7 เทคนิคการตั้ง ชื่อร้าน ให้ประสบผลสำเร็จ

เมื่อคุณกำลังคิดที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจไม่ว่าจะ ค้าขาย เปิดร้าน เปิดสำนักงาน สิ่งหนึ่งที่สำคัญ และไม่ควรมองข้ามไปก็คือ การตั้งชื่อร้าน แต่ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะเลือกตั้งชื่อร้านอะไรดี เราได้แนะนำเทคนิคเบื้องต้นไว้ให้แล้ว

เพราะการตั้งชื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจที่คุณกำลังดำเนินอยู่นั้นสัมฤทธิ์ผล ข้อดีของ ชื่อร้าน คือจะทำให้ลูกค้าสามารถจดจำ แล้วทราบได้ทันทีว่าธุรกิจของคุณขายอะไร ลักษณะไหน เมื่อชื่อร้านเป็นที่จดจำ และน่าสนใจแล้วก็จะทำให้ลูกค้านึกถึงร้านของคุณได้ไม่ยาก การตั้งชื่อร้านเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดนั่นเอง

ทาง ThaiSMEsCenter.com มี 7 เทคนิคการตั้ง ชื่อร้าน ให้ประสบผลสำเร็จ มาฝากสำหรับคนที่กำลังหาไอเดียตั้งชื่อร้าน หรือธุรกิจของคุณอยู่ในตอนนี้

TFC2022

และสำหรับทุกท่านที่กำลังมองหาแฟรนไชส์เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สามารถเลือกดูรายละเอียดได้ตามเหมาะสมทาง www.ThaiFranchiseCenter.com หรือเลือกดูตามหมวดหมู่ได้ดังนี้เลย!!

1. ความหมายดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง

สิ่งแรกที่คุณต้องนึกถึงเมื่อคิดที่จะตั้งชื่อร้านคือ หาชื่อที่มีความหมายที่ดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ร้าน ไม่เป็นชื่อที่คำแผลง คำผวน ไม่ใช้คำที่เป็นภาษากำกวม ชื่อที่ดีนั้นมีผลต่อร้านของคุณเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการแสดงจุดยืน ภาพลักษณ์ของร้าน ลูกค้าหลายคนอาจถูกใจความหมายดี ๆ ของชื่อร้านจนนำมาสู่การเลือกซื้อสินค้าและตัดสินใจซื้อในที่สุด

แต่ถ้าเป็นชื่อร้านที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นสิริมงคลอาจทำให้ลูกค้าเลือกที่จะไม่เข้าร้านก็คุณเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นหาชื่อร้านที่ความหมายดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วจ้า

ยกตัวอย่างการตั้งชื่อชื่อร้านที่มีความหมายดี

  • ร้านเสื้อผ้าผู้ชาย อาจจะตั้งชื่อว่า Alano (อลาโน่) ที่แปลว่า หนุ่มรูปงาม
  • ร้านดอกไม้ อาจจะตั้งชื่อว่า Olivia (โอลิเวีย) ที่แปลว่า สัญลักษณ์แห่งความสงบสุข
NS1
อีกตัวอย่างการตั้งชื่อร้านที่ความหมายดี “ฮ่องเต้ เป็ดย่างไฮโซ”

 2. สะกดง่าย ออกเสียงไม่ยาก

เมื่อเราได้ชื่อที่ความหมายดี ๆ ตามที่เราต้องการแล้ว สิ่งต่อมาที่ควรนึกถึงคือ ชื่อนั้นเขียนอย่างไร สะกดยากเกินไปหรือเปล่า แล้วการออกเสียงจะเป็นอุปสรรคต่อลูกค้าหรือไม่ ดังนั้นชื่อร้านที่คุณตั้งควรเป็นชื่อที่สะกดและออกเสียงเรียกได้ไม่ยาก เพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำได้รวดเร็วและไม่ลืมง่าย ๆ

หากตั้งชื่อร้านที่ยากเกินไปอาจทำให้ลูกค้าไม่กล้าที่จะออกเสียง พอไม่กล้าที่จะออกเสียงเพราะกลัวเรียกชื่อร้านผิด ผลที่ตามมาก็คือลูกค้าจะไม่บอกต่อ ไม่พูดถึงร้านของคุณเนื่องจากชื่อร้านออกเสียงยากต่อการพูดถึง

อีกเหตุผลของการตั้งชื่อร้านให้สะกดง่าย ออกเสียงไม่ยาก คือเวลาไปทำธุรกรรม ทำเอกสารติดต่องานการเซ็นสัญญาต่าง ๆ รวมไปถึงทำเว็บไซต์ของร้าน อาจเกิดการผิดพลาดในการสะกดได้ถ้าชื่อร้านของคุณเป็นชื่อที่สะกดและออกเสียงยาก อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ภายหลัง

ยกตัวอย่างเช่น

  • ร้านเบเกอรี่สุดน่ารักที่ชื่อว่า พอใจโฮมคาเฟ่ (Porjai Home Cafe)
  • ร้านอาหารชื่อดังที่ใช้ชื่อว่า ครัวดอกไม้ขาว (White Flower Restaurant)
NS4
ตัวอย่างการตั้งชื่อร้านที่ อ่านง่าย และไม่ยาวจนเกินไป

3. ใช้ชื่อไม่ยาว และหลีกเลี่ยงชื่อย่อ

หลากคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมควรหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อย่อ ในเมื่อบริษัท กิจการ ห้างร้านใหญ่ ๆ ก็ใช้ชื่อย่อกันเต็มไปหมด การใช้ชื่อย่อนั้นอาจทำให้ง่ายต่อการโฆษณา และการสื่อสารที่ง่ายขึ้นก็จริง แต่ในบริษัทเล็ก ๆ หรือขนาดกลางนั้น การใช้ชื่อย่อจะทำให้ลูกค้าที่ไม่ทราบว่าคุณทำธุรกิจด้านใด เกี่ยวกับอะไร

เพราะต้องยอมรับว่าธุรกิจเล็ก ๆ หรือขนาดกลางนั้นไม่มีกำลังมากพอที่จะไปประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้าใจความหมายของชื่อย่อของร้านได้ ดังนั้นแนะนำให้คุณใช้ชื่อเต็มที่ไม่ยาวเกินไปจะดีกว่านะคะ เพื่อให้ลูกค้าจดจำและเข้าใจความหมายได้ไม่ยาก

ยกตัวอย่างเช่น

  • ร้านหนังสือสุดอินดี้ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ใช้ชื่อร้านสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า ร้านเล่า
  • ร้านที่มีทั้งเบเกอรี่ และเครื่องดื่มรสชาติเยี่ยมที่มีชื่อสุดน่ารักไม่ยาวจนเกินไปว่า A cup a cake
NS5
ตัวอย่างการตั้งชื่อร้าน ที่โดดเด่น สะดุดตา และเป็นเอกลักษณ์

4.โดดเด่น สะดุดตา ตรงกับภาพลักษณ์

ชื่อร้านของคุณจะต้องมีความโดดเด่น สะดุดตา เพื่อให้ลูกข้าจดจำได้ง่าย เพราะคุณก็น่าจะทราบดีอยู่แล้วว่ามีคู่แข่งจำนวนไม่น้อยที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกับคุณ การทำให้ชื่อร้านโดดเด่น สะดุดตา จะช่วยดึงความสนใจของลูกค้ามาที่ร้านของคุณได้ดีอีกหนึ่งวิธี

นอกจากจะโดดเด่น สะดุดตาแล้ว ยังตรงตั้งชื่อร้านให้ตรงกับภาพลักษณ์ หรือคอนเซ็ปต์ของร้านก็จะยิ่งทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น

  • ชื่อร้านคาเฟ่แมวของผู้กำกับชื่อดังแห่ง GTH ที่ใช้ชื่อร้านว่า Caturday Cat Café
  • ร้านกาแฟที่ใช้ชื่อสุดเก๋ เรียกไม่ยาก ชื่อร้านว่า ตาสว่างกาแฟสด

5.ไม่ควรซ้ำ หรือใกล้เคียงใคร

ใช่ค่ะชื่อร้านไม่ควรซ้ำ หรือใกล้เคียงกับใคร เพราะชื่อร้านที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นจะทำให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิด สับสน ลังเลในการที่จะเรียกชื่อร้านก็เป็นได้ เพราะนอกจากสร้างความสับสนให้กับลูกค้าแล้วยังทำให้สร้างปัญหาระหว่างเจ้าของธุรกิจด้วยกันเองอีกด้วย ดังนั้นจะตั้งชื่อร้านก็ควรหาข้อมูล

สำรวจดูให้ดีว่าไม่มีคนอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว หากไม่มั่นใจคุณสามารถค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล ได้ที่เว็บไซท์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ที่นี่เลย www.dbd.go.th

ยกตัวอย่าง หนึ่งเคสที่หลายคนพูดถึงก็คือ กรณีของนาย Victor Moseley อาศัยที่เมืองอลิซาเบท รัฐเคนตักกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ชื่อร้านขายของขวัญสำหรับผู้ใหญ่และชุดชั้นในสตรีของตนว่า Victor’s Secret ซึ่งเป็นชื่อที่คล้ายคลึงกับชื่อแบรนด์ชุดชั้นในสตรีชื่อดังของสหรัฐนามว่า Victoria’s Secret เป็นอย่างมาก

และทางฝ่ายกฏหมายของ Victoria’s Secret พบเข้าจึงได้ยื่นหนังสือฟ้องร้านของนายวิคเตอร์ในข้อหาละเมิดชื่อบริษัท แม้เขาจะรีบเปลี่ยนชื่อเป็น Victor’s Little Secret ก็ยังโดนฟ้องอยู่ดี

6.คิดถึงอนาคต ด้วยไม่ตั้งชื่อแบบเฉพาะ เจาะจง

เจ้าของธุรกิจบางคนคิดว่าการตั้งชื่อร้านตามทำเลที่ตั้งของร้านจะเป็นวิธีการที่ทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้ง่ายขึ้น แต่ข้อเสียก็มีอยู่ว่าการตั้งชื่อร้านตามสถานที่ตั้งนั้นอาจเป็นข้อจำกัดในอนาคตเมื่อเจ้าของธุรกิจคิดจะขยายสาขาเพิ่ม หรือ ต้องการที่จะเปิดแฟรนไชส์ ทำให้ชื่อร้านที่ตั้งตามทำเลนั้นเป็นปัญหาในอนาคตได้แน่นอน

อีกชื่อเฉพาะที่ไม่ควรนำมาตั้งเป็นชื่อร้านคือชื่อเจ้าของธุรกิจนั่นเองจ้า เนื่องจากการนำชื่อของตัวเองมาตั้งชื่อร้านนั้นอาจจะเกิดปัญหาในการจดจำของลูกค้า

อีกทั้งชื่อบุคคลยังเป็นชื่อที่ไม่สร้างความดึงดูดใจต่อลูกค้าอีกด้วย และอาจจะเป็นปัญหาหากในอนาคตคุณวางแผนที่จะขยายกิจการ หรือเปิดแฟนไชส์อีกด้วย

ยกตัวอย่าง การตั้งชื่อร้านที่บอกสถานที่เช่น ชื่อร้านว่า บางเขนเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือการตั้งชื่อร้านที่ใช้ชื่อเจ้าของเช่น ชื่อร้านว่า สุวินิตการช่าง การตั้งชื่อแบบนี้จะทำให้เป็นปัญหาอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

NS2
ตัวอย่างการตั้งชื่อร้านที่ สั้น ได้ใจความ ตรงกับสินค้าที่จำหน่าย

7.คิดชื่อใช้ง่ายต่อการสร้างโลโก้ร้าน

โลโก้ของร้านก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญ แล้วการที่จะทำให้โลโก้สวยงามนั้นคือการตั้งชื่อร้านให้สะดุดตา มีความยาวพอดี สามารถดึงดูให้ลูกค้ามาสนใจได้ เนื่องจากโลโก้ทำหน้าที่เดียวกับชื่อร้านที่จะต้องไปอยู่บนป้าย บนนามบัตร บนสินค้า หรือบนบรรจุภัณฑ์ของร้าน ดังนั้นการตั้งชื่อร้านจึงควรคำนึงด้วยว่าจะเกิดปัญหาต่อการออกแบบโลโก้ร้านหรือไม่

เมื่อได้ ชื่อร้าน ที่ต้องการแล้ว แนะนำให้ลองสอบถามความคิดเห็นเพิ่มเติมจากคนอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือคนใกล้ตัวอื่น ๆ ให้ร่วมพิจารณาชื่อร้านที่คุณตั้งอีกครั้ง

อาจเป็นการทดลองออกเสียงชื่อร้านของคุณ ช่วยแสดงความเห็นว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะบางครั้งพวกเขาอาจมองเห็นปัญหาที่คุณอาจมองข้ามไปก็ได้

ถ้าได้ ชื่อร้าน ที่แน่นอนแล้วก็อย่าลืมรีบไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ หรือนำชื่อร้านไปให้ในทางที่ผิด

คุณสามารถเข้าไปดูเรื่องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ที่นี่เลยจ้า www.ipthailand.go.th

TFC2022-1

TFC2022-2

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3urpZDK