Paid Media vs Owned Media vs Earned Media ช่องทางโปรโมทแฟรนไชส์

วิธีการโปรโมทธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีหลากหลายช่องทาง แต่ละช่องทางมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน มาดูกันว่าเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ส่วนใหญ่ในเมืองไทยนิยมใช้ช่องทางไหนบ้าง สำหรับโปรโมทธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง

สื่อที่ใช้ในการโปรโมทแฟรนไชส์รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมมี 3 ประเภท คือ Paid Media, Owned Media และ Earned Media หรือเรียกว่า P.O.E.M Framework มาดูกันต่อว่าแต่ละสื่อมีรูปแบบการใช้งานอย่างไร

1. Paid media สื่อที่เราใช้เงินซื้อโฆษณา ไม่ว่าเป็น Social Media Advertisement (Google Ads, Facebook Ads, Twitter Ads, LINE OA, TikTok Ads) รวมไปถึง Banners โฆษณาบนเว็บไซต์สื่อต่างๆ การซื้อโฆษณาทีวี สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ต่างๆ บิลบอร์ด รวมไปถึงการจ้างอินฟลูเอนเซอร์ บุคคลที่มีผู้ติดตามบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, TikTok หรือ YouTube มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นพฤติกรรม และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

2. Owned Media สื่อแพลตฟอร์มที่เราเป็นเจ้าของหรือสร้างขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็น Website & Blog, Social Media, Email Marketing, Podcast, YouTube Channel, TikTok เป็นต้น

3. Earned Media สื่อที่มีการนำไปแชร์ นำไปบอกปากต่อปาก Social Media Shares, Social Media Mentions หรือคนอื่นนำคลิปวิดีโอหรือเนื้อหาของเราไปแชร์ต่อ รวมไปถึงการส่งข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) และ การรีวิว เป็นต้น

ข้อดี-ข้อเสีย

1.Paid Media ทำให้คนรู้จักแบรนด์ของเราได้มากขึ้น เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแน่นอน เห็นผลเร็ว ติดตามผลได้ง่าย ตรงตามวัตถุประสงค์ในการโปรโมท ส่วนข้อเสียมีค่าใช้แพง ข้อจำกัดของแต่ละแพลตฟอร์ม ลูกค้าอาจรู้สึกรำคาญ

2.Owned Media ทำให้คนรู้จักแบรนด์หากมีความเชี่ยวชาญในการโปรโมท สร้างความจงรักภักดีให้กับแบรนด์ สร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ มีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างใกล้ชิด มีต้นทุนต่ำ จัดการและติดตามผลลัพธ์ได้อย่างเต็มที่ ส่วนข้อเสียใช้เวลานานกว่าจะทำให้คนรู้จักแบรนด์ มีกลุ่มลูกค้าอยู่ในวงจำกัด เจ้าของต้องดูแลบริหารจัดการเอง

3.Earned Media สื่อนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ หลากหลายกว้างมากขึ้น ลูกค้าจะให้ความเชื่อถือเพราะมีการบอกกันปากต่อปาก มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ง่าย อยากลอง ส่วนข้อเสีย ไม่สามารถควบคุมคอนเทนต์ที่ถูกแชร์ออกไปได้ อาจมีการพูดหรือรีวิวในด้านลบ สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ยากที่จะวัดผลสำเร็จได้
เลือกสื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

  • เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์อยากเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก มีความหลากหลาย ได้ผลสำเร็จเร็วให้เลือก Paid Media
  • เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์อยากสื่อสาร ติดต่อ สร้างสัมพันธ์ลูกค้าโดยตรงให้เลือก Owned Media
  • เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์อยากเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ สร้างความเชื่อถือให้ลูกค้า ให้เลือก Earned Media

การโปรโมทแฟรนไชส์และการบริหารจัดการสื่อ Paid, Owned, Earned ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกลับมา เจ้าของแฟรนไชส์ควรนำเสนอคอนเทนต์ให้ถูกที่ ถูกเวลา ตรงกับความสนใจและความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในทุกๆ ช่วงเวลา

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช