Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์

เราอาจเคยได้ยินคำว่า Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า กันมาบ้าง แต่ยังไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำมาพัฒนาธุรกิจ เพราะนอกจากการจัดการที่ดีแล้ว การบริหาร Value Chain ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ควรนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ และสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

Value Chain Analysis คืออะไร? สำคัญแค่ไหน?

Value Chain Analysis

Value Chain ถูกพัฒนาขึ้นโดย Michael Porter ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงปี 1980 Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า คือ ภาพรวมของกระบวนการในองค์กรที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า

โดยที่แต่ละขั้นตอนนั้นสามารถสร้างคุณค่า (Value) ให้กับองค์กรและสินค้าอย่างไม่มีปัญหา ซึ่งห่วงโซ่คุณค่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์คู่แข่งของธุรกิจได้ด้วย โดยการเปรียบเทียบแต่ละขั้นตอนของคู่แข่ง ว่าคู่แข่งสามารถทำได้ดีกว่า หรือมีขั้นตอนอะไรที่น่าสนใจและสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรของเราได้บ้าง

การวิเคราะห์เพื่อหา Value Chain ในองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้เป็นอย่างมาก และไม่จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุน อีกทั้งการวิเคราะห์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนในขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มคุณค่าแต่ใช้จ่ายน้อยลงได้อีกด้วย เปรียบเหมือนกับเราได้ตัดส่วนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มขั้นตอนหรือกระบวนการที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้

Value Chain Analysis แตกต่างจาก SWOT Analysis อย่างไร?

Value Chain Analysis

SWOT คือเครื่องมือที่ทำเพื่อวิเคราะห์ภาพรวม จุดแข็ง จุดอ่อน ของธุรกิจเรา รวมถึงภาพรวมด้านคู่แข่ง และโอกาสทางธุรกิจ ต่างกับ การวิเคราะห์ Value Chain ที่จะโฟกัสเข้ามาที่กระบวนการ และกิจกรรมภายในองค์กรแบบเต็ม เน้นการพัฒนา ลดต้นทุน เพิ่มกำไร และสร้างคุณค่าในองค์กร หรือตัวสินค้าเป็นหลัก

แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กรเป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
โดย 5 กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ถือเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการ การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย

  1. Inbound Logistics กิจกรรมด้านการขนส่ง การจัดเก็บ การแจกจ่ายวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงเหลือ
  2. Operations กิจกรรมด้านการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
  3. Outbound Logistics กิจกรรมด้านการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
  4. Marketing and Sales กิจกรรมด้านการดึงดูดชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้า เช่น การโฆษณา ช่องทางการจัดจำหน่าย
  5. Services กิจกรรมการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย การแนะนำการใช้

ส่วนกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลัก ให้สามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วย

  1. Procurement กิจกรรมการจัดซื้อ จัดหา เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมหลัก
  2. Technology Development กิจกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ หรือกระบวนการผลิต
  3. Human Resource Management กิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก ประเมินผล พัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม ระบบเงินเดือน ค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์
  4. Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชีระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร

Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์

Value Chain Analysis

การอธิบาย Value Chain Analysis ในแง่ทฤษฏีอาจมีหลายเรื่องที่เข้าใจความหมายได้ยาก แต่ถ้าพูดให้ง่ายขึ้นว่าสำคัญยังไงกับแฟรนไชส์ก็คงเป็นเรื่องของ “คุณค่า” ที่จะทำอย่างไรให้ “คนอยากซื้อ อยากลงทุนกับแฟรนไชส์นั้นๆ” แต่ทั้งนี้หากตีความคำว่า “คุณค่า” แต่ละคนอาจมองต่างกัน

เช่น บางคนตัดสินใจว่าแฟรนไชส์ไหนคุ้มค่าก็จากเงินลงทุนไม่มาก สินค้าตอบโจทย์ขายง่ายขายดี ในขณะที่บางคนตีความคำว่าคุ้มค่าในแง่ของการสนับสนุน ดูแล ส่งเสริมกิจการด้านการตลาดให้กับผู้ลงทุน เป็นต้น

ซึ่งหากจะวิเคราะห์ตามหลักการของ Value Chain Analysis จะแบ่งแยก เป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities)

1.กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities)

Value Chain Analysis

ในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของรูปแบบการให้บริการของร้านค้าปลีก ตั้งแต่การจัดหาสินค้า การคัดเลือกพนักงาน และการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านค้าปลีก

โดยเจ้าของร้านแฟรนไชส์หรือผู้จัดการร้านจะเป็นผู้คัดเลือก และตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน โดยใช้ประสบการณ์และคำแนะนำจากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนกระบวนการในการขายสินค้า อาทิ การเติมเต็มสินค้าในชั้นวาง การกำหนดราคาขาย การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ฯลฯ ส่วนช่วงเวลาทำการขายอาจเปิดบริการ 24 ชั่วโมง

2.กิจกรรมสนับสนุนแฟรนไชส์ (Supporting Activities)

เป็นกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักให้เกิดมูลค่ากับแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก โดยเจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารงานในร้าน รวมถึงคัดเลือกพนักงานและฝึกอบรมพนักงานภายในร้าน

โดยกิจกรรมสนับสนับสนุน โดยส่วนใหญ่แฟรนไชส์ซีจะได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การแนะนำเทคนิคการบริหารธุรกิจ การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ การติดตั้งระบบการขายและเทคโนโลยีต่างๆ ภายในร้าน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกนั่นเอง

เท่ากับว่าการสร้างคุณค่าให้แฟรนไชส์จำเป็นที่จะต้องมาพร้อมกันทั้ง 2 ส่วนคือการบริหารจัดการในส่วนแฟรนไชส์และการส่งเสริมไปยังผู้ลงทุน ซึ่งทุกการบริหารจัดการก็ต้องมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการตลาดอื่นว่าคู่แข่งเป็นอย่างไร ทำได้ดีแค่ไหน มีอะไรน่าสนใจ เพื่อให้เราพัฒนา “คุณค่า” ของแฟรนไชส์เราได้ทัดเทียมหรือนำหน้าแบรนด์อื่นได้เสมอ เพิ่มโอกาสให้คนสนใจเลือกลงทุนได้มากขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด