ชิมช้อปใช้ เฟส2 ร้านค้าได้อะไร

ชิมช้อปใช้ เฟส 2 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว! แค่เพียงวันแรก (24 ตุลาคม 2562) ก็มีคนมาลงทะเบียนกันอย่างคึกคัก สถิติบันทึกไว้ว่าในรอบแรกของวันแรกที่เปิดลงทะเบียนเต็มโควต้า 500,000 คนตั้งแต่เวลา 07.19 น.

ซึ่งตามกติกาแล้ว เฟส 2 นี้เขาจะเปิด 2 รอบให้คนลงทะเบียนรอบละ 500,000 คน รอบ 2 จะเปิดเวลา 18.00 น. โดยมีโควตาในเฟสนี้รวม 3,000,000 คนและสามารถใช้สิทธิได้ยาวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่ามาตรการนี้ดูน่าสนใจในระดับหนึ่งแต่คำถามที่อยากรู้คือ “ร้านค้าได้อะไร” และ “ใครคือคนได้ประโยชน์แท้จริง”

ผลสรุป ชิมช้อปใช้จากเฟส 1

ร้านค้าได้อะไร

ภาพจาก bit.ly/2PljaSf

เฟสแรกที่คนส่วนใหญ่ได้รับเงินผ่านแอพเป๋าตังค์ 1,000 บาท ส่วนใหญ่จะเห็นว่าประชาชนเน้นเอาไปจับจ่ายใช้สอยซื้อของใช้ภายในบ้านซะเป็นส่วนมาก สถิติสรุปว่าในการใช้จ่าย 14 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 5,910,924 ราย มีการใช้จ่ายรวม 5,635 ล้านบาท

เป็นการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดเล็กตามวัตถุประสงค์ของมาตรการประมาณ 4,601 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 80 และมีการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 1,034 ล้านบาท เป็นการใช้จ่าย G-Wallet ช่อง 1 ประมาณ 5,578 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน

รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว 3,205 ล้านบาท ส่วนร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่มมียอดใช้จ่าย 729 ล้านบาท ร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ เป็นต้น มียอดใช้จ่าย 66 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไปมียอดใช้จ่าย 1,578 ล้านบาท

ชิมช้อปใช้ เฟส 2 มีอะไรแตกต่าง?

34

ภาพจาก bit.ly/2W9Rd11

ชิมช้อปใช้ เฟส 2 วิธีการลงทะเบียนยังเหมือนรอบแรกทุกประการ ส่วนใครที่ลงทะเบียนรอบแรกไว้แล้ว รอบ 2 นี้ไม่ต้องไปลงทะเบียนซ้ำอีก สามารถใช้สิทธิ์ใน “กระเป๋า 2” ได้เลย สำหรับคนที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ 1,000 บาทจากรอบแรก รอบนี้ลงทะเบียนใหม่ก็ยังใช้สิทธิ์นี้ได้ แต่สิ่งที่พูดถึงในเฟส 2 นี้คือ “Cash Back” หรือ “สิทธิ์เงินคืน” จากในเฟสแรกให้สิทธิ์เงินคืน 15% แต่เฟส 2 นี้รับเงินคืนสูงสุดถึง 20% ตามจำนวนเงินที่ใช้จ่ายตามขั้นบันได เช่น

  • ยอดใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท ได้คืน 15% (สูงสุด 4,500 บาท)
  • ยอดใช้จ่ายตั้งแต่ 30,001-50,000 บาท ได้คืน 20% (สูงสุด 4,000 บาท)
    • รวมกันได้เงินคืนสูงสุด 8,500 บาท โดยเงินจะโอนเข้าแอปฯ เป๋าตัง
    • เท่ากับว่า ถ้าเราเติมเงินใน G-Wallet กระเป๋าช่อง 2 แล้วใช้จ่ายไป 100 บาท ก็จะได้เงินคืน 15 บาท
  • หากใช้จ่ายช่วงวันที่ 27 กันยายน-30 พฤศจิกายน 2562 จะได้เงินแคชแบ็กคืนประมาณกลางเดือนธันวาคม 2562
  • หากใช้จ่ายช่วงเดือนธันวาคม 2562 จะได้เงินแคชแบ็กคืนประมาณกลางเดือนมกราคม 2563

33

ภาพจาก bit.ly/2WdA7Q2

เห็นได้ว่าชิมช้อปใช้ในเฟส 2 นี้จูงใจให้กลุ่มคนที่มีเงินมาท่องเที่ยวมากขึ้น โดยคาดว่าประชาชนจะใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 62 ประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาบเกี่ยวกับฤดูท่องเที่ยวที่หลายคนวางแผนเดินทางท่องเที่ยวช่วงปลายฝนต้นหนาวปลายปีนี้ด้วย

ประโยชน์ที่ร้านค้าจะได้รับจาก ชิมช้อปใช้ เฟส 2

32

ในเฟสแรกเหมือนจะมีคำถามหนาหูว่า “ใครที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้” ด้วยการที่เปิดกว้างให้ทุกร้านตั้งแต่ขนาดเล็กถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ลงทะเบียนสิทธิร้านค้าในโครงการได้แต่สิ่งที่เห็นคือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่คือจุดรวมพลของคนใช้บริการ ชิมช้อปใช้ ในขณะที่ร้านธรรมดาทั่วไปไม่ได้มีปรากฏการณ์คนต่อแถวเข้าคิวซื้อของเหมือนห้างค้าปลีกใหญ่ๆ

31

แต่กับเฟส 2 นี้แตกต่างออกไปเพราะผลจากบางคนที่ใช้สิทธิ์ในเฟส 1 มาแล้ว ส่วนที่เขาจะใช้ได้ในเฟส 2 คือ “สิทธิแคชแบ็ค” ซึ่งเราสามารถเช็คสิทธิว่าเราจะนำชิมช้อปใช้นี้ไปใช้กับร้านได้ได้บ้างจาก เว็บไซต์ ชิมช้อปใช้.com ซึ่งการใช้สิทธเราต้องพิจารณาร้านที่เข้าร่วมรายการดังนี้

  1. บางร้าน ใช้สิทธิ์ได้เฉพาะกระเป๋าช่อง 1 คือ ส่วนของเงิน 1,000 บาท ที่ได้รับแจกมา
  2. หากต้องการใช้สิทธิ์แคชแบ็ก ต้องใช้กับร้านค้าที่ระบุว่ารับกระเป๋าช่อง 2 เท่านั้น โดยในเว็บไซต์ชิมช้อปใช้.com จะระบุไว้ หรือสามารถสอบถามที่ร้านค้าอีกครั้ง
  3. ร้านค้าที่รับกระเป๋าช่อง 2 ส่วนใหญ่เป็นร้านกาแฟ ร้านขายอาหาร ร้านค้าชุมชน ร้านสินค้าโอทอป ร้านธงฟ้าประชารัฐ โรงแรม ที่พัก ทัวร์นำเที่ยว เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายในท้องถิ่น
  4. ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ยางรถยนต์ ร้านทอง ฯลฯ ส่วนใหญ่ไม่สามารถรับแคชแบ็กคืนได้

30

ภาพจาก bit.ly/2Nhm0VY

สิ่งที่ร้านค้าจะได้รับในชิมช้อปใช้ เฟส 2 ค่อนข้างชัดเจนว่าเน้นหนักไปในเรื่อง “การท่องเที่ยว” และ “ใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการในแหล่งท่องเที่ยว” ดังนั้นสิ่งที่ร้านค้าได้แน่ๆ คือ “ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะบรรดา ร้านค้าชุมชน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงแรม ที่พัก สอดคล้องกับฤดูท่องเที่ยวปลายปีแบบนี้จากเดิมที่คนส่วนใหญ่ก็ใช้เงินท่องเที่ยวอยู่แล้ว ในปี 2562 นี้อาจจะใช้จ่ายหนักขึ้นเพราะมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนสูงสุดกว่า 8,500 บาท

นอกเหนือจากยอดขายของร้านค้าที่ร่วมรายการมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นหากสินค้าและบริการของร้านนั้นสร้างความประทับใจให้ลูกค้าอาจจะเป็นการสร้างฐานลูกค้าให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ อย่าลืมว่าปัจจุบันเราอยู่ในยุคโซเชี่ยลอะไรที่ดี อะไรที่น่าสนใจ แช๊ะ และ แชร์ แค่ชั่วข้ามคืนก็กลายเป็นกระแสไปทั่วบ้านทั่วเมืองได้

นี่คือผลพลอยได้ของมาตรการชิมช้อปใช้ ที่ดูเผินๆ อาจจะไม่กระตุ้นเศรษฐกิจสักเท่าไหร่ เพราะหลายคนมองว่า อำนาจในการจ่ายเงินของแต่ละบ้านยังต้องรัดเข็มขัด แต่ การให้รางวัลกับครอบครัวและตัวเองในการท่องเที่ยวอาจเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานมาทั้งปี

และยิ่งมาได้มาตรการชิมช้อปใช้เฟส 2 เป็นตัวเสริมที่ทำให้มีสิทธิได้เงินคืนจากที่จับจ่ายใช้สอยไป ก็อาจทำให้ตัวเลขของการท่องเที่ยวมีมากขึ้นตามที่ภาครัฐได้คาดการณ์แต่จะดีและดีถึงแค่ไหน จบโครงการนี้คงต้องมาสรุปกันอีกทีว่าดีจริงหรือดีแค่ผ่านๆ หรือจะเป็นกระแสประชานิยมของภาครัฐ ที่เอาใจคนไทยแบบฉาบฉวยไปเรื่อยๆ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด