4 ปัญหาค้าปลีกออนไลน์เมืองไทย ทำอย่างไรให้โตแบบสุดๆ!

เราอาจจะเห็นว่าทุกวันนี้ช่องทาง ตลาดออนไลน์ กำลังเติบโตแบบสุดโต่งถึงขนาดที่ทำให้ตลาดอเมริกันนั้นปั่นป่วนชนิดที่ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง Walmart ที่เปิดดำเนินงานมานานแสนนานต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

เมื่อ Warren Buffett ได้ขายหุ้นตัวเองทิ้งเกือบหมดโดยให้เหตุผลสั้นๆว่า Walmart ไล่จับ Amazon และ eCommerce รายอื่นๆ ไม่ทัน ในเรื่องนี้นั้นถ้าถอยหลังไปประมาณ 7 ปีก่อนช่วงปี 2010 วงการค้าปลีกของประเทศไทย เริ่มเห็นสัญญาณจากประเทศญี่ปุ่น ว่าธุรกิจค้าปลีกเริ่มหดตัวลง แต่การขายออนไลน์ ที่ในญี่ปุ่นนำโดย Rakuten ทะยานขึ้นมา จนแซงหน้าธุรกิจค้าปลีกได้ในที่สุด

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามตลาดออนไลน์ที่ดูเหมือนจะกระทบชิ่งไปสู่การตลาดแบบอื่นอยู่มากพอสมควรแต่แท้ที่จริงแล้วในประเทศไทยเองในสายตาของนักวิเคราะห์ทั้งหลายมองว่าประเทศไทยเองก็ยังไม่เติบโตในการค้าปลีกออนไลน์เท่าที่ควร

ตลาดออนไลน์

ภาพจาก goo.gl/qh0EC8

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวม 7 ปัญหาที่บอกว่าทำไมเราถึงโตไม่เต็มที่และจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ประเทศไทยเราโตในกระแสธุรกิจนี้ได้มากขึ้นในอนาคต

และหากจะพูดถึงเรื่องนี้ก็ต้องย้อนมาที่พฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่เปลี่ยนไปจากอดีตโดยปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่ซื้อแค่พอใช้ จ่ายแค่พอกิน และได้ของใหม่สดตลอด แนวทางใหม่ตรงใจผู้บริโภคมากกว่า และนี่คือเหตุผลสำคัญว่า

ทำไมแนวโน้มของค้าปลีกทั้งโลก จึงต้องปรับตัวมาสู่ Small format ที่เป็นการสร้างร้านขนาดเล็กๆ เดินทางง่ายๆ จับการซื้อทีละเล็กๆ ร้านแบบนี้จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วโลก

แต่ในทางกลับกัน ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย กลับให้ความสนใจกับนวัตกรรม (innovation) ค้าปลีกที่อยู่ที่หน้าร้านเป็นอย่างมาก และมีนวัตกรรมออกมาต่อเนื่องจริงจัง

ส่วนหนึ่งถือเป็นกลยุทธ์เชิง O2O (online to offline) คือ ใช้ร้านเรียกคนเข้าเว็บและใช้เว็บเรียกคนเข้าร้าน เช่น ความเชื่อมโยงระหว่าง Central Plaza และ Central.co.th หรือเทคโนโลยี Tesco iBeacon

ซึ่งในเร็วๆ นี้ เราก็จะได้เห็นห้างหรูบางแห่ง นำกลยุทธ์นี้มาใช้เพื่อแก้ปัญหา คนมาห้าง มากินข้าว แต่ไม่ซื้อของ ดังนั้นหากเราคิดจะดันให้ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์เติบโตได้สุดโต่งแบบต่างประเทศแล้วควรแก้ไขใน 7 สิ่งสำคัญดังต่อไปนี้

54

ภาพจาก goo.gl/bFxf6s

1.Cannibalization

โดยธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่มักกลัวปัญหา กินกันเอง กลัวว่าการขายออนไลน์ที่กำไรน้อยกว่าจะส่งผลเสีย นอกจากกำไรหดลงแล้ว ยังทำให้ช่องทางเดิม เช่น ฝ่ายขาย หรือหน้าร้านเดิม หรือคู้ค้าหลักๆ ไม่พอใจบริษัทที่มาขายออนไลน์แข่ง

ปัญหากลัวกินกันเองนี้เกิดทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้การพัฒนาช่องทางออนไลน์ของทีมงานภายใน มักถูกตั้งคำถามหรือไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรจากผู้บริหารส่วนอื่นๆ ภายในองค์กรเอง เพราะถึงเป็นองค์กรเดียวกัน แต่ก็แยกกัน “บริหารเป้า” จากผู้บริหารที่ดูแลช่องทางการขายเดิม

2.การบริหารงานแบบ Silo

คือการทำงานเป็นท่อนๆ ส่วนใครส่วนมัน แยกหน้าที่ชัดเจน ส่งต่อกันเป็นทอดๆ เหมือนในโรงงาน แนวทางการบริหารแบบนี้มีประสิทธิภาพสูงมากกับการขายแบบค้าปลีก เพราะทำให้ต้นทุนต่ำ แต่เมื่อเจอกับความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนไป และคู่แข่งหน้าใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว การทำงานแต่ละ Silo เป็นท่อนๆ กลับไม่สอดคล้องต่อยุคสมัยปัจจุบัน

53

ภาพจาก goo.gl/eaY4ej

3.ระบบการขาย, ไอที, บัญชี และ คลังสินค้า มีลักษณะเดียวกับ Silo

คือเป็นระบบขนาดยักษ์ที่ออกแบบให้ทำงานมีความเสถียรสูง ปริมาณมากๆ เน้นประสิทธิภาพและการประหยัดจากขนาด ทำงานเยอะๆ ได้ในต้นทุนที่ต่ำมากซึ่งการจะรวมระบบการขายยุคใหม่ที่เน้นการปรับเปลี่ยนรวดเร็ว เข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว

อาจจะยากเย็นถึงขั้นเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ นอกจากจะต้องรื้อทำใหม่ทั้งหมด หรือแยกเป็นระบบเอกเทศไป ตัวอย่างของ Tesco ในประเทศอังกฤษ เคยต้องลงทุนซื้อหุ้นส่วนหนึ่งของ Lazada เป็นเงินหลายพันล้านบาท เพื่อความคล่องตัว
ในเรื่องนี้

4.หาคนที่มีประสบการณ์เป็นเรื่องยาก

การหาคนที่มีประสบการณ์ในด้าน ecommerce นั้นยากเย็นอย่างยิ่งนอกจากบริษัทจะต้องเจอเรื่องการดึงตัวกันในอุตสาหกรรมแล้ว ยังเจอปัญหาเรื่องการดูดคนจากบริษัทข้ามชาติใหม่ๆ ที่เป็น Tech Startup รวมถึงปัญหาคนที่มีประสบการณ์ความสามารถสูงก็ออกไปเปิดบริษัท Tech Startupของตัวเองทำให้คนที่เชี่ยวชาญด้านนี้ ยิ่งหายากขึ้นไปอีก

และด้วยปัญหาเหล่านี้ทำให้มองว่าทำไมค้าปลีกออนไลน์ของเมืองไทยยังไม่ขยายตัวสูงสุดมีแต่ในระดับผู้ลงทุนรายย่อยหรือค้าขายสินค้าออนไลน์แบบส่วนตัวที่มีมากกว่า ในต่างประเทศสิ่งที่เราพูดถึงนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นไปมากจนทำให้ร้านค้าปลีก

โดยตรงถึงกับเกิดปัญหาตามมาในส่วนของประเทศไทยผลกระทบเรื่องนี้ยังไม่มากเพราะการเติบโตยังไม่ถึงขีดสุดและถ้าถึงวันที่เติบโตได้เต็มที่เราคงต้องมาดูกันอีกทีว่าปัญหาที่ตามมาจะมีอะไรกันบ้าง

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด