Carbon Credit รู้ก่อน! รวยก่อน! วิถีเกษตรยุคใหม่!

“Carbon Credit” มีจุดเริ่มต้นในปี 1997 ที่บรรดา 37 ประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศ ต่อมาในปี 2015 ได้มีการกำหนดเป้าหมายรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

นำไปสู่การกำหนดหลักการซื้อขายก๊าชเรือนกระจกโดยอนุญาตให้ผู้ที่ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่เหลือให้แก่ผู้อื่นได้ หรือก็คือ “คาร์บอนเครดิต” นั่นเอง

Carbon Credit คืออะไร?

Carbon Credit

ภาพจาก freepik.com

Carbon Credit เปรียบเสมือนสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อแต่ละโรงงานถูกกำหนดให้ปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ สู่ชั้นบรรยากาศให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด แต่การผลิตขนาดใหญ่ทำให้จำเป็นต้องปล่อยเกินปริมาณที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ผลิตรายอื่น คล้ายๆ กับการซื้อโควตาเพิ่ม ไม่เช่นนั้นก็ต้องจ่ายค่าปรับและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

โดยปัจจุบันทั่วโลกมีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตกันมากกว่า 7 พันล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลจัดการเรื่องก๊าซเรือนกระจกและเป็นศูนย์กลางข้อมูลให้ความรู้ด้านคาร์บอนเครดิต คือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตลาด Carbon Credit ที่เราควรรู้?

ภาพจาก freepik.com

Carbon Credit ที่ซื้อขายต้องอยู่ภายในขอบเขตที่แต่ละประเทศกำหนดไว้ว่าไม่ควรเกินค่ามาตรฐานเท่าใด ทำให้หลายบริษัทหันมาพัฒนากระบวนการผลิตของตนให้หันไปใช้สัดส่วนของพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ตลาด CarbonCredit แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมระดับประเทศ หรือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีผลผูกทางกฏหมาย หากธุรกิจใดไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษชัดเจน
  2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ เป็นตลาดสำหรับเอกชน หรือธุรกิจที่ต้องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ ไม่ผูกพันกับกฏหมาย โดยสมาชิกสามารถตั้งเพดาน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยตัวเองได้ ซึ่งมีผลดีต่อภาคธุรกิจ SMEs ที่สนใจในพลังงานสะอาด และเริ่มต้นลงทุนเพื่อมุ่งลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งอาจนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเครดิตคาร์บอนได้

ปัจจุบันตลาดคาร์บอนเครดิตในไทยเป็นแบบภาคสมัครใจ เพราะยังมีผู้ประกอบการน้อยราย โดยผู้ที่เข้าร่วมจะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO และหากผ่านการรับรองก็จะได้รับเครดิตที่เรียกว่า TVERs (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) ที่สามารถนำไปใช้สิทธิในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ได้

ราคา Carbon Credit พุ่งสูงแบบก้าวกระโดดในไทย

ภาพจาก freepik.com

ราคา CarbonCredit ในไทย อิงตามรายงานของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ระบุว่า ราคาคาร์บอนเครดิตเฉลี่ยแล้ว มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2561 อยู่ที่ 21.37 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 24.71 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2563 อยู่ที่ 25.76 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 34.34 บาท / tCO2eq
  • ราคาคาร์บอนเครดิต ปี พ.ศ. 2565 อยู่ที่ 107.23 บาท / tCO2eq

ทั้งนี้ จะเห็นได้ชัดว่าราคาคาร์บอนเครดิตในปี 2565 ก้าวกระโดดอย่างมาก เทียบเท่าราคา 3 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) โดยราคาคาร์บอนเครดิตในแต่ละตลาดก็มีราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเพราะมีการยึดค่ามาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่สำหรับราคาคาร์บอนเครดิตโลก มีราคาประมาณ 25 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)

เกษตรไทยไทยอยากขาย “Carbon Credit” ต้องทำอย่างไร?

ภาพจาก freepik.com

เกษตรกรไม่ว่าจะเป็นชาวสวนยาง ชาวนา หรือว่าชาวสวน ก็สามารถขาย CarbonCredit ได้ ยกตัวอย่างหากเป็นชาวสวนต้องมีคุณสมบัติคือ

  • มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป
  • มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ
  • มีความสามารถในการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

ส่วนขั้นตอนการขายคาร์บอนเครดิตนั้นมี 2 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ การรับรองและการขาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภาพจาก freepik.com

1. การรับรอง

จัดทำเอกสารเพื่อสมัครขอเข้าร่วมโครงการ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th) และตรวจสอบความใช้ได้โดยผู้ประเมินภายนอก เมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการโดย TGO จากนั้นสามารถทำโครงการได้เลย พร้อมทำรายงานการติดตามประเมิน และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ประเมินภายนอกและให้การรับรอง CarbonCredit โดย TGO

2. การขาย

เริ่มจากทำการลงทะเบียนสำหรับเปิดบัญชีในระบบทะเบียนคาร์บอนผ่านเว็บไซต์ http://carbonmarket.tgo.or.th/ จากนั้นสามารถทำการขายได้ 2 วิธี คือ ขายผ่านแพลตฟอร์ม FTIX อิงราคากลางของตลาด และขายให้กับผู้ซื้อโดยตรง ราคาจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงทั้ง 2 ฝ่าย

แม้ว่า CarbonCredit จะเป็นเรื่องใหม่ที่เกษตรกรหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ที่จริงหากศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด นอกจากการขายพืชผลการเกษตรที่ทำเป็นประจำแล้ว อาจเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้เราได้อีกมากโดยที่ไม่ต้องไปลงทุนเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

ภาพจาก https://citly.me/QCOMT

เรื่องน่ารู้! มีต้นไม้กว่า 58 ชนิดที่เหมาะสมกับการปลูกเพื่อขาย Carbon Credit เช่น ตะเคียนทอง , ตะเคียนหิน , สะเดา , นางพญาเสือโคร่งเป็นต้น โดยต้นไม้ยืนต้นเหล่านี้มีปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยอยู่ที่ 9-15 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด