารถ อะไรคือความรู้ อะไรที่คุณแตกต่างจากคนอื่น และสามารถเอาเข้าไปในตลาดเพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้

ที่สำคัญต้องเป็นปัญหาที่ลูกค้าไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหานั้นอยู่ พอคุณมีทักษะ มีความสามารถ รู้ว่าปัญหาของลูกค้าคืออะไรก็นำเสนอขายสินค้าที่ลูกค้านำไปแก้ปัญหา สินค้าที่จะขายได้ต้องแก้ปัญหาให้กับลูกค้า อย่าไปขายสินค้าตามเทรนด์

ภาพจาก facebook.ครูตอง High Selling Skill Expert ทักษะการขายรายได้สูง

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช